Business
ชี้เป้า! แพลตฟอร์ม e-Commerce ปี 2023 ที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้
ตำราธุรกิจว่าไว้เลือก “ทำเล” ดี มีชัย โดยเราสามารถนำหลักการนี้มาใช้กับการทำธุรกิจบนโลกอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน ซึ่งทำเลสำหรับโลกออนไลน์ ก็คือ “แพลตฟอร์ม” นั่นเอง
วันนี้เราได้นำเทคนิคดีๆ ในการเลือกแพลตฟอร์ม e-Commerce จาก Hootsuite ไปดูกันเลย
1. คุณมีหน้าร้านหรือไม่?
— ถ้าหากคุณมีหน้าร้านด้วย คุณอาจจะอยากให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์มีความสอดคล้องกัน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น คุณจึงควรเลือกใช้แพลตฟอร์ม e-Commerce ที่สามารถปรับแต่งได้เยอะหน่อย เพื่อจะได้สามารถกำหนด Journey ของลูกค้าได้ตรงกับที่ต้องการ และใส่ความเป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์เข้าไปได้มากขึ้น
2. ขนาดสต๊อกสินค้ามีเยอะเท่าไหร่?
— ถ้าคุณมีสินค้าที่ต้องบริหารจัดการจำนวนมาก ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถอำนวยความสะดวกเรื่องการจัดการสต๊อกสินค้าได้ด้วย
3. คุณสต๊อกสินค้าไว้เองหรือเปล่า?
— บางธุรกิจ e-Commerce เลือกที่จะทำในลักษณะ Dropshipping ซึ่งคือการที่ทำหน้าที่เพียงแค่รับออร์เดอร์สินค้า แต่ไม่สต๊อกสินค้าไว้ แต่ให้บริษัทหรือโรงงานภายนอกเป็นคนจัดส่งสินค้าให้ หากทำธุรกิจในลักษณะนี้ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถจัดการ Dropshipping ได้จะช่วยให้การทำธุรกิจสะดวกมากยิ่งขึ้น
4. คุณขายสินค้าหรือบริการแบบไหน?
— หากคุณขายสินค้าประเภทดิจิทัล คุณควรเลือกแพลตฟอร์มที่สนับสนุนฟังก์ชั่นการดาวน์โหลดไฟล์ หรือหากเป็นสินค้าทั่วไปที่จับต้องได้คุณอาจจะเลือกแพลตฟอร์มที่ผนวกเข้ากับบริการขนส่ง ในขณะที่หากเป็นการให้บริการคุณอาจจะเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถจองและจัดการตารางเวลาได้
5. ผลกำไรธุรกิจของคุณขึ้นอยู่กับ “ผลการค้นหา” โดยตรงไหม?
— ในกรณีที่ธุรกิจของคุณขึ้นอยู่กับผลการค้นหาบน Google โดยตรง คุณควรเลือกใช้ Platform ที่มีฟีเจอร์ SEO ทำให้ผลการค้นหาสินค้าของคุณขึ้นมาอันดับแรกๆ เมื่อมีการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
6. มีงบประมาณเท่าไหร่?
— แต่ละแพลตฟอร์มมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป รวมถึงการใช้ฟังชั่นก์เสริมต่างๆ ดังนั้นจึงควรคำนวนหักลบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ดี เพื่อให้ธุรกิจทำกำไรได้
ในประเทศไทยธุรกิจ e-Commerce กลายเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงมาก จากสรุปรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Google ปีที่ผ่านมาระบุว่าในประเทศไทยแพลตฟอร์มดิจิทัลมีแนวโน้มถูกใช้เพื่อจุดประสงค์เพื่อ e-Commerce มากขึ้นถึง 23% และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยหลักจากนี้
มาดูกันดีกว่าว่าแพลตฟอร์ที่ได้รับความนิยมมีอะไรบ้าง และเหมาะกับสินค้า/บริการ ประเภทใด
1. กลุ่ม Social Commerce ปัจจุบัน Social Media หลายตัวได้เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับการขายสินค้า ทำให้ง่ายต่อการวางขายมากขึ้น โดยยังคงข้อได้เปรียบในแง่ ผู้ใช้งานเยอะ เข้าถึงได้ง่าย กลมกลืนไปกับชีวิตประจำวัน
และมักไม่มีหักค่าธรรมเนียม อาทิ Facebook Marketplace, Instagram Shop และ LINE Shopping เป็นต้น
2. กลุ่ม e-Marketplace คือ เว็บไซต์หรือแอปตลาดสินค้าออนไลน์ ที่รวมร้านค้าหลายแห่งไว้ในที่เดียว มีผู้ใช้งานเยอะ แพลตฟอร์มใช้งานง่าย มีการสนับสนุนการทำโปรโมชันตลอดเวลา อาทิ Shopee, Lazada และ Kaidee เป็นต้น
3. กลุ่ม e-Tailer คือ ร้านค้าออนไลน์ที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาเอง ไม่ผ่าน Marketplace คนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการถูกหักค่าคอมมิชชั่นเมื่อเราขายได้ เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการควบคุม บริหารจัดการระบบเองทั้งหมด อาทิ Central, Tesco และ Power Buy เป็นต้น
4. กลุ่ม Quick Commerce คือ แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแบบรวดเร็วตามสั่ง การสั่งอาหารออนไลน์ หรือซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อแบบออนไลน์ อาทิ True Food, LINEMAN และ All-Online (7-eleven) เป็นต้น
เมื่ออ้างอิงข้อมูลจากรายงาน Thailand Internet User Behavior 2022 ของ ETDA พบว่า ปัจจุบันในประเทศไทยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน e-Marketplace (75.99%) รองลงมาคือ Facebook (61.51%), เว็บไซต์ e-Tailer (39.7%), LINE (31.04%) , Instagram (12.95%) และ Twitter (3.81%) ขณะที่ฝั่งผู้ขายสินค้ากลับเลือกใช้ Social Commerce อย่าง Facebook (66.76%) มากกว่า เนื่องจากมองว่าการขายสินค้าใน e-Marketplace มีการแข่งขันด้านราคา สินค้าและโปรโมชันที่สูง และยังมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แพลตฟอร์ม รองลงมาคือ e-Marketplace (55.18%), LINE (32.05%), Website (26.67%), Instagram (19.91%) และ Twitter (9.90%)
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV
YouTube – https://bit.ly/3is5lCx
วันนี้เราได้นำเทคนิคดีๆ ในการเลือกแพลตฟอร์ม e-Commerce จาก Hootsuite ไปดูกันเลย
6 คำถามต้องตอบให้ได้! ก่อนเลือกแพลตฟอร์ม e-Commerce
1. คุณมีหน้าร้านหรือไม่?
— ถ้าหากคุณมีหน้าร้านด้วย คุณอาจจะอยากให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์มีความสอดคล้องกัน เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น คุณจึงควรเลือกใช้แพลตฟอร์ม e-Commerce ที่สามารถปรับแต่งได้เยอะหน่อย เพื่อจะได้สามารถกำหนด Journey ของลูกค้าได้ตรงกับที่ต้องการ และใส่ความเป็นอัตลักษณ์ของแบรนด์เข้าไปได้มากขึ้น
2. ขนาดสต๊อกสินค้ามีเยอะเท่าไหร่?
— ถ้าคุณมีสินค้าที่ต้องบริหารจัดการจำนวนมาก ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถอำนวยความสะดวกเรื่องการจัดการสต๊อกสินค้าได้ด้วย
3. คุณสต๊อกสินค้าไว้เองหรือเปล่า?
— บางธุรกิจ e-Commerce เลือกที่จะทำในลักษณะ Dropshipping ซึ่งคือการที่ทำหน้าที่เพียงแค่รับออร์เดอร์สินค้า แต่ไม่สต๊อกสินค้าไว้ แต่ให้บริษัทหรือโรงงานภายนอกเป็นคนจัดส่งสินค้าให้ หากทำธุรกิจในลักษณะนี้ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถจัดการ Dropshipping ได้จะช่วยให้การทำธุรกิจสะดวกมากยิ่งขึ้น
4. คุณขายสินค้าหรือบริการแบบไหน?
— หากคุณขายสินค้าประเภทดิจิทัล คุณควรเลือกแพลตฟอร์มที่สนับสนุนฟังก์ชั่นการดาวน์โหลดไฟล์ หรือหากเป็นสินค้าทั่วไปที่จับต้องได้คุณอาจจะเลือกแพลตฟอร์มที่ผนวกเข้ากับบริการขนส่ง ในขณะที่หากเป็นการให้บริการคุณอาจจะเลือกแพลตฟอร์มที่สามารถจองและจัดการตารางเวลาได้
5. ผลกำไรธุรกิจของคุณขึ้นอยู่กับ “ผลการค้นหา” โดยตรงไหม?
— ในกรณีที่ธุรกิจของคุณขึ้นอยู่กับผลการค้นหาบน Google โดยตรง คุณควรเลือกใช้ Platform ที่มีฟีเจอร์ SEO ทำให้ผลการค้นหาสินค้าของคุณขึ้นมาอันดับแรกๆ เมื่อมีการค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
6. มีงบประมาณเท่าไหร่?
— แต่ละแพลตฟอร์มมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป รวมถึงการใช้ฟังชั่นก์เสริมต่างๆ ดังนั้นจึงควรคำนวนหักลบค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ดี เพื่อให้ธุรกิจทำกำไรได้
ส่วนแบ่งตลาด แพลตฟอร์ม e-Commerce ในประเทศไทย
ในประเทศไทยธุรกิจ e-Commerce กลายเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตสูงมาก จากสรุปรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Google ปีที่ผ่านมาระบุว่าในประเทศไทยแพลตฟอร์มดิจิทัลมีแนวโน้มถูกใช้เพื่อจุดประสงค์เพื่อ e-Commerce มากขึ้นถึง 23% และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลไทยหลักจากนี้มาดูกันดีกว่าว่าแพลตฟอร์ที่ได้รับความนิยมมีอะไรบ้าง และเหมาะกับสินค้า/บริการ ประเภทใด
1. กลุ่ม Social Commerce ปัจจุบัน Social Media หลายตัวได้เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับการขายสินค้า ทำให้ง่ายต่อการวางขายมากขึ้น โดยยังคงข้อได้เปรียบในแง่ ผู้ใช้งานเยอะ เข้าถึงได้ง่าย กลมกลืนไปกับชีวิตประจำวัน
และมักไม่มีหักค่าธรรมเนียม อาทิ Facebook Marketplace, Instagram Shop และ LINE Shopping เป็นต้น
2. กลุ่ม e-Marketplace คือ เว็บไซต์หรือแอปตลาดสินค้าออนไลน์ ที่รวมร้านค้าหลายแห่งไว้ในที่เดียว มีผู้ใช้งานเยอะ แพลตฟอร์มใช้งานง่าย มีการสนับสนุนการทำโปรโมชันตลอดเวลา อาทิ Shopee, Lazada และ Kaidee เป็นต้น
3. กลุ่ม e-Tailer คือ ร้านค้าออนไลน์ที่ธุรกิจสร้างขึ้นมาเอง ไม่ผ่าน Marketplace คนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการถูกหักค่าคอมมิชชั่นเมื่อเราขายได้ เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการควบคุม บริหารจัดการระบบเองทั้งหมด อาทิ Central, Tesco และ Power Buy เป็นต้น
4. กลุ่ม Quick Commerce คือ แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแบบรวดเร็วตามสั่ง การสั่งอาหารออนไลน์ หรือซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อแบบออนไลน์ อาทิ True Food, LINEMAN และ All-Online (7-eleven) เป็นต้น
เมื่ออ้างอิงข้อมูลจากรายงาน Thailand Internet User Behavior 2022 ของ ETDA พบว่า ปัจจุบันในประเทศไทยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวนมากเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน e-Marketplace (75.99%) รองลงมาคือ Facebook (61.51%), เว็บไซต์ e-Tailer (39.7%), LINE (31.04%) , Instagram (12.95%) และ Twitter (3.81%) ขณะที่ฝั่งผู้ขายสินค้ากลับเลือกใช้ Social Commerce อย่าง Facebook (66.76%) มากกว่า เนื่องจากมองว่าการขายสินค้าใน e-Marketplace มีการแข่งขันด้านราคา สินค้าและโปรโมชันที่สูง และยังมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้แพลตฟอร์ม รองลงมาคือ e-Marketplace (55.18%), LINE (32.05%), Website (26.67%), Instagram (19.91%) และ Twitter (9.90%)
การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับธุรกิจจะช่วยให้การทำธุรกิจประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น แพลตฟอร์มที่ดีจะมีเครื่องมือและฟีเจอร์ต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการร้านค้า เพิ่มโอกาสในการมองเห็น และเพิ่มยอดขาย การเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมจึงควรคำนึงถึงลักษณะของสินค้าและบริการ ขนาดธุรกิจ งบประมาณ การบริการจัดการสต๊อกสินค้า งบประมาณ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทางWebsite – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV
YouTube – https://bit.ly/3is5lCx