Data VS. The Great Resignation เอาชนะการลาออกครั้งใหญ่ด้วย Data
Data VS. The Great Resignation เอาชนะการลาออกครั้งใหญ่ด้วย Data
Data
4 Min
06 Sep 2022
Share
Table of contents
บทความนี้ HR หรือ เจ้าของธุรกิจ ห้ามพลาด! เพราะวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องปัญหา “พนักงานลาออกครั้งใหญ่” กัน! ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากเจอบ่อยๆ เพราะทำให้งานสะดุด และมีค่าใช้จ่ายแฝงตามมาอีกเพียบ
การลาออกจากงาน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งโดยปกติอัตราการรักษาพนักงานไว้ (Retention Rate) ของแต่ละบริษัทก็แตกต่างกันไป บางอุตสาหกรรมก็มีการเปลี่ยนงานบ่อยกว่าค่าเฉลี่ย ทว่า “การลาออกครั้งใหญ่” (The Great Resignation) ที่มีสาเหตุส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากสถานการณ์ COVID-19 ความน่ากังวลของการลาออกครั้งใหญ่นี้ คือการ “เปลี่ยนงาน” ของพนักงานที่มีความสามารถ ไปอยู่กับบริษัทคู่แข่ง หรืออุตสาหกรรมใกล้เคียง ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทมากเป็นพิเศษ มาดูกันว่าเราจะใช้ Data มาช่วยให้บริษัทรู้ก่อนและยับยั้งปัญหานี้ได้อย่างไร
เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา Workhuman บริษัทผู้พัฒนาแพลตฟอร์มและเครื่องมือสำหรับ HR ได้สำรวจคนทำงานกว่า 3,500 ในอเมริกา สหราชอณาจักร ไอร์แลนด์ และแคนาดา พบว่า คนทำงานเกือบ 4 ใน 10 ของบอกว่ามีแพลนจะเปลี่ยนงานภายใน 1 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งมีการประเมินค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทไว้ถึงหลักพันล้านดอลล่าร์
โดยสิ่งที่ Workhuman ค้นพบจาก Data และ Key Takeaway สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1. สถานการณ์เปลี่ยน ความคิดคนเปลี่ยน
เมื่อเดือน ธ.ค ปี 2019 Workhuman ก็เคยทำการสำรวจไว้ พบว่า 92% ของคนทำงานบอกว่าตั้งใจว่าอยู่ในตำแหน่งงานเดิมต่อไปอย่างน้อย 1 ปีหลังจากนี้ และมีถึง 59% ที่ตอบว่าตั้งใจจะอยู่ต่อยาวมากกว่า 5 ปีขึ้นไป! แต่ ณ วันนี้ที่ตลาดแรงงานต้องเจอกับสถานการณ์โรคระบาด ผลการสำรวจกลับพลิกผัน กลายเป็นมีคนถึง 38% ที่บอกว่าตั้งใจจะเปลี่ยนงานภายใน 1 ปีข้าง
🗓 Key Takeaway: ผลสำรวจ Data ต่างๆ ต้องคอยอัปเดตอยู่เสมอ ข้อมูลเก่าไม่สามารถใช้ทำนายอนาคตได้ดีเท่าข้อมูลที่สดใหม่ทันต่อเหตุการณ์
2. ความยืดหยุ่นต้องมาก่อน
สถานการณ์โรดระบาดเปลี่ยนรูปแบบความสัมพันธ์ของนายจ้าง-ลูกจ้างไป ทำให้คนทำงานรู้ใจตัวเองยิ่งขึ้นว่าอะไรคือสิ่งสำคัญ กว่า 30% ของผู้ที่บอกว่าตั้งใจจะเปลี่ยนงาน บอกว่าสาเหตุหลักคือเรื่อง “ต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น” ในขณะที่ผู้หางานที่เป็นผู้หญิง สาเหตุหลักอันดับหนึ่งเป็นเรื่อง “ต้องการรายได้เพิ่มขึ้น”
🗓 Key Takeaway: การต้องการเงินที่มากขึ้นอาจจะไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดของการเปลี่ยนงาน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ COVID นายจ้างที่ปรับรูปแบบการทำงานได้ตอบโจทย์ความต้องการจะสามารถรักษาพนักงานไว้ได้
3. ผู้ปกครองที่ทำงานไปด้วยคือกลุ่มเสี่ยงสูงที่สุด
จากผลสำรวจ พบว่าคน 64% เคยรู้สึกหมดไฟ (Burnout) ในการทำงาน และ 41% บอกว่าเพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ความเครียดมากขึ้นทวีคูณสำหรับคนที่เป็นผู้ปกครองด้วย ในกลุ่มคนที่กำลังหางานใหม่ กว่า 65% เป็นผู้ปกครองที่ต้องการหางานที่บริหารจัดการความรับผิดชอบและแบ่งเวลาให้ครอบครัวได้ดีขึ้น
🗓 Key Takeaway: นอกจากตัวพนักงานแล้ว บริษัทที่ใส่ใจควรเข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ด้านอื่นๆ ของตัวพนักงานด้วย บางบริษัทอาจจะให้สวัสดิการบางอย่างเพิ่มเติมสำหรับคนที่มีครอบครัว
4. ต่างแผ่นดิน ต่างความคิด
จากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างในประเทศฝั่งยุโรปมีคนที่มองหางานใหม่มากกว่าประเทศในอเมริกาเหนือ โดยคน 46% ในสหราชอณาจักร และ 42% ไอร์แลนด์กำลังมองหางานใหม่ ในขณะที่มีคนมองหางานใหม่เพียงแค่ 36% ในอเมริกาและแคนาดา
🗓 Key Takeaway: นอกจากเรื่องสถานการณ์ภายนอกแล้ว คนแต่ละพื้นที่ก็มีการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างกัน บางพื้นที่อาจจะมีความต้องการเปลี่ยนงานมากกว่าอีกพื้นที่ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย หากนายจ้างต้องการ ทำการสำรวจเจาะลึก Insight เพิ่มเติมได้
5. พลังของการ “ขอบคุณ” และ “มองเห็นคุณค่า”
การพูดคำว่า “ขอบคุณ” เป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะทำให้คนหนึ่งคนมีความสุข จากผลสำรวจพบว่ามีคนมากกว่า 1 ใน 3 ที่บอกว่าได้รับคำขอบคุณจากคนในที่ทำงานภายในเดือนที่ผ่านมามีแนวโน้มเปลี่ยนงานน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับคำขอบคุณถึง 2 เท่า นอกจากนี้คนที่ได้รับการขอบคุณมีแนวโน้มที่จะมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของงานตัวเองมากกว่า 3 เท่า รู้สึกว่าผู้นำองค์กรเห็นคุณค่าในงานของพวกเรามากกว่า 4 เท่า และมีความสุขในการทำงานมากกว่า 4 เท่า และมีแนวโน้มบอกว่าบริษัทที่ทำงานอยู่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีขึ้น
🗓 Key Takeaway: หลายองค์กรก็มีการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ดีขึ้นให้กับคนในองค์กรได้ เพียงแค่ปลูกฝังเรื่องง่ายๆ อย่างการมองเห็นคุณค่าผู้อื่น Data ช่วยเผย Insight ที่หลายคนมองข้ามไป อย่างเช่นเรื่องการพูดขอบคุณเป็นเรื่องเล็กๆ ที่ทำได้ทันทีและแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาพนักงานไว้ในองค์กรได้
8. การเช็คอินก็สำคัญ
ในช่วงสถานการณ์ที่ไม่ปกติ การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก องค์กรต้องบอกให้ชัดเจนว่าพนักงานทำงานที่ไหน ทำให้พนักงานยังคงทำงานต่อไปได้แบบไม่สะสุด ผลสำรวจพบว่าการมี “เช็คอิน” รายสัปดาห์ มีแนวโน้มเห็นเส้นทางในการเติบโตในองค์กรมากกว่า 2 เท่า เนื่องจากรู้สึกตนเองมีความหมาย เชื่อมั่นในผู้นำทีม และรู้สึกว่าตนเองยังเป็นส่วนหนึ่งของที่ทำงาน
🗓 Key Takeaway: องค์กรต้องค่อยๆ หาแนวทางปรับการทำงานให้เหมาะสมกับองค์กร โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น การให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work From Home) หากมีการเช็คอินสัปดาห์ละครั้งจะช่วยกระตุ้นให้พนักงานรู้สึกเชื่อมโยงกับองค์กรและทีมได้
9. ความปลอดภัยทางจิตใจช่วยสร้างความสำเร็จ
Amy Edmondson ศาสตร์ตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Harvard ระบุว่าการทำให้เกิดความเชื่อในหมู่พนักงานว่าพวกเขาสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องกลัวโดนดูถูกเวลาเสนอไอเดีย ถามคำถาม หรือทำผิดพลาด ทีม People Operations ที่ดูแลพนักงานของ Google พบว่า ความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety) เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของทีมอับดับหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการลาออกครั้งใหญ่ตรงที่ คนที่กำลังจะอยากเปลี่ยนงาน มักรู้สึกว่าที่ทำงานปัจจุบันให้ความปลอดภัยทางจิตใจไม่ได้ (ได้คะแนน 3.1 จาก 5) เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้อยากเปลี่ยนงาน (ได้คะแนน 3.6 จาก 5)
🗓 Key Takeaway: องค์กรต้องช่วยส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยทางจิตใจ เพื่อรักษาพนักงานให้อยากอยู่ในองค์กร โดยเฉพาะเหล่าหัวหน้าทีมต้องคอยสังเกตการณ์ทีมของตนเองว่ามีใครรู้สึกไม่ความปลอดภัยทางจิตใจอยู่หรือไม่ หรือใครที่เป็นคนสร้างความไม่ปลอดภัยทางจิตใจให้กับผู้อื่น เพื่อดำเนินการพูดคุยปรับทัศนคติกันต่อไป
Source : techcrunch.com
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV