เสียงจากลูกน้องแบบไหน ที่หัวหน้าต้อง “หยุดฟัง” และ “จัดการด่วน”

เสียงจากลูกน้องแบบไหน ที่หัวหน้าต้อง “หยุดฟัง” และ “จัดการด่วน”

Business

3 Min

11 Nov 2024

Share

ทุกเสียงจากรอบด้านที่หัวหน้าได้ยินอาจดูเหมือนต้องการการตอบสนองในทันที แต่ในความเป็นจริง การเลือกรับมือกับเสียงอย่างเหมาะสมคือหัวใจสำคัญของการเป็นหัวหน้าที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคที่ธุรกิจต้องปรับตัวตลอดเวลา

Harvard Business Review ได้เผยแพร่บทความ “Leaders Must React” นำเสนอกรอบแนวคิด The Reactive Management Framework ซึ่งพัฒนาโดยนักวิจัยด้านการจัดการจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กรอบคิดนี้เกิดจากการศึกษาเชิงลึกผ่านการสัมภาษณ์ผู้นำระดับหัวหน้าองค์กรกว่า 200 รายทั่วโลก เพื่อให้หัวหน้าแยกแยะและจัดการเสียงและแรงกดดันที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากลูกน้อง คู่ค้า หรือลูกค้า

The Reactive Management Framework การบริหารแบบตอบสนองตามเหตุการณ์

จากข้อมูลที่ได้ ทีมวิจัยพบว่าเสียงต่างๆ ที่หัวหน้าต้องรับมือสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท โดยการแยกแยะเสียงเหล่านี้จะช่วยให้หัวหน้าตัดสินใจ “เลือกรับฟัง” ได้ดีขึ้น ดังนี้:

1. Normal Noise (Small-Small)

เสียงรบกวนปกติ เป็นปัญหาเล็กน้อยที่ไม่กระทบธุรกิจในภาพรวม เช่น อุปกรณ์เล็กๆ เสียชั่วคราวหรือขาดแคลนวัตถุดิบชั่วคราว หัวหน้าควรมอบหมายให้ทีมงานระดับปฏิบัติการดูแลและไม่ลงไปยุ่งในรายละเอียด เพื่อไม่ให้เสียสมาธิจากงานใหญ่ อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบเป็นระยะว่าทีมได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเหมาะสมแล้ว เพื่อป้องกันปัญหาเล็กๆ ลุกลามไปสู่ปัญหาใหญ่

2. Siren Songs (Small-Significant)

เสียงดังที่ดูเหมือนจะสำคัญแต่ในความจริงไม่ส่งผลกระทบมาก เช่น ข่าวลือในองค์กรหรือการโปรโมชันแรงของคู่แข่งที่แย่งลูกค้า หัวหน้าควรใช้วิจารณญาณและรอดูข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตอบสนอง เพราะการตอบสนองเร็วเกินไปอาจทำให้เสียเวลาและทรัพยากรในเรื่องที่ไม่จำเป็น ควรเฝ้าติดตามสถานการณ์ให้แน่ชัดก่อนว่าเป็นปัญหาที่ต้องลงมือแก้ไขหรือไม่

3. Whisper Warnings (Significant-Small)

เสียงเตือนเบาๆ ที่อาจบ่งชี้ถึงปัญหาในอนาคต เช่น ความไม่พอใจของพนักงานหรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกค้า หัวหน้าควรตรวจสอบและแก้ไขปัญหานี้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา หากพนักงานรู้สึกว่าร้องเรียนเท่าไหร่ทำไมหัวหน้าไม่ฟังสักที ความไม่พอใจนี้อาจสะสมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ การรับรู้ถึงสัญญาณเล็กน้อยเหล่านี้และการประเมินว่าเป็นปัญหาที่ต้องการการลงมือแก้ไขหรือให้ทีมงานช่วยจัดการ จะช่วยป้องกันการสูญเสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็น

4. Clarion Calls (Significant-Significant)

เสียงเรียกร้องที่สำคัญ ซึ่งหัวหน้าต้องหยุดฟังและตอบสนองทันที เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ ความผิดพลาดในการผลิตที่อาจกระทบความน่าเชื่อถือขององค์กร ในกรณีเช่นนี้ หัวหน้าควรรับมือโดยตรงและเรียกระดมทีมเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา Clarion Calls มักมีความสำคัญสูงจนข้อจำกัดปกติ (เช่น งบประมาณหรือเวลา) อาจถูกยืดหยุ่นเพื่อการแก้ไขปัญหานี้ให้ได้อย่างรวดเร็ว

ควรใช้ Framework นี้เมื่อไหร่และกับใคร?

The Reactive Management Framework เหมาะสำหรับหัวหน้าที่ต้องเผชิญกับเสียงและแรงกดดันจากหลายทิศทาง ไม่ว่าจะจากลูกน้องโดยตรง ลูกค้าหรือคู่ค้า โดยการใช้ Framework นี้จะช่วยให้หัวหน้าแยกแยะได้ว่าเสียงไหนควรลงมือแก้ไขทันที และเสียงไหนที่ควรปล่อยผ่านไปก่อน ตัวอย่างการใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น:

เสียงจากลูกน้องและทีมงาน

การรับมือกับปัญหาที่ลูกน้องพบในงาน เช่น ความไม่พอใจในงานที่ทำ ปัญหาความร่วมมือระหว่างทีม หรือข้อบกพร่องเล็กน้อยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หัวหน้าสามารถใช้ Framework นี้เพื่อตัดสินใจว่าควรลงไปช่วยเหลือด้วยตัวเองหรือให้ทีมงานจัดการต่อไป เช่น ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อยจัดอยู่ในกลุ่ม “Normal Noise” ก็อาจเป็นเรื่องที่ให้ทีมงานแก้ไขเองได้ แต่หากเป็น Whisper Warnings ที่อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ หัวหน้าควรใส่ใจเป็นพิเศษตั้งแต่ต้น

เสียงจากลูกค้าและพันธมิตร

เมื่อมีข้อร้องเรียนจากลูกค้าหรือคำขอจากคู่ค้าทางธุรกิจ Framework นี้ช่วยให้หัวหน้าแยกแยะว่าเสียงไหนเป็น Clarion Calls หรือ Whisper Warnings ที่ต้องแก้ไขทันทีเพราะอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ในระยะยาว ส่วนเสียงที่อยู่ในกลุ่ม Siren Songs หรือ Normal Noise อาจรอให้ทีมช่วยกันวิเคราะห์ก่อน หรือติดตามดูทิศทางก่อนจะตัดสินใจลงมือแก้ไข

เสียงจากสภาพแวดล้อมภายนอก

การรับมือกับปัญหาที่ลูกน้องพบในงาน เช่น ความไม่พอใจในงานที่ทำ ปัญหาความร่วมมือระหว่างทีม หรือข้อบกพร่องเล็กน้อยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หัวหน้าสามารถใช้ Framework นี้เพื่อตัดสินใจว่าควรลงไปช่วยเหลือด้วยตัวเองหรือให้ทีมงานจัดการต่อไป เช่น ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อยจัดอยู่ในกลุ่ม “Normal Noise” ก็อาจเป็นเรื่องที่ให้ทีมงานแก้ไขเองได้ แต่หากเป็น Whisper Warnings ที่อาจนำไปสู่ปัญหาใหญ่ หัวหน้าควรใส่ใจเป็นพิเศษตั้งแต่ต้น

สรุป: การเป็นหัวหน้าที่ดีไม่ใช่แค่การทำงานตามแผน แต่ยังต้องสามารถแยกแยะเสียงที่ควรฟังและจัดการให้ถูกต้อง The Reactive Management Framework ช่วยให้หัวหน้าสามารถจัดลำดับความสำคัญในการตอบสนองต่อเสียงที่เข้ามาได้อย่างเป็นระบบ เพื่อไม่ให้เสียงเล็กๆ น้อยๆ มาขัดขวางเป้าหมายใหญ่ของทีมและองค์กร

More Information

We will get back to you within 24 business hours
By submitting your information, you consent to allow True Digital Academy team to contact you or your organization via phone or email.