Steps ลัด สื่อสารข้อมูลทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Charts & Graphs

Steps ลัด สื่อสารข้อมูลทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Charts & Graphs

Business

2 Min

25 Jun 2024

Share

การสื่อสารข้อมูลมีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ การใช้ Charts และ Graphs อย่างเหมาะสมจะช่วยให้การนำเสนอข้อมูลสื่อสารได้อย่างชัดเจนอีกทั้งทำให้ผู้ได้รับสารเข้าใจในสารนั้นง่ายขึ้น บทความนี้สรุปขั้นตอนในการใช้ Charts และ Graphs สื่อสารข้อมูลธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ


6 Steps สื่อสารข้อมูลทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Charts & Graphs

1. กำหนดเป้าหมายของการสื่อสาร

ก่อนเริ่มออกแบบ Charts หรือ Graphs สิ่งสำคัญคือต้อง กำหนดเป้าหมายของการสื่อสาร ให้ชัดเจนเสียก่อน เป้าหมายนี้จะช่วยกำหนดทิศทางและรูปแบบการนำเสนอข้อมูล ตัวอย่างเช่น หากต้องการสื่อสารผลประกอบการรายปีให้กับผู้บริหาร การใช้ Bar Chart หรือ Line Chart จะช่วยให้เห็นภาพรวม เปรียบเทียบข้อมูล และวิเคราะห์แนวโน้มได้อย่างชัดเจน

2. เลือก Chart และ Graph ที่เหมาะสม

การเลือกประเภทของ Chart หรือ Graph ควรคำนึงถึงลักษณะของข้อมูลและจุดประสงค์ของการนำเสนอ ตัวอย่างเช่น:
  • Bar Chart: เหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลในกลุ่มต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น การใช้ Bar Chart แสดงยอดขายของสินค้าในแต่ละไตรมาสของปี 2023 จะช่วยให้เห็นภาพรวมและเปรียบเทียบยอดขายระหว่างไตรมาสได้อย่างชัดเจน
  • Line Chart: เหมาะสำหรับการแสดงแนวโน้มของข้อมูลตามช่วงเวลา ตัวอย่างเช่น การใช้ Line Chart แสดงอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนหรือรายปี อาจจะช่วยให้เห็นแนวโน้มของการเกิดภาวะโลกร้อนได้
  • Pie Chart: เหมาะสำหรับการแสดงสัดส่วนของข้อมูลทั้งหมด ตัวอย่างเช่น การใช้ Pie Chart แสดงสัดส่วนของรายได้จากประเภทสินค้าที่ขาย จะช่วยให้เห็นภาพรวมของการขายได้

source : https://ted-ielts.com/describe-graph/bar-chart-vs-line-graph-vs-pie-chart/


3. การออกแบบที่เรียบง่ายและชัดเจน

การออกแบบ Chart และ Graph ควรคำนึงถึงความเรียบง่ายและเข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้สีและสัญลักษณ์ที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้รับสารสับสน การใช้สีที่ตัดกันจะช่วยเน้นข้อมูลสำคัญ ทำให้ผู้รับสารสามารถจดจ่อกับข้อมูลที่ต้องการได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น:

  • Bar Chart: ควรใช้สีที่สดใส แต่ไม่แสบตา และควรมีช่องว่างระหว่างแท่งเพื่อความชัดเจน
  • Line Chart: ควรใช้สีที่ต่างกันสำหรับแต่ละเส้น เพื่อให้การเปรียบเทียบระหว่างเส้นเป็นไปได้ง่าย
  • Pie Chart: ควรใช้สีที่ไม่เกิน 5-6 สี และควรมีตัวอักษรระบุสัดส่วนของแต่ละส่วน

4. การใส่ Label และ Legend ให้เห็นชัดเจน

การใส่ Label และ Legend ที่ชัดเจนช่วยให้ผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ง่ายขึ้น Label ควรอธิบายข้อมูลที่แสดงในแต่ละจุดอย่างชัดเจน Legend ควรอธิบายความหมายของสีหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ใน Chart หรือ Graph อย่างชัดเจน ตำแหน่งของ Label/Legend ควรอยู่ใกล้กับสิ่งที่ต้องการอธิบาย และควรใช้ขนาดตัวอักษรที่อ่านง่าย

5. การจัดเรียงข้อมูลตามความสำคัญ

การจัดเรียงข้อมูลตามความสำคัญช่วยให้ผู้รับข้อมูลสามารถจับประเด็นสำคัญได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ใน Bar Chart ควรจัดเรียงจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปมากเพื่อให้เห็นแนวโน้มและความสำคัญของข้อมูล

6. การตรวจสอบและปรับปรุง

การตรวจสอบและปรับปรุง Chart และ Graph ก่อนนำเสนอเป็นสิ่งสำคัญ ควรตรวจสอบว่าข้อมูลที่แสดงบน Chart และ Graph นั้นถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่า Chart และ Graph นั้นออกแบบได้อย่างเรียบง่าย เข้าใจง่าย และมีสีสันที่เหมาะสม ทดสอบกับกลุ่มผู้รับข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจข้อมูลตามที่เราต้องการ
ตัวอย่าง: การนำเสนอข้อมูลการเติบโตของรายได้ ควรตรวจสอบว่าค่าตัวเลขและการแสดงผลถูกต้อง การทดสอบกับผู้ใช้งานจริงเพื่อดูว่าพวกเขาเข้าใจแนวโน้มการเติบโตหรือไม่

การสื่อสารข้อมูลธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย Charts และ Graphs ต้องอาศัยการวางแผนและการออกแบบที่ดี ข้อมูลที่ถูกนำเสนออย่างชัดเจนและเข้าใจง่ายจะช่วยให้การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเติบโตและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

Author

ผศ.ดร.นุวีย์ วิวัฒนวัฒนา

ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Instructor Lead, True Digital Academy

More Information

We will get back to you within 24 business hours
By submitting your information, you consent to allow True Digital Academy team to contact you or your organization via phone or email.