สรุป 20 ข้อ “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต”

สรุป 20 ข้อ “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต”

Business

4 Min

03 Nov 2024

Share

เนื้อหาที่น่าสนใจจาก session บรรยาย ในหัวข้อ “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต” โดย คุณอาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม – Head of True X – True Digital Group เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมาในงาน Job Connect 2024 ที่จัดโดย True Digital Park

สรุป 20 ข้อ จาก session “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต”

1.ไม่ผิดที่พลาด: มีคำกล่าวที่ว่า “อะไรที่ไม่ทำให้เราตาย จะทำให้เราแข็งแรงขึ้น” ก่อนจะไปสู่ความสำเร็จได้ล้วนจำเป็นต้องผ่านความท้าทายมาก่อน ดังนั้นอย่ากลัวพลาดจนไม่กล้าทำอะไร แต่ต้องเรียนรู้ที่จะพลาดอย่างไรแล้วยังลุกขึ้นมาสู้ต่อและอยู่รอดได้มากกว่า
.
2. THE FAILURE LOGIC: If (CxP) < V then do it! อธิบายได้ว่า ความผิดพลาดเกิดขึ้นจาก 2 อย่าง คือ C (ต้นทุนของความผิดพลาด) คูณด้วย P (โอกาสที่จะเกิดขึ้น) ซึ่งถ้า 2 อย่างนี้คูณกันแล้วยังได้น้อยกว่า V (คุณค่าที่เรา/องค์กรได้) เราก็ควรจะลองเสี่ยงลงมือทำดู ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้แต่มีโอกาสเกิดเหตุน้อยมากเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ คนจึงยังเลือกใช้บริการอยู่
.
3. วิธีการที่จะล้มเหลวอย่างมีท่า: ต้อง “ลดโอกาสของความล้มเหลว” โดยใช้ Design thinking ในการทำความเข้าใจว่าลูกค้าหรือองค์กรอยากได้อะไร เข้าใจว่าสกิลที่เรามีสามารถสร้างประโยชน์อะไร มีการทดสอบไอเดีย Prototype ของเราแบบเร็ว ๆ ด้วยต้นทุนไม่สูงมาก

และ “เพิ่มโอกาสของความสำเร็จ” โดยใช้หลักการของ Lean Startup “accept the failure and PIVOT” คือทำอย่างไรให้รู้เร็วว่าไอเดียเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ยอมรับความจริง และสามารถพลิกแพลงได้
.
4. ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้ความล้มเหลว:
Instagram (เดิมชื่อ Burbn)
ในช่วงแรกเริ่ม Burbn เปิดตัวมาพร้อมฟีเจอร์มากมาย แต่หลังจากเปิดให้บริการ ทีมงานพบว่าผู้ใช้สนใจเพียงฟีเจอร์เดียว นั่นคือการแชร์รูปภาพ พวกเขาจึงตัดสินใจปรับโฟกัสใหม่ มุ่งเน้นเฉพาะการแชร์ภาพเพียงอย่างเดียว การตัดสินใจครั้งนี้นำไปสู่ความสำเร็จอย่างท่วมท้น จนสามารถขายกิจการได้ในมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

YouTube (เดิมชื่อ Tune in Hook Up)
เริ่มต้นจากแนวคิดการเป็นเว็บไซต์หาคู่ ที่ให้ผู้ใช้โพสต์วิดีโอแนะนำตัว แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้กลับนิยมโพสต์วิดีโอทั่วไปมากกว่าวิดีโอหาคู่ ทีมผู้ก่อตั้งจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถแชร์วิดีโอได้ทุกรูปแบบ จนพัฒนามาเป็น YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมระดับโลกในปัจจุบัน
.
5. Human Factors: เมื่อนำสมการ Logic ของความล้มเหลวมาพิจารณา และเพิ่มคุณค่าของตัวเราเข้าไปนอกเหนือจากมิติทางธุรกิจ อาทิ ความเชื่อและความหลงใหล (Passion) ซึ่งหมายความว่า แม้จะมีความเสี่ยง แต่หากรู้สึกว่าสิ่งนั้นตรงกับตัวตนของเรา ก็ควรกล้าที่จะลงมือทำ
.
6. ในการสัมภาษณ์งานทั่วไป มักจะเน้นพิจารณาเพียงทักษะและความสามารถ (Skillset) แต่จากนี้ไป เราควรนำเสนอตัวเองให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อ:
– เราเป็นใคร
– เราอยากทำอะไร
– ทำไมเราจึงเป็นคนที่ใช่สำหรับองค์กร และองค์กรใช่สำหรับเรา
.
7. วิธี Minimize Failure: การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาหนึ่งชิ้น ต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ ต้องเป็นสิ่งที่คนต้องการ (Desirable) โดยต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ต้องทำแล้วต้องไม่เจ๊ง (Feasible) โดยทีมต้องมีทักษะและเข้าใจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายต้องทำได้จริง (Practical)
.
8. ทักษะสำคัญในยุค AI: AI เข้ามาคิดแทนได้ ทำให้ What และ How สำคัญน้อยลง คุณค่าของมนูษย์เราจะไปอยู่ที่ความสามารถในการตอบคำถามว่าทำไปทำไม ดังนั้นเราจะต้อง “เก่งเรื่อง Why และ When” ถึงจะได้เก่งและแตกต่างจากคนอื่น
.
9. เป็นคนที่ AI ไม่สามารถแทนได้: ต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีก ทั้งฝั่ง Critical thinking ทักษะในการแก้ปัญหา และฝั่ง Design thinking ทักษะสร้างสรรค์ต้องรู้ว่าทำไมถึงทำสิ่งนี้และทำอย่างไรถึงจะถูกใจคนมากที่สุด
.
10. การสร้าง Higher value: ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบเพียงไอเดียของสินค้าเท่านั้นแต่ยังอยู่ที่การสร้างคุณค่าทางอารมณ์ (Emotional Value) เมื่อเราเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าในคุณค่าในอีกระดับหนึ่งได้โอกาสสำเร็จย่อมสูงขึ้น
.
11. นวัตกรรมต้องยั่งยืน: โลกธุรกิจปัจจุบัน ความยั่งยืน (Sustainability) และการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG มีความสำคัญอย่างยิ่ง คนทำงานยุคใหม่จึงต้องมีทักษะที่ครอบคลุมทั้งการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อสร้างคุณค่าในปัจจุบัน และการคิดเชิงอนาคต (Foresight) ที่มองไปข้างหน้าเพื่อออกแบบและสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในอนาคต
.
12. การใช้ Design thinking โดยไม่มี Foresight: ตัวอย่างเช่น กาแฟแคปซูล แม้จะตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบายให้กับคนแต่สิ่งที่ตามมาคือสร้างขยะเพิ่มขึ้น
.
13. เป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนที่ใช่ด้วย: ในยุคปัจจุบัน การเป็นแค่ “คนเก่ง” อาจไม่เพียงพออีกต่อไป สิ่งสำคัญคือการเป็น “คนที่ใช่” สำหรับองค์กร ซึ่งหมายถึงการค้นพบ “Ikigai” หรือจุดตัดระหว่างสิ่งที่เรารักและ Skill ที่เรามีกับสิ่งที่องค์กรต้องการและยินดีจ่ายให้งานของเรา
.
14. รูปแบบงานในอนาคต: แม้จะใช้ทักษะพื้นฐานเดียวกัน แต่งานจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามมุมมองความคิด (Mindset) ที่แตกต่างกัน ได้แก่ งานปฏิบัติการ (Operation) ที่เน้นการทำงานตามกระบวนการที่ชัดเจน ต้องการความแม่นยำและความสม่ำเสมอ และงานนวัตกรรม (Innovation) ที่เหมาะกับผู้ที่ชอบความท้าทาย กล้าเสี่ยง และต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
.
15. ทักษะสู่การเป็นคนที่ใช่ตลอดไป: การเป็น “คนที่ใช่” ต้องไม่ยึดติดกับความรู้หรือทักษะใดทักษะหนึ่ง แต่ต้องพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ในยุคที่ Generative AI สามารถช่วยตอบคำถาม What และ How เราต้องหันไปพัฒนา Soft Skills โดยเฉพาะการสื่อสาร ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในระยะยาว
.
16. Unemployment ไม่น่ากลัวเท่า Unemployable: สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือการกลายเป็นคนที่ไม่มีใครต้องการจ้าง (Unemployable) เพราะทักษะและความสามารถของเราล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรอีกต่อไป
.
17. Challenge the Status Quo: กล้าที่จะตั้งคำถามกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเดิม สิ่งที่เคยเป็นมาในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นตลอดไป เมื่อสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง เราต้องกลับมาตั้งคำถามกับ Why
.
18. Reframe คิดใหม่ ทำใหม่ได้: ไม่อยากให้เป็น Binary ที่มองทุกอย่างเป็นแค่ ‘ใช่’ กับ ‘ไม่ใช่’
.
19. Shift Perspective มองต่างมุมกับคนอื่น: มองเห็นโอกาส โดยมุมสำคัญคือมุมของลูกค้า
.
20. การพัฒนาทักษะแบบองค์รวม: การทำงานยุคใหม่ไม่ควรยึดติดกับ Critical Thinking จนปิดกั้นการทดลองสิ่งใหม่ แต่ควรผสมผสานทั้ง Human Thinkin Creative Thinking และการค้นหา Ikigai พร้อมทั้งพัฒนาทักษะ People Thinking ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการทำงานปัจจุบัน

More Information

We will get back to you within 24 business hours
By submitting your information, you consent to allow True Digital Academy team to contact you or your organization via phone or email.