สรุป 20 ข้อ “ของ ที่คนที่ริจะเป็น Content Creator ต้องมี”
สรุป 20 ข้อ “ของ ที่คนที่ริจะเป็น Content Creator ต้องมี”
Business
4 Min
01 Nov 2024
Share
Share
Table of contents
เนื้อหาที่น่าสนใจจาก Panel Discussion ในหัวข้อ “ ‘ของ’ ที่คนที่ริจะเป็น Content Creator ต้องมี” โดย คุณชิว พิพัฒน์ ศรีมัธยกุล – Senior Leader, Influencer Content (Acting) – True Digital Group Co., Ltd. , คุณอาเธอร์ เลิศฤทธิ์ จันทริมา – Content Creator ช่อง Arthurlori และ สินีย์Society, คุณเคน ชานน ภัทรธีรานนท์ – Content Creator ช่อง ken.bkk เมื่อวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมาในงาน Job Connect 2024 ที่จัดโดย True Digital Park
สรุป 20 ข้อ จากช่วงเสวนา “ของ ที่คนที่ริจะเป็น Content Creator ต้องมี”
1. สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจาก Creator: ความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าจะช่วยให้ Creator สามารถนำเสนอมุมมองที่น่าสนใจ สร้างเนื้อหาที่กลุ่มผู้ชมชื่นชอบและมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันก็สามารถส่งมอบผลงานที่ตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าได้
.
2. วินัยของ Creator: คนทั่วไปมักเห็นแค่คอนเทนต์สวยๆ ที่ผ่านการตัดต่อมาอย่างดี แต่ความจริงแล้ว Creator ทุกคนต้องผ่านช่วงเวลาที่ท้อแท้และหมดแรงบันดาลใจมาแล้วทั้งนั้น สิ่งที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้คือ ‘วินัย’ ในการผลิตคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แม้ในวันที่ไม่มีแรงก็ตาม
.
3. เคล็ดลับทำงานอย่างมีความสุข: การทำอาชีพ content creator ให้ยั่งยืน ต้องเริ่มจากมีจุดยืนเป็นตัวของตัวเองเสมอ จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีความสุขต่อได้ในระยะยาว
.
4. ลูกค้าเลือกลงทุนกับคนที่ลงทุนก่อน: การมีอุปกรณ์สำหรับถ่ายทำ เช่น ไฟสปอตไลท์ ไมค์โครโฟนตัดเสียงรบกวน ก็จะช่วยสร้างความได้เปรียบในแง่ของคุณภาพงาน ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและเลือกที่จะทำงานด้วยมากกว่าครีเอเตอร์ที่ใช้อุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป
.
5. สร้าง Personal branding: ข้อมูลจากการรีเสิร์ชพบว่าประเทศไทยมี creator รวมกว่า 9 ล้านคน ในจำนวนนี้มีถึง 2 ล้านคนที่เป็น full-time creator ถือว่ามีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง คือ ต้องรู้จักตัวเองและสร้างคอนเทนต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยที่ไม่ฝืนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้อินจริง
.
6. หลักการที่แบรนด์เลือกจ้าง Creator: อยู่ที่แบรนด์สามารถให้คำนิยาม creator สั้น ๆ ได้หรือไม่ เพราะสิ่งนี้สะท้อนภาพจำคอนเทนต์ของช่องที่คนดูสามารถรับรู้ได้ ยิ่งจุดยืนชัดเจนแบรนด์ยิ่งตัดสินใจเลือก creator ที่จะร่วมงานด้วยง่ายขึ้น
.
7. เทรนด์คอนเทนต์น่าจับตามอง: โซเชียลมีเดียทำให้ใคร ๆ ก็สามารถสร้างและดูคอนเทนต์ได้จากทุกมุมโลก ส่งผลให้เกิดเนื้อหาที่หลากหลายแยกย่อยมากขึ้น เช่น คอนเทนต์ท่องเที่ยว แบ่งเป็น ท่องเที่ยวสายกรีน ท่องเที่ยวสายหรู เป็นต้น ขณะเดียวกันโซเชียลมีเดียเป็นทั้งพื้นความท้าทายและโอกาสสำหรับ creator ไทยซึ่งด้านหนึ่งมีโอกาสเข้าถึงผู้ชมทั่วโลก แต่อีกด้านก็ต้องแข่งขันกับคนทำคอนเทนต์จากทั่วทุกมุมโลกเช่นกัน
.
8. AI กับคอนเทนต์: เทคโนโลยี AI สามารถช่วยให้ครีเอเตอร์เข้าถึงผู้ชมต่างชาติได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องอุปสรรคด้านภาษา ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น แปลคำบรรยายภาษาต่างประเทศอัตโนมัติ หรือสร้างเสียงพากย์ในภาษาต่าง ๆ
.
9. ช่องทางการสร้างรายได้: มาได้หลากหลายช่องทาง เช่น โฆษณา YouTube จากคลิปวีดีโอ และสปอนเซอร์ที่ติดต่อมาโดยตรง นอกจากนี้ปัจจุบันมีบริษัทอย่าง Online Station ที่ทำหน้าที่ช่วย creator ในการหาโอกาสร่วมงานกับแบรนด์เพื่อขยายช่องทางการหารายได้ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
.
10. ความท้าทายในอาชีพ: การเป็น Creator เต็มไปด้วยความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นที่ต้องมีความพร้อมทั้งเรื่องเงินทุนสำหรับซื้ออุปกรณ์ และแรงกายในการผลิตผลงาน นอกจากนี้ยังต้องมีความเข้มแข็งทางจิตใจ เพราะช่วงแรก ๆ อาจมีผู้ชมน้อย ต้องอาศัยความอดทนลงผลงานต่อเนื่อง ที่สำคัญคือความท้าทายในการสร้างสรรค์เนื้อหาให้น่าสนใจอยู่เสมอ แม้จะเป็นเรื่องที่มีคนทำมาแล้ว ก็ต้องหาวิธีนำเสนอในมุมใหม่ที่แตกต่างและดึงดูดผู้ชม
.
11. Authenticity: การรักษาความจริงใจและความเป็นตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับครีเอเตอร์ การนำเสนอตัวตนที่แท้จริง ไม่แสร้งทำ โดยเฉพาะเมื่อต้องรีวิวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ครีเอเตอร์ควรบอกทั้งข้อดีและข้อจำกัดอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะช่วยรักษาชื่อเสียงในระยะยาว และสร้างความเชื่อมั่นให้วงการ creator โดยรวม
.
12. องค์กรต้องตามเทรนด์ให้ทัน: องค์กรที่ดูแล creator ต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีและเทรนด์ที่จะช่วยให้สร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น วีทูบเบอร์ (VTuber) หรือ ครีเอเตอร์ที่ใช้ตัวละครการ์ตูนแทนตัวคนจริง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น
.
13. Trend Setter: การเป็น creator ที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการเป็น “Trend Setter” อาทิ เป็นผู้นำเพลงเก่าให้กลับมาเป็นกระแสโดยเฉพาะใน TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างเทรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
.
14. แนะนำอาชีพ Creator สำหรับคนรุ่นใหม่: อาชีพ content creator เป็นอาชีพที่สนุก มีความอิสระและสามารถสร้างรายได้ได้หลายช่องทาง แต่ก็ต้องผ่านการทดลองทำจนเจอจุดยืนที่ใช่ของตัวเอง
.
15. Content Creator ในองค์กร: การเป็นครีเอเตอร์ในองค์กรไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำคลิปวิดีโอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างสรรค์เนื้อหาในรูปแบบอื่น ๆ เช่น บทความ อีเวนต์ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเป็น ‘Value Creator’ ให้กับองค์กรด้วย หากสามารถผลิตเนื้อหาที่สร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้ ก็มีโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพนี้ได้อีกไกล
.
16. ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยความกล้า: การเริ่มต้นเป็น creator ต้องอาศัยความกล้าหลายด้าน เริ่มตั้งแต่การก้าวข้ามความกลัวในการถ่ายคลิปครั้งแรก การกล้าใช้เสียงจริงของตัวเองในคลิป ไปจนถึงความกล้าที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น การตัดต่อวิดีโอ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องกล้าที่จะเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ และพร้อมยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคลิปจะได้ยอดวิว แต่นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และพัฒนาต่อ
.
17. วิธีจัดการตัวเองเมื่อเจอความคิดเห็นเชิงลบ: พิจารณาก่อนว่าสิ่งที่ถูกวิจารณ์นั้นเป็นจุดที่เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้หรือไม่ หรือความผิดพลาดนั้นร้ายแรงมากน้อยเพียงใด ต้องยอมรับว่าการเป็น creator ต้องพร้อมรับมือกับคำวิจารณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องรวบรวมความกล้าและมีกำลังใจที่จะก้าวผ่านคำวิจารณ์เหล่านั้น
.
18. Multi-platform: การเป็น creator ควรรู้ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีลักษณะและพฤติกรรมของผู้ชมอย่างไร รวมถึงโอกาสการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน เช่น TikTok เหมาะกับคนต้องการดูคอนเทนต์สั้น ๆ จึงต้องเรียนรู้จากช่องที่ประสบความสำเร็จในการทำคอนเทนต์ในหลายแพลตฟอร์ม
.
19. ขั้นตอนเชื่อม creator กับแบรนด์: สำหรับเอเจนซี่ต้องรู้จัก creator แต่ละคนมีคาแรกเตอร์ รูปแบบคอนเทนต์และจุดแข็งอะไรเพื่อนำเสนอต่อแบรนด์ ขณะเดียวกันหากฝั่งแบรนด์มีแผนงานและเงินพร้อมแล้วต้องช่วยเลือก creator ที่ตรงกับโปรดักส์และร่วมงานกันและตอบโจทย์ทางธุรกิจที่สุด
.
20. กระบวนการคิดไอเดีย: ไอเดียคอนเทนต์ที่ดีควรทำให้ลูกค้า “พึงพอใจ” และการนำเสนอมีความ “น่าสนใจ” โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ Pain point ของผู้ใช้งาน แล้วคิดว่าจะนำเสนอออกมาในรูปแบบคอนเทนต์ที่ยังคงแทรกความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองลงไป เพื่อให้คอนเทนต์โดดเด่นและน่าจดจำ
.
2. วินัยของ Creator: คนทั่วไปมักเห็นแค่คอนเทนต์สวยๆ ที่ผ่านการตัดต่อมาอย่างดี แต่ความจริงแล้ว Creator ทุกคนต้องผ่านช่วงเวลาที่ท้อแท้และหมดแรงบันดาลใจมาแล้วทั้งนั้น สิ่งที่ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้คือ ‘วินัย’ ในการผลิตคอนเทนต์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ แม้ในวันที่ไม่มีแรงก็ตาม
.
3. เคล็ดลับทำงานอย่างมีความสุข: การทำอาชีพ content creator ให้ยั่งยืน ต้องเริ่มจากมีจุดยืนเป็นตัวของตัวเองเสมอ จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างมีความสุขต่อได้ในระยะยาว
.
4. ลูกค้าเลือกลงทุนกับคนที่ลงทุนก่อน: การมีอุปกรณ์สำหรับถ่ายทำ เช่น ไฟสปอตไลท์ ไมค์โครโฟนตัดเสียงรบกวน ก็จะช่วยสร้างความได้เปรียบในแง่ของคุณภาพงาน ทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและเลือกที่จะทำงานด้วยมากกว่าครีเอเตอร์ที่ใช้อุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป
.
5. สร้าง Personal branding: ข้อมูลจากการรีเสิร์ชพบว่าประเทศไทยมี creator รวมกว่า 9 ล้านคน ในจำนวนนี้มีถึง 2 ล้านคนที่เป็น full-time creator ถือว่ามีการแข่งขันค่อนข้างสูง ดังนั้นการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง คือ ต้องรู้จักตัวเองและสร้างคอนเทนต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยที่ไม่ฝืนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้อินจริง
.
6. หลักการที่แบรนด์เลือกจ้าง Creator: อยู่ที่แบรนด์สามารถให้คำนิยาม creator สั้น ๆ ได้หรือไม่ เพราะสิ่งนี้สะท้อนภาพจำคอนเทนต์ของช่องที่คนดูสามารถรับรู้ได้ ยิ่งจุดยืนชัดเจนแบรนด์ยิ่งตัดสินใจเลือก creator ที่จะร่วมงานด้วยง่ายขึ้น
.
7. เทรนด์คอนเทนต์น่าจับตามอง: โซเชียลมีเดียทำให้ใคร ๆ ก็สามารถสร้างและดูคอนเทนต์ได้จากทุกมุมโลก ส่งผลให้เกิดเนื้อหาที่หลากหลายแยกย่อยมากขึ้น เช่น คอนเทนต์ท่องเที่ยว แบ่งเป็น ท่องเที่ยวสายกรีน ท่องเที่ยวสายหรู เป็นต้น ขณะเดียวกันโซเชียลมีเดียเป็นทั้งพื้นความท้าทายและโอกาสสำหรับ creator ไทยซึ่งด้านหนึ่งมีโอกาสเข้าถึงผู้ชมทั่วโลก แต่อีกด้านก็ต้องแข่งขันกับคนทำคอนเทนต์จากทั่วทุกมุมโลกเช่นกัน
.
8. AI กับคอนเทนต์: เทคโนโลยี AI สามารถช่วยให้ครีเอเตอร์เข้าถึงผู้ชมต่างชาติได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องอุปสรรคด้านภาษา ด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย เช่น แปลคำบรรยายภาษาต่างประเทศอัตโนมัติ หรือสร้างเสียงพากย์ในภาษาต่าง ๆ
.
9. ช่องทางการสร้างรายได้: มาได้หลากหลายช่องทาง เช่น โฆษณา YouTube จากคลิปวีดีโอ และสปอนเซอร์ที่ติดต่อมาโดยตรง นอกจากนี้ปัจจุบันมีบริษัทอย่าง Online Station ที่ทำหน้าที่ช่วย creator ในการหาโอกาสร่วมงานกับแบรนด์เพื่อขยายช่องทางการหารายได้ใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน
.
10. ความท้าทายในอาชีพ: การเป็น Creator เต็มไปด้วยความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นที่ต้องมีความพร้อมทั้งเรื่องเงินทุนสำหรับซื้ออุปกรณ์ และแรงกายในการผลิตผลงาน นอกจากนี้ยังต้องมีความเข้มแข็งทางจิตใจ เพราะช่วงแรก ๆ อาจมีผู้ชมน้อย ต้องอาศัยความอดทนลงผลงานต่อเนื่อง ที่สำคัญคือความท้าทายในการสร้างสรรค์เนื้อหาให้น่าสนใจอยู่เสมอ แม้จะเป็นเรื่องที่มีคนทำมาแล้ว ก็ต้องหาวิธีนำเสนอในมุมใหม่ที่แตกต่างและดึงดูดผู้ชม
.
11. Authenticity: การรักษาความจริงใจและความเป็นตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับครีเอเตอร์ การนำเสนอตัวตนที่แท้จริง ไม่แสร้งทำ โดยเฉพาะเมื่อต้องรีวิวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ครีเอเตอร์ควรบอกทั้งข้อดีและข้อจำกัดอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งจะช่วยรักษาชื่อเสียงในระยะยาว และสร้างความเชื่อมั่นให้วงการ creator โดยรวม
.
12. องค์กรต้องตามเทรนด์ให้ทัน: องค์กรที่ดูแล creator ต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีและเทรนด์ที่จะช่วยให้สร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น วีทูบเบอร์ (VTuber) หรือ ครีเอเตอร์ที่ใช้ตัวละครการ์ตูนแทนตัวคนจริง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่น
.
13. Trend Setter: การเป็น creator ที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการเป็น “Trend Setter” อาทิ เป็นผู้นำเพลงเก่าให้กลับมาเป็นกระแสโดยเฉพาะใน TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างเทรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย
.
14. แนะนำอาชีพ Creator สำหรับคนรุ่นใหม่: อาชีพ content creator เป็นอาชีพที่สนุก มีความอิสระและสามารถสร้างรายได้ได้หลายช่องทาง แต่ก็ต้องผ่านการทดลองทำจนเจอจุดยืนที่ใช่ของตัวเอง
.
15. Content Creator ในองค์กร: การเป็นครีเอเตอร์ในองค์กรไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทำคลิปวิดีโอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างสรรค์เนื้อหาในรูปแบบอื่น ๆ เช่น บทความ อีเวนต์ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องเป็น ‘Value Creator’ ให้กับองค์กรด้วย หากสามารถผลิตเนื้อหาที่สร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้ ก็มีโอกาสก้าวหน้าในสายอาชีพนี้ได้อีกไกล
.
16. ทุกอย่างเริ่มต้นด้วยความกล้า: การเริ่มต้นเป็น creator ต้องอาศัยความกล้าหลายด้าน เริ่มตั้งแต่การก้าวข้ามความกลัวในการถ่ายคลิปครั้งแรก การกล้าใช้เสียงจริงของตัวเองในคลิป ไปจนถึงความกล้าที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น การตัดต่อวิดีโอ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องกล้าที่จะเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ และพร้อมยอมรับว่าไม่ใช่ทุกคลิปจะได้ยอดวิว แต่นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และพัฒนาต่อ
.
17. วิธีจัดการตัวเองเมื่อเจอความคิดเห็นเชิงลบ: พิจารณาก่อนว่าสิ่งที่ถูกวิจารณ์นั้นเป็นจุดที่เราสามารถปรับปรุงแก้ไขได้หรือไม่ หรือความผิดพลาดนั้นร้ายแรงมากน้อยเพียงใด ต้องยอมรับว่าการเป็น creator ต้องพร้อมรับมือกับคำวิจารณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องรวบรวมความกล้าและมีกำลังใจที่จะก้าวผ่านคำวิจารณ์เหล่านั้น
.
18. Multi-platform: การเป็น creator ควรรู้ว่าแต่ละแพลตฟอร์มมีลักษณะและพฤติกรรมของผู้ชมอย่างไร รวมถึงโอกาสการสร้างรายได้ที่แตกต่างกัน เช่น TikTok เหมาะกับคนต้องการดูคอนเทนต์สั้น ๆ จึงต้องเรียนรู้จากช่องที่ประสบความสำเร็จในการทำคอนเทนต์ในหลายแพลตฟอร์ม
.
19. ขั้นตอนเชื่อม creator กับแบรนด์: สำหรับเอเจนซี่ต้องรู้จัก creator แต่ละคนมีคาแรกเตอร์ รูปแบบคอนเทนต์และจุดแข็งอะไรเพื่อนำเสนอต่อแบรนด์ ขณะเดียวกันหากฝั่งแบรนด์มีแผนงานและเงินพร้อมแล้วต้องช่วยเลือก creator ที่ตรงกับโปรดักส์และร่วมงานกันและตอบโจทย์ทางธุรกิจที่สุด
.
20. กระบวนการคิดไอเดีย: ไอเดียคอนเทนต์ที่ดีควรทำให้ลูกค้า “พึงพอใจ” และการนำเสนอมีความ “น่าสนใจ” โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ Pain point ของผู้ใช้งาน แล้วคิดว่าจะนำเสนอออกมาในรูปแบบคอนเทนต์ที่ยังคงแทรกความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองลงไป เพื่อให้คอนเทนต์โดดเด่นและน่าจดจำ