สรุป 12 ข้อ “จากตื่นจนหลับ ใช้ AI ทำอะไรกัน?”
สรุป 12 ข้อ “จากตื่นจนหลับ ใช้ AI ทำอะไรกัน?”
Business
2 Min
01 Nov 2024
Share
Share
Table of contents
เนื้อหาที่น่าสนใจจาก Panel Discussion ในหัวข้อ ““จากตื่นจนหลับ ใช้ AI ทำอะไรกัน?” โดย คุณเคนโด้ ธนวัฒน์ พฤกษานานนนท์ Vice President – ธนาคารกรุงเทพ, คุณแณช จรัญพัฒณ์ บุญยัง CEO – Glory Forever (Alisa AI) และ คุณอีฟ เกศินี นิลสุวรรณ AI Researcher – SCB X เมื่อวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม ที่ผ่านมาในงาน Job Connect 2024 ที่จัดโดย True Digital Park
สรุป 12 ข้อจากช่วงเสวนา “จากตื่นจนหลับ ใช้ AI ทำอะไรกัน?”
1. AI ในชีวิตประจำวัน: AI ในชีวิตประจำวัน: AI เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราอย่างแพร่หลาย แม้บางครั้งอาจไม่รู้ตัว เช่น Google Maps
.
2. เพิ่ม Creativity ด้วย AI: AI สามารถช่วยทั้งในส่วนของ “การคิด” เช่น ระดมไอเดียการตลาด ธุรกิจ และส่วนของ “การทำ” เช่น สร้างรูปกราฟิก วีดีโอโฆษณา
.
3. การใช้งานในองค์กร: AI มีความสามารถ “พูดคุย-สรุป-สร้างสรรค์” ครอบคลุมทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านธุรกิจ เช่น ทีม Marketing นำ AI มาบริการตอบคำถามลูกค้า ทีม HR ใช้จัดการความรู้ในองค์กรเพื่อ onboading พนักงานได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
.
4. สร้างทีมงาน AI ของตัวเอง: การเลือกใช้ AI Tools ต้องเข้าใจ 2 ส่วนหลักควบคู่กัน คือ ปัญหาที่จะนำ AI มาใช้แก้ และ เครื่องมือ AI ที่เหมาะสมกับปัญหานั้น ๆ เพราะยังไม่มี AI ตัวไหนที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่างแต่ละตัวนั้นมีข้อจำกัดของตัวเอง
.
5. Alisa AI: เป็น Multimodel AI ซึ่งรวบรวมความสามารถ AI ในหลายด้านเข้ามาอยู่ในตัวเดียวกัน อาทิ พูดคุนตอบปัญหา สร้างกราฟิก/วีดีโอ หรือจะวัดขนาดของห้องด้วยรูปภาพก็ทำได้ โดยถูกพัฒนามาให้รองรับคำสั่งภาษาไทยเพื่อให้ user คนไทยใช้งานได้ง่ายที่สุด
.
6. ทิศทางของ AI ในอนาคต: AI จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงานในองค์กรมากขึ้นอย่างแน่นอน ในแง่ของฟังก์ชั่นงานของคนจะใช้ A เป็นผู้ช่วยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคนยังคงต้องทำหน้าที่ตัดสินและพัฒนางานที่ได้จาก AI ให้ออกมาเป็นชิ้นงานสำเร็จ
.
7. AI Transformation ในองค์กร: มองในภาพใหญ่ AI Transformation จริง ๆ แล้วต้องเริ่มจากโจทย์ทางธุรกิจหรือปัญหาที่ทีมงานต้องการจะแก้เป็นสำคัญ วางโร้ดแมปไปสู่เป้าหมาย แล้วสุดท้ายจึงค่อยนำเทคโนโลยี AI ที่เหมาะสมเข้ามาใช้สร้างคุณค่า สร้างศักยภาพให้ธุรกิจได้
.
8. คำแนะนำในการเข้าสู่สายงานในยุค AI:
องค์กรเชื่อว่าคนที่มีทักษะ AI จะทำงานออกมาได้ดีกว่าคนที่ไม่ใช้ ดังนั้นต้องฝึกทักษะการใช้งาน AI นอกจากนี้ควรรู้จัก AI ที่ใช้งานเฉพาะในสายงานที่เราสนใจด้วย เช่น AI สำหรับนักการตลาด AI สำหรับสถาปนิก
นอกจากนี้ต้องฝึก “ทักษะการสื่อสาร” ควบคู่ไปด้วยเพราะในอนาคตการสื่อสารกับ AI จะค่อย ๆ เหมือนสื่อสารกับมนุษย์ขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าสื่อสารกับมนุษย์ได้ดีก็มีแนวโน้มที่จะสื่อสารกับ AI ได้ดีด้วย
.
9. ทักษะที่ต้องมี: คนรุ่นใหม่ที่สนใจทำงานด้าน Technical โดยเฉพาะ ต้องมีทักษะด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้าง AI นอกจากนี้ควรพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในอนาคต เช่น Product Manager
.
10. การเรียนรู้ตลอดชีวิต: ปัจจุบันมีคนใช้งาน AI แล้วกว่า 500 ล้านคนเท่ากับว่าทุก ๆ วันมีคนเทรน AI ด้วยข้อมูลมหาศาล ซึ่งเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน รวมถึงการเกิดขึ้นของชุดความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอด ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามเรียนรู้เสมอ
.
11. วิธีเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ: ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ จากนั้นเลือกคำถามที่ถูกเพื่อลงลึกในสิ่งที่สนใจโดยใช้ความรู้จาก domain expert ของเราร่วมกับการใช้ AI และเข้าใจข้อจำกัดและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ AI ที่ใช้งาน
.
12. แนะนำ AI Tools ที่ใช้งานประจำ:
– Alisa ช่วยค้นหารวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ ร่างอีเมลติดต่อธุรกิจกับต่างประเทศ หา Insight เพื่อทำการตลาด
– Chat base AI ทั้งหลายช่วยระดมไอเดีย ทำแพลนได้
– AI ในงานเฉพาะ เช่น การคำนวนวัสดุก่อสร้าง ร่างภาพตกแต่งภายใน จัด agenda งานอีเวนต์ เป็นต้น
.
2. เพิ่ม Creativity ด้วย AI: AI สามารถช่วยทั้งในส่วนของ “การคิด” เช่น ระดมไอเดียการตลาด ธุรกิจ และส่วนของ “การทำ” เช่น สร้างรูปกราฟิก วีดีโอโฆษณา
.
3. การใช้งานในองค์กร: AI มีความสามารถ “พูดคุย-สรุป-สร้างสรรค์” ครอบคลุมทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านธุรกิจ เช่น ทีม Marketing นำ AI มาบริการตอบคำถามลูกค้า ทีม HR ใช้จัดการความรู้ในองค์กรเพื่อ onboading พนักงานได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
.
4. สร้างทีมงาน AI ของตัวเอง: การเลือกใช้ AI Tools ต้องเข้าใจ 2 ส่วนหลักควบคู่กัน คือ ปัญหาที่จะนำ AI มาใช้แก้ และ เครื่องมือ AI ที่เหมาะสมกับปัญหานั้น ๆ เพราะยังไม่มี AI ตัวไหนที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่างแต่ละตัวนั้นมีข้อจำกัดของตัวเอง
.
5. Alisa AI: เป็น Multimodel AI ซึ่งรวบรวมความสามารถ AI ในหลายด้านเข้ามาอยู่ในตัวเดียวกัน อาทิ พูดคุนตอบปัญหา สร้างกราฟิก/วีดีโอ หรือจะวัดขนาดของห้องด้วยรูปภาพก็ทำได้ โดยถูกพัฒนามาให้รองรับคำสั่งภาษาไทยเพื่อให้ user คนไทยใช้งานได้ง่ายที่สุด
.
6. ทิศทางของ AI ในอนาคต: AI จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงานในองค์กรมากขึ้นอย่างแน่นอน ในแง่ของฟังก์ชั่นงานของคนจะใช้ A เป็นผู้ช่วยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคนยังคงต้องทำหน้าที่ตัดสินและพัฒนางานที่ได้จาก AI ให้ออกมาเป็นชิ้นงานสำเร็จ
.
7. AI Transformation ในองค์กร: มองในภาพใหญ่ AI Transformation จริง ๆ แล้วต้องเริ่มจากโจทย์ทางธุรกิจหรือปัญหาที่ทีมงานต้องการจะแก้เป็นสำคัญ วางโร้ดแมปไปสู่เป้าหมาย แล้วสุดท้ายจึงค่อยนำเทคโนโลยี AI ที่เหมาะสมเข้ามาใช้สร้างคุณค่า สร้างศักยภาพให้ธุรกิจได้
.
8. คำแนะนำในการเข้าสู่สายงานในยุค AI:
องค์กรเชื่อว่าคนที่มีทักษะ AI จะทำงานออกมาได้ดีกว่าคนที่ไม่ใช้ ดังนั้นต้องฝึกทักษะการใช้งาน AI นอกจากนี้ควรรู้จัก AI ที่ใช้งานเฉพาะในสายงานที่เราสนใจด้วย เช่น AI สำหรับนักการตลาด AI สำหรับสถาปนิก
นอกจากนี้ต้องฝึก “ทักษะการสื่อสาร” ควบคู่ไปด้วยเพราะในอนาคตการสื่อสารกับ AI จะค่อย ๆ เหมือนสื่อสารกับมนุษย์ขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าสื่อสารกับมนุษย์ได้ดีก็มีแนวโน้มที่จะสื่อสารกับ AI ได้ดีด้วย
.
9. ทักษะที่ต้องมี: คนรุ่นใหม่ที่สนใจทำงานด้าน Technical โดยเฉพาะ ต้องมีทักษะด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้าง AI นอกจากนี้ควรพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานในอนาคต เช่น Product Manager
.
10. การเรียนรู้ตลอดชีวิต: ปัจจุบันมีคนใช้งาน AI แล้วกว่า 500 ล้านคนเท่ากับว่าทุก ๆ วันมีคนเทรน AI ด้วยข้อมูลมหาศาล ซึ่งเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน รวมถึงการเกิดขึ้นของชุดความรู้ใหม่ ๆ อยู่ตลอด ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามเรียนรู้เสมอ
.
11. วิธีเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ: ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ จากนั้นเลือกคำถามที่ถูกเพื่อลงลึกในสิ่งที่สนใจโดยใช้ความรู้จาก domain expert ของเราร่วมกับการใช้ AI และเข้าใจข้อจำกัดและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ AI ที่ใช้งาน
.
12. แนะนำ AI Tools ที่ใช้งานประจำ:
– Alisa ช่วยค้นหารวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ ร่างอีเมลติดต่อธุรกิจกับต่างประเทศ หา Insight เพื่อทำการตลาด
– Chat base AI ทั้งหลายช่วยระดมไอเดีย ทำแพลนได้
– AI ในงานเฉพาะ เช่น การคำนวนวัสดุก่อสร้าง ร่างภาพตกแต่งภายใน จัด agenda งานอีเวนต์ เป็นต้น