Digital Language 101 ศัพท์น่ารู้โลกดิจิทัล EP.9 Digital Advertising โฆษณายังไงไม่ให้โดนเมิน
Digital Language 101 ศัพท์น่ารู้โลกดิจิทัล EP.9 Digital Advertising โฆษณายังไงไม่ให้โดนเมิน
Business
3 Min
10 Nov 2022
Share
Table of contents
InBasicThai vs InBasicDigital EP.9 Digital Advertising โฆษณายังไงไม่ให้โดนเมิน!?
เมื่อพูดถึง “โฆษณา” แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วไปอยากจะดู และถูกมองว่าเป็นสิ่งรบกวน จนเราเกิดสภาวะ Ad Blindness ที่มองข้ามผ่านไปแบบไม่สนใจ ไม่จดจำ ซึ่งในมุมมองของแบรนด์ หรือคนที่จ่ายเงินให้ซื้อโฆษณาถือเป็นการลงทุนที่เสียเปล่ามากๆ แต่ก็มีบ้างบางครั้งที่ได้เจอกับโฆษณาที่เราถึงกับต้องหยุดอ่าน หยุดดู หรือคลิกไปดูต่อ ไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบคอนเทนต์ที่น่าสนใจ แต่ยังมาถูกจังหวะเวลา และตรงกับความต้องการในใจแบบพอดิบพอดี ราวกับอ่านใจเราออกว่ามองหาอะไร
ทำอย่างไรให้ธุรกิจของเราทำโฆษณาที่คนหยุดดู?
โฆษณาในรูปแบบนี้ คือ Contextual Advertising หรือ การทำโฆษณาแบบอิงตามบริบท แม้การทำ Contextual Ads จะไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ซะทีเดียว แต่ด้วยเทคโนโลยีและสื่อในยุคดิจิทัล ทำให้การทำ Contextual Ads เป็นไปได้ง่ายขึ้นมาก เพราะสามารถเจาะจงกลุ่มผู้ชม พื้นที่ ช่วงเวลาได้อย่างแม่นยำ
หลักการสำคัญของ Contextual Ads คือการที่แบรนด์ต้องใส่ใจว่า ณ ขณะนี้ลูกค้ากำลังอยู่ใน “บริบท” แบบไหน ซึ่งคำว่า บริบท หมายถึง ทั้งสภาวะ สถานะ สถานการณ์แวดล้อม ความสนใจ สถานที่ และช่วงเวลา รวมถึงรูปแบบการสื่อสารที่ลูกค้าสะดวกรับ มีหลายสิ่งมากที่ควรจะต้องพิจารณาเพื่อให้ผลลัพธ์ของการทำ Contextual Ads เกิดประสิทธิผลมากที่สุด
เคสตัวอย่างการทำ Contextual Ads ที่เรามักเห็นในชีวิตจริงบ่อยๆ เช่น การโฆษณาเกมอื่นในเกมที่เราเล่นอยู่ จะเห็นได้ชัดว่าเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ได้ถูกจุด (คนดูเป็นคนชอบเล่นเกมแน่ๆ) ถูกจังหวะ (ช่วงเวลาที่เปิดเกมขึ้นมา กำลังอยู่ในช่วงเวลาว่าง พร้อมหาอะไรสนุกๆเล่น) ถูกใจ (ผู้ชมจะยิ่งสนใจถ้าเกมที่นำเสนอเป็นเกมแนวเดียวกัน)
หรืออีกตัวอย่างคือ เครื่องมือทำโฆษณา Google AdSense ที่จะคอยนำเสนอ Banner ให้ตรงกับเนื้อหา Content แต่ละเว็บ เช่น ในเว็บไซต์รีวิวรถยนต์มือสอง ก็เลือกนำเสนอ Banner โฆษณาเต๊นท์ขายรถยนต์เป็นต้น เมื่อมาถูกจุด ถูกจังหวะ ถูกใจเช่นนี้ โอกาสที่ผู้ชมจะสนใจ ไม่มองข้ามก็มีมากขึ้น ที่เหลือก็ต้องพึ่งพาปัจจัยอื่นๆ เป็นส่วนเสริมด้วย เช่น ความครีเอทีฟชิ้นงานโฆษณา ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ เป็นต้น
Contextual Ads ต่างกับ Behavioural Ads และ Personalisation Ads อย่างไร?
จุดต่างที่สำคัญกับการทำโฆษณาด้วยศาสตร์ Behavioural คือ การอ้างอิงจากข้อมูลพฤติกรรมหรือความสนใจในอดีตที่ผ่านมาของลูกค้า แล้วนำเสนอโฆษณาที่คาดว่าลูกค้าน่าจะชอบ ซึ่งก็อาจจะใช้ไม่ได้กับบางเคส เช่น การที่ลูกค้าซื้อรถมือสองไปแล้วในเดือนที่แล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าลูกค้าจะอยากเห็นโฆษณาเต๊นท์รถมือสองอีกในเดือนนี้
ขณะที่การทำ Personalisation เป็นวิธีการรักษาลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์นานขึ้น เช่น Netflix จับพฤติกรรมการเลือกดูคอนเทนต์ของเรา เพื่อแนะนำคอนเทนต์ที่เรามีแนวโน้มจะชอบให้ ต่างกับ Contextual Ads ตรงที่จะถูกใช้ไปเพื่อจุดประสงค์ในการหาลูกค้าที่มีศักยภาพใหม่ๆ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาการเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า แต่เป็นการพาโฆษณาของเราไปวางไว้ให้อยู่ถูกที่ ถูกเวลา ถูกบริบท เพื่อที่ผู้ชมจะได้รู้สึกถึงความเกี่ยวข้อง และสนใจแบรนด์เรา
มาดูคำศัพท์น่าสนใจจากบทความนี้
สุดท้ายแล้วจะเห็นได้ว่าการทำโฆษณาให้ดีในยุคปัจจุบัน คือการนำเสนอสิ่งที่ตรงกับความต้องการลูกค้า ให้ถูกที่ถูกเวลา ถูกบริบท สะท้อนกลับมาถึงเรื่องการมีวัฒนธรรม Customer Centric ในองค์กร ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจในยุคใหม่ ที่เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า และโฟกัสลูกค้าเป็นศูนย์กลางในทุกแง่มุม อย่างเช่นการไม่นำโฆษณาไปแทรกรบกวนประสบการณ์ลูกค้า แต่เป็นการนำเสนอทางเลือกสินค้า หรือบริการที่น่าสนใจให้กับลูกค้าที่กำลังมองหาอยู่นั้นเอง
Sources : wordstream.com, everydaymarketing.co
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV