Digital Language 101 ศัพท์น่ารู้โลกดิจิทัล EP.3
Digital Language 101 ศัพท์น่ารู้โลกดิจิทัล EP.3
Business
2 Min
14 Sep 2021
Share
Table of contents
InBasicThai vs InBasicDigital คำศัพท์น่ารู้ในโลกดิจิทัล จาก True Digital Academy สำหรับทุกคนที่อยากรู้จักและเข้าใจวงการดิจิทัลและเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น เราเดินทางมาถึง EP.3 กันแล้วว โดยวันนี้ขอเอาใจเหล่า พส.(เพื่อนทุกสายงาน) ที่มีใจรักการออกแบบ ด้วยคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ “งาน Design ในสายงานดิจิทัล” จะมีคำไหนบ้าง ไปดูกันเลย
UX /ยู-เอ็กซ์/ หรือ User Experience การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า UX แพ็คคู่มาพร้อมกับคำว่า UI เป็น UX/UI Designer ซึ่งบางบริษัท อาจจะเลือกคนที่สามารถทำได้ทั้งสองอย่างมาทำตำแหน่งนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วสองอาชีพนี้มีส่วนแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยฝั่ง UX นั้นจะดูแลในเรื่อง “ประสบการณ์” หรือ “ความใช้งานง่าย” ของผู้ใช้เป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องความสวยงามแบบ UI เท่าไหร่นัก สิ่งที่ UX Designer ทำคือสร้าง Wireframe/Wireflow ขึ้นมาสำหรับใช้ทดสอบกับผู้ใช้ สายงานด้าน UX ก็สามารถแบ่งย่อยออกไปอีก เช่น UX Designer (นักออกแบบ UX) UX Researcher (ทำรีเสิซกับผู้ใช้งาน) UX Writer (คล้ายๆ Copywriter แต่เขียนคำสำหรับเว็บไซต์หรือแอปฯ)
UI /ยู-ไอ/ หรือ User Interface การออกแบบหน้าจอผู้ใช้
หน้าตาของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ เราเรียกกันว่า UI ซึ่งมักจะมาจากฝีมือการออกแบบของ UI Designer ซึ่งรับงานต่อเนื่องจาก UX เพื่อแต่งแต้มให้เว็บหรือแอปออกมาสวยงาม น่าใช้ และคำนึงถึงเรื่อง Branding และ Design System ที่วางเอาไว้ (คล้ายๆ กับ Corporate Identity ในโลกของแอปและเว็บ) ซึ่ง UI Designer หลายคนก็ต้องพ่วงทักษะด้าน UX มาด้วยบ้าง เพราะการออกแบบที่ดีสุดท้ายก็ควรคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้งานเป็นหลัก ทั้งนี้อย่าสับสนว่าคนทำ Graphic Designer จะสามารถทำ UI ได้ ต้องบอกว่ามี Skill ที่ทับซ้อนกันเพียงเล็กน้อยแต่ในเรื่องรายละเอียดของเครื่องมือที่ใช้ และ Concept ความเข้าใจ User ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
คำนี้อาจไม่ค่อยคุ้นตาคนทั่วไปมากนัก เพราะเป็นสายงานที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย อย่างที่ทราบกันว่า UX/UI Designer มีหน้าที่ออกแบบ “ประสบการณ์” และ “หน้าตา” ของเว็บกับแอป แต่ใครกันล่ะที่จะดูแลรับผิดชอบ Animation ต่างๆ อาทิ กดแล้วมีเสียง กดแล้วหน้าจอค่อยๆ Fade ลงจนเผยให้เห็นข้อความ หรือดึงหน้าจอลงแล้วขึ้นสัญลักษณ์ Refresh หน้าจอ ซึ่งการ “ขยับและมีการตอบสนองกับ action ของผู้ใช้” เหล่านี้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เราเรียกว่า Interaction Designer เป็นคนรับผิดชอบ ทำให้เว็บและแอปมีสีสันและสนุกในการใช้งาน ไม่แห้งแล้งนั่นเอง
มาในด้านการออกแบบเชิงโครงสร้างบ้าง โดย IA เปรียบเสมือนการออกแบบสถาปัตยกรรมวางโครงของบ้าน (เว็บหรือแอป) ในด้านของการจัดเรียงข้อมูล และสิ่งต่างๆที่ปรากฏให้ผู้ใช้งานเห็น ไม่ว่าเป็นเป็นการเรียงลำดับคอนเทนต์และบทความ การจัดการระบบ Tag ต่างๆ สิ่งเหล่านี้มักจะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้เองก็ลืมนึกถึงว่าเบื้องหลังการจะได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้มีที่มาอย่างไร ยิ่งแอปที่มีข้อมูลซับซ้อนยิ่งควรจะมีคนมาทำหน้าที่ดูแลเรื่อง IA โดยเฉพาะ เริ่มตั้งแต่การทำ แผนผังเว็บ (Site Maps) วางลำดับขั้นของคอนเทนต์ (Hierarchies) การจัดหมวดหมู่ (Categorizations) เมนูนำทาง (Navigation) ไปจนถึง Metadata