เช็คลิสต์! เตรียมตัวให้พร้อม โอกาสข้ามสายไปเป็น Data Analyst
เช็คลิสต์! เตรียมตัวให้พร้อม โอกาสข้ามสายไปเป็น Data Analyst
Data
5 Min
14 Mar 2023
Share
Table of contents
ไม่เฉพาะแค่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น ในตลาดงานระดับโลก อาชีพ Data Analyst มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2570 จะมีมูลค่าถึง 105 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสะท้อนถึงการเติบโตมากกว่า 12% จากปี 2562 ถึงปี 2570 ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ณ วันนี้ คือโอกาสเวลาทองในการจะกระโดดเข้าสู่สายงาน Data Analyst
อาชีพ Data Analyst คือใคร ทำหน้าที่อะไร?
Data Analyst หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูล คือบุคคลที่ทำการวิเคราะห์และแปลงข้อมูลให้กลายเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ โดยหน้าที่เริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งฐานข้อมูลเดิมภายในองค์กร และภายนอก เช่น แบบสอบถาม สถิติจากรัฐบาล หรือเว็บไซต์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ก่อนจะนำมาแปลงให้กลายเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ เช่น วิเคราะห์ข้อมูลการขาย วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า วิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ โดยในท้ายที่สุด Data Analyst ต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาสรุปผล และรายงานผลการวิเคราะห์ให้กับทีมงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ และปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Data Analyst อยู่ในอุตสาหรรมไหนบ้าง?
อาชีพนี้เป็นอาชีพยุคใหม่ที่น่าสนใจ เพราะไม่เพียงแต่จำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เกือบทุกอุตสาหกรรมล้วนมองหา Data Analyst มาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กร โดยตัวอย่างอุตสาหกรรมที่ต้องการ Data Analyst ได้แก่- อุตสาหกรรมเทคโนโลยี — บริษัท Tech, E-Commerce และบริษัทที่ให้บริการ Social Media ต่างๆ ต้องการจ้างงาน Data Analyst เพื่อช่วยเก็บข้อมูล วิเคราะห์และแปลผล เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำและตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
- อุตสาหกรรมการเงิน — ธนาคาร ประกันภัย บริษัทเพื่อการลงทุน ต่างๆ ต้องการวิเคราะห์ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน พฤติกรรมลูกค้า และประเมินความเสี่ยง
- อุตสาหกรรมสุขภาพ — โรงพยาบาล บริษัทผลิตยา ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วย ระบุแนวโน้มด้านสุขภาพ และพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- อุตสากรรมค้าปลีก — ห้างสรรพสินค้า และตัวแทนจำหน่าย ต้องการวิเคราะห์ตัวเลขยอดขาย พฤติกรรมลูกค้า และผลลัพธ์ของการทำกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด
เช็คเลย! 6 เช็คลิสต์ อาชีพ Data Analyst เหมาะกับคุณไหม?
อาชีพ Data Analyst ก็เหมือนกันกับทุกอาชีพ ที่นอกจากปัจจัย อาทิ เงินเดือน และโอกาสเติบโต เราควรพิจารณาถึงปัจจัยจากความเหมาะสมของลักษณะบุคคลิก และความชอบของตัวเองด้วย ว่าอาชีพนี้เหมาะหรือไม่เหมาะกับเรา วันนี้เราจะพามาดู 6 เช็คลิสต์ ที่ควรถามตัวเองก่อนจะพัฒนาสกิล Data Analytics ไปดูกันเลย!1. คุณเป็นคนขี้สงสัย และอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติหรือไม่?
หนึ่งในบทบาทของ Data Analyst คือการเจาะลึกข้อมูล ค้นหาแพทเทิร์น และแนวโน้ม ดังนั้น Data Analyst ที่ดีเปรียบเสมือน “นักสืบข้อมูล” ที่คอยรวบรวม ร้อยเรียงเรื่องราว และค้นหาความหมายเบื้องหลังข้อมูล ความอยากรู้อยากเห็นโดยธรรมชาติจะช่วยผลักดันให้คุณประกอบอาชีพนี้ได้อย่างสนุกมากยิ่งขึ้น
2. คุณชอบคิดเชิงวิเคราะห์ และใช้เหตุผลตรรกะหรือไม่?
โดยปกติในการทำงานพวกเราทุกคนมักจะใช้ทั้งสัญชาตญาณ และการเชิงวิเคราะห์ประกอบกัน แต่ก็มักจะมีการเอนเอียงไปฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากกว่า คนที่จะเหมาะกับการเป็น หากคุณเป็น Data Analyst มักจะมีแนวโน้มที่จะใช้ข้อเท็จจริงและข้อมูลแทนที่จะใช้ความรู้สึกและสัญชาตญาณ และชอบหาหลักฐานอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการหรือตัดสินใจ ชอบตั้งคำถาม มากกว่าตั้งสมมติฐาน เมื่อเจอโจทย์หรือความท้าทายสิ่งแรกมักมองหาข้อมูลก่อน หากคุณมีลักษณะเหล่านี้มีแนวโน้มว่าคุณเป็นคนที่มีความคิดเชิงวิเคราะห์โดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมสำหรับ Data Analyst ที่ดี
3. คุณเป็นนักแก้ปัญหาที่กระตือรือร้นหรือไม่?
การแก้ปัญหาเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Data Analysis ดังนั้นคนที่มีความกระตือรือร้น และรู้สึกตื่นเต้นกับโจทย์ที่ท้าทาย มากกว่ากลัวและกังวล จะทำให้สนุกเพลิดเพลินกับการทำงานนี้ได้ในทุกๆ วัน เพราะงาน Data เป็นงานที่มี ความท้าทาย และซับซ้อน หากไม่ใช่คนที่ธรรมชาติชอบแก้ปัญหา แก้โจทย์ อาจจะเกิดอาการ Burnout ได้ง่ายๆ
4. คุณสนใจกลยุทธ์ทางธุรกิจหรือไม่?
Data Analyst ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลที่มีมูลค่าทางธุรกิจมหาศาลมาสู่องค์กร โดยต้องนำเสนอข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด หรือช่วยนำมาเป็นแนวทางปรับปรุงกระบวนการทำงานบางอย่างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การสวมบทบาทนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่เพียงแค่การต้องลงมือปฏิบัติจริงกับข้อมูลเท่านั้น แต่ยังต้องเชื่อมช่องว่างระหว่างตัวเลขและความหมายในโลกแห่งความเป็นจริงสำหรับธุรกิจด้วย หากคุณสนใจเรื่องธุรกิจและสนุกกับการทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายๆ ภาคส่วนในธุรกิจ คุณก็พร้อมที่จะสวมบทบาทนี้
5. คุณชอบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขและสถิติหรือไม่?
แน่นอนว่าการทำงาน Data ต้องยุ่งเกี่ยวกับตัวเลขและสถิติอยู่ตลอดเวลา คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักคณิตศาสตร์โอลิมปิกสุดโหด เพื่อที่จะประกอบอาชีพ Data Analyst เพราะเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ทั้งหมดสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่เริ่มต้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือคุณต้องสนุกกับการทำงานกับตัวเลข และต้องไม่กลัวที่จะวิเคราะห์เรื่องที่ซับซ้อน
6. คุณสามารถนำเสนอข้อมูล และทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี หรือไม่?
สุดท้ายแล้ว Data Analyst ที่ดีคือคนที่มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ซับซ้อนด้วยวิธีที่คนทั่วไป หรือคนที่ไม่มีความรู้ด้านคณิตศาสตร์เข้าใจได้ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล ทักษะการอธิบายแนวคิดที่ยุ่งยากให้เข้าใจง่าย ชัดเจนและรัดกุม เป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของอาชีพนี้ นอกจากนี้การกล้านำเสนออย่างมั่นใจ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ จะยิ่งช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในอาชีพ
ทักษะจำเป็น (Essential Skills) ของ Data Analyst
ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่เรียนมาทางด้านมีความเกี่ยวข้องกับ Data มาก่อน อาทิ คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือ IT จะได้เปรียบในการเริ่มต้นสายงานนี้ แต่คนที่ไม่ได้เรียนตรงสายมาก็สามารถทำงาน Data Analyst ได้เช่นกัน หากสนใจและเรียนรู้เพิ่มเติมเอง ซึ่งการประกอบรวมกับความรู้อื่นๆ ที่เคยเรียนมาจะยิ่งทำให้รู้กว้าง และได้เปรียบในอีกรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
โดยทักษะหลักๆ ที่แนะนำสำหรับคนที่สนใจอยากทำงานนี้ ได้แก่
1. ทักษะการแก้ปัญหา (Excellent problem solving skills)
งานของ Data Analyst เป็นงานที่ต้องพบเจอความท้าทาย และมีปัญหาให้แก้อยู่ตลอดเวลา
2. ทักษะด้านตัวเลข (Solid numerical skills)
ทักษะการคำนวนพื้นฐานและสถิติศาสตร์จะช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
3. ทักษะการใช้ Excel และ SQL (Excel proficiency and knowledge of querying languages)
การใช้เครื่องมือพื้นฐานด้าน Data อย่างโปรแกรม Excel เป็นสิ่งจำเป็น รวมถึงการเขียนโค้ดเพื่อเรียกข้อมูลมาดู เช่น ภาษา SQL
4. เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพ (Expertise in data visualization)
หลังจากรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จแล้ว เพื่อการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าใจ ต้องรู้วิธีการแลงข้อมูลให้เป็นภาพ ที่สื่อสารได้ตรงประเด็น ชัดเจน และครบถ้วน
5. ทักษะการสื่อสาร (Great communication skills)
ข้อมูลและกราฟอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ การเรียบเรียง อธิบายอย่างเหมาะสมจะทำให้ร่วมงานกับทีมอื่นๆ ได้ดียิ่งขึ้น
Source: careerfoundry
ปัจจุบันมีคำกล่าวว่า “รู้อะไร ไม่สู้รู้ Data” เพราะไม่ว่าคุณจะงานตำแหน่งใดก็ตามในองค์กร หรืออยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม Data สามารถกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมืออันทรงพลังที่ทำให้คุณตัดสินใจได้อย่างเฉียบขาดมากยิ่งขึ้น หากสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) แบบมืออาชีพ พร้อมฝึกใช้เครื่องมือที่นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง อาทิ Excel, SQL และ Tableau
สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน Data Analytics เข้มข้น 40 ชั่วโมงเต็มที่ True Digital Academy เริ่มเรียน 6 พ.ค. – 15 ก.ค. 2566 ได้ที่นี่:: http://bit.ly/3LrHdfz
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทางWebsite – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV
YouTube – https://bit.ly/3is5lCx