6 เทคนิค Data Storytelling ทำพรีเซนต์ให้จับใจคนฟัง

6 เทคนิค Data Storytelling ทำพรีเซนต์ให้จับใจคนฟัง

Business

4 Min

27 Jan 2025

Share

ทุกวันนี้เรามี Data Analytics Tools เจ๋ง ๆ มากมายให้เลือกใช้ เครื่องมือบางตัวสามารถสร้างกราฟ และตารางสวย ๆ ให้เราได้เลยโดยไม่ต้องทำอะไรมาก

แต่ถึงแม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้ข้อมูลของเราดูดีขึ้น ถ้าเราไม่รู้จักวิธีเล่าเรื่องข้อมูล (Data Storytelling) ให้สนุกและน่าสนใจ ข้อมูลของเราก็จะเป็นกราฟที่แค่สวย แต่ไม่ได้นำไปสู่การใช้งานจริง หรือสร้างคุณค่าอะไรให้กับธุรกิจได้เลย

3 องค์ประกอบของ “Data Storytelling”

1️⃣ เรื่องราว ทำให้ผู้ชมของคุณเข้าใจมุมมองของคุณโดยการกลั่นข้อมูลที่ซับซ้อนให้เป็น Insight ที่มีเรื่องราว และบริบท
2️⃣ ภาพข้อมูล แผนภูมิ กราฟ ฯลฯ ที่เข้ากับเรื่องราวของคุณ
3️⃣ ข้อมูลสนับสนุน ข้อมูลที่จับต้องได้ มีที่มาที่ไปชัดเจน และผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่น่าเชื่อถือ

6 เทคนิค Data Storytelling ทำพรีเซนต์ให้จับใจคนฟัง

1.เล่าข้อมูลตามระดับการตัดสินใจในองค์กร 3 ระดับ
ควรปรับเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับ ระดับการตัดสินใจในองค์กร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้:
  • Strategic Level – เน้นการนำเสนอข้อมูลที่ช่วยสร้างภาพรวมเชิงกว้าง (Big Picture) และมุ่งไปที่การคาดการณ์แนวโน้มในระยะยาว (Long-term Trends) เพื่อช่วยสื่อสารข้อมูลสำคัญให้ผู้บริหารระดับสูงสามารถวางแผนและกำหนดทิศทางองค์กรได้อย่างชัดเจน
  • Tactical Level – เน้นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ (Performance Analysis) และการเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน (Comparative Analysis) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในทีมงานหรือฝ่ายที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการทำงาน
  • Operational Level – เน้นข้อมูลรายวัน (Daily Metrics) และการติดตามสถานการณ์แบบเรียลไทม์โดยใช้เครื่องมืออย่าง Real-time Dashboards เพื่อให้ทีมงานสามารถตอบสนองต่อปัญหาและโอกาสได้อย่างรวดเร็ว

ระดับการตัดสินใจในองค์กร 3 ระดับ


2. เลือกใช้รูปแบบ Visualization ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับข้อมูล
เพื่อให้ข้อมูลมีความชัดเจนและป้องกันการตีความผิด เลือกใช้สีเพื่อสื่อความหมาย เน้นองค์ประกอบของเรื่องราวข้อมูล และทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้การเลือกใช้สีก็มีส่วนช่วยให้ภาพกราฟมีความหมาย เน้นองค์ประกอบของเรื่องราวข้อมูล และเข้าใจได้ง่ายขึ้น เลือกใช้สีที่เรียบง่ายและเข้าใจง่าย โดยให้สีเขียวบ่งบอกถึงความเป็นบวก สีแดงบ่งบอกถึงความเป็นลบ สีเหลืองสำหรับการเตือน สีน้ำเงินเป็นกลาง และสีเทาสำหรับการให้บริบทเพิ่มเติม หรือการเปรียบเทียบ

รูปแบบ Data Visualization



3. เพิ่มบริบทให้กับข้อมูล
อ้างอิงข้อมูลกับมาตรฐาน หรือเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม เพื่อช่วยให้ผู้ชมเข้าใจถึงความสำคัญได้ดีขึ้นว่าตัวเลขเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร และความเกี่ยวข้องกับงานของพวกเขาอย่างไร

ตัวอย่าง เช่น หากต้องการเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานให้ทีมขาย ก็ไม่ควรแสดงแค่ยอดขายของเดือนนั้นๆ แต่ควรเพิ่มบริบท “เปรียบเทียบ” กับผลการดำเนินงานในอดีต ว่าดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร หรือเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้ว่าห่างจากยอดเป้าหมายเท่าไหร่ จะเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีบริบทสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เพิ่มบริบทให้กับข้อมูล


4. ให้ผู้ชมเลือกสำรวจข้อมูลเองด้วย Drill-down และ Filter
ออกแบบข้อมูลให้มีความ Interactive ตอบสนองกับผู้ใช้ได้ จะเพิ่มการมีส่วนร่วมกับข้อมูล และช่วยให้ค้นพบ Insight ที่เป็นประโยชน์กับแต่ละกลุ่มผู้ชม เช่น การเจาะลึกรายละเอียด (Drill-down) ช่วยให้ผู้ใช้สามารถขยายรายละเอียดของข้อมูลจากระดับที่สูงไปสู่ระดับที่ต่ำลงได้ เช่น จากภาพรวมของยอดขายทั้งหมด ไปสู่ยอดขายรายผลิตภัณฑ์ รายลูกค้า หรือรายสาขา และการใช้ตัวกรอง (Filtering) ให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูเฉพาะข้อมูลที่ต้องการ โดยการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น ช่วงเวลา ช่วงราคา ประเภทผลิตภัณฑ์ หรือภูมิภาค

Data Drill-down และ Filter


5. นำเสนอข้อมูลให้สอดคล้องและส่งเสริม UX ที่ดี
จัดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับมาตรฐานการออกแบบของแบรนด์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอ่านและประสบการณ์ของผู้ใช้ แม้ว่าคนเราจะไม่ควรตัดสินกันเพียงแค่จากภาพลักษณ์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสวยงาม เป็นระเบียบของภาพกราฟ ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ชม จึงควรนำเสนอข้อมูลที่สอดคล้องกับแบรนด์ ไปจนถึงการจัดรูปแบบตามมาตรฐานตามภูมิภาคของผู้ชม

โดยตัวอย่างสิ่งที่ต้องระวัง:
– ธีมสี
– แบบอักษร
– โลโก้
– รูปแบบวันที่
– การใช้ตัวคั่นของตัวเลข
– ระบบหน่วยเมตริก

นำเสนอข้อมูลสอดคล้องกับ UX


6. เลือกใช้ BI Tool เพื่อให้แชร์แดชบอร์ดข้อมูลอย่างมืออาชีพ
เมื่อต้องการนำเสนอข้อมูลให้กับผู้บริหาร เพื่อนร่วมงาน และพาร์ทเนอร์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ จึงควรเลือกใช้เครื่องมือ Business Intelligence มืออาชีพสร้าง Dashboard ที่สามารถดูข้อมูล Insight หรือ Export ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อส่งต่อได้ โดย BI Tools แนะนำ Microsoft Power BI, Tableau และ Google Data Studio

เครื่องมือ Business Intelligence

ทำไม Data Storytelling ถึงสำคัญกับ Data Analyst ?

✨สร้างความเข้าใจข้อมูลที่ลึกซึ้งมากขึ้น
✨ป้องกันความสับสน
✨ทำให้เห็นความเชื่อมโยง
✨กระตุ้นอารมณ์ทำให้จดจำ
✨กระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจ


มาเรียนรู้วิธีการสื่อสารและเล่าเรื่องผ่านข้อมูล (Data Storytelling) อย่างมีประสิทธิภาพ กับผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตัวจริง เตรียมพร้อมทักษะให้ครบด้านสู่การเป็น Data Analyst ระดับมืออาชีพใน “Data Ready Bootcamp” คอร์สเรียน Data Analytics สุดเข้มข้นจาก True Digital Academy ที่สอนให้คุณเข้าใจตั้งแต่พื้นฐานการวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ Excel, MS Power BI และภาษาโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล SQL และ Python
ไปจนถึงการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ และเรื่องเล่าข้อมูลที่น่าสนใจ

ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน ก็เรียนได้ 📌สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเรียนได้ที่นี่ : https://www.truedigitalacademy.com/course/data-ready-bootcamp