6 ขั้นตอนสร้างแอปแบบไม่ง้อโค้ดด้วย Google AppSheet
6 ขั้นตอนสร้างแอปแบบไม่ง้อโค้ดด้วย Google AppSheet
Tech
4 Min
09 May 2023
Share
Table of contents
ในฐานะผู้ประกอบการ หรือคนทำงาน สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาและงบประมาณที่ไม่จำเป็น ซึ่งการใช้ “เทคโนโลยี” และการใช้ “แอป” สามารถช่วยเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน แต่ก่อนอื่นเรามาเริ่มเรียนรู้ขั้นตอนแบบพื้นฐานกันก่อนดีกว่า ว่าการจะสร้างแอปด้วย Appsheet ต้องเริ่มจากอะไรบ้าง!
6 ขั้นตอน เริ่มสร้างแอปด้วย Google AppSheet
1.กำหนดองค์ประกอบของแอป (Define your Entities)
เรื่องแรกที่ต้องรู้เลยคือ AppSheet เป็นเรื่องของการใช้ข้อมูล! โดยการมองข้อมูลในเชิง ชิ้นของข้อมูล (Entities) และ รายละเอียดปลีกย่อย (Properties) ดังนั้นเราจะต้องเริ่มจากการคิดว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้างที่จะต้องอยู่ในแอปตัวอย่างเช่น: หากจะสร้างแอปที่เอาไว้ติดตามการทำงานของพนักงานในแต่ละโปรเจคให้ลูกค้าแต่ละเจ้า จะพบว่ามี 4 Entities ได้แก่ พนักงาน, โปรเจค, งาน, ลูกค้า โดยที่ในแต่ละ Entities ก็จะมี Properties ย่อยลงไปอีก เช่น ใน “Entities พนักงาน” จะมี Properties เป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งสามารถมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ Entities อื่นๆ ได้ด้วย
2.สร้างสเปรดชีต (Build your spreadsheet)
AppSheet ทำมาเพื่อรองรับ Google Sheet, Microsoft Excel และ Smartsheet ดังนั้นการเชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับ AppSheet ควรใช้หนึ่งในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ทุก Entities ที่กำหนด (โปรเจค, งาน, พนักงาน, ลูกค้า) ควรมี Worksheet ของตนเองภายในสเปรดชีต โดยให้ Properties ต่างๆ เป็นส่วนหัวของ Column ตามตัวอย่างด้านล่าง
3.ปลั๊กอินสเปรดชีท (Plug in your spreadsheet)
หลังจากมีชุดข้อมูลที่ต้องใช้ครบแล้ว หากต้องการนำข้อมูลไปใช้จริงในแอปของคุณ บน Appsheet ให้ไปที่ “Data” จากนั้น คลิก + ที่ส่วนหัวบนสุดของแผงข้อมูล จากนั้นค้นหาและเลือกข้อมูลที่คุณต้องการใช้
4.ออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (Define the user experience)
แน่นอนว่าจุดประสงค์ของการสร้างแอปขึ้นมา เพื่อให้การดูและจััดการกับข้อมูลเหล่านี้ง่ายขึ้น ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการแก้และติดตามข้อมูลทุกอย่างแบบ Manual บนสเปรดชีค ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงสิ่งที่ผู้ใช้จะเห็น โดยคลิกเมนู Views บน Appsheet เพื่อข้อมูลที่จะแสดง และรูปแบบการแสดงผล อาทิ ปฏิทิน (calendar), เดค (deck), ตาราง (table), แกลเลอรี (gallery), รายละเอียด (detail), แผนที่ (map), ชาร์ต (chart) แดชบอร์ด (dashboard) หรือฟอร์ม (form) สำหรับให้ผู้ใช้งานแอปกรอกข้อมูลกลับเข้ามาในแอป
5.ปรับแต่งการทำงานของแอป (Refine the app behavior)
การจัดการพฤติกรรมหรือรูปแบบการทำงานของแอปใน AppSheet มีอยู่ 4 รูปแบบหลักๆ ได้แก่
1.Static configuration — เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด คำว่า คงที่ (Static) หมายความผู้ใช้ทุกคนจะเห็นการกำหนดค่า (Configurations) ในแอปแบบเดียวเหมือนกันทุกคน นอกจากนี้ยังมีตัวเลือกการกำหนดค่าแบบคงที่ต่างๆ ที่ควบคุมว่าแอปควรทำงานแบบออฟไลน์หรือไม่ และจะซิงค์ข้อมูลระหว่างแอปกับข้อมูลบนสเปรดชีตบ่อยเพียงใด
2.Dynamic configuration — มีรูปแบบการทำงานที่ซับซ้อนขึ้นมา สามารถระบุพฤติกรรมที่แตกต่างและเหมาะสมสำหรับผู้ใช้ที่แตกต่างกันได้
3.Actions — คือการกำหนดว่าให้ปุ่มไหนทำงานอย่างไร เมื่อกดปุ่มแล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ไม่ว่าจะเป็นปุ่มพื่อเข้าสู่เมนูฟีเจอร์ต่างๆ แก้ไขฟอร์ม เพิ่มข้อมูลแถวใหม่ หรือกดเพื่อโทรออก
4.Automation — ระบบอัตโนมัติเป็นรูปแบบการทำงานของแอปที่ซับซ้อนที่สุด แต่ก็ทรงพลังที่สุดด้วยเช่นกัน โดยปกติแอปจะทำงานก็ต่อเมื่อผู้ใช้กระตุ้น (เช่นกดปุ่ม หรือกรอกฟอร์ม) แต่การทำงานอัตโนมัติ คือการกำหนดให้แอปทำงานตามเวลา หรือเมื่อมีเหตุการณ์เฉพาะเกิดขึ้น (เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อมูล) ตัวอย่างเช่น ส่ง Push Notification เข้าโทรศัพท์เมื่อรถขนสินค้าใกล้มาถึง โดยจับจากข้อมูล GPS ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือส่งอีเมลสรุปรายละเอียดการทำงานให้ผู้จัดการ เมื่อพนักงานทำงานเสร็จ
6.รีวิวความปลอดภัยของแอป (Review app security)
เมื่อสร้างแอปเสร็จ คุณควรลองแชร์แอป เพื่อทดลองกับผู้ใช้จำนวนหนึ่ง ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้รับ Feedback และในขั้นตอนนี้ สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของแอปด้วย AppSheet มีฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยมากมายที่ให้การควบคุมการเข้าถึงที่ความละเอียดระดับต่างๆ เช่น กำหนดว่าตำแหน่งหน้าที่และระดับการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้แต่ละประเภทได้
ในท้ายที่สุดเมื่อทำการสร้างแอปตาม 6 ขั้นตอนดังกล่าวแล้ว อย่าลืมว่าหัวใจสำคัญของการสร้างแอปคือ “การทำซ้ำ (Iteration)” เพราะไม่มีใครออกแบบแอปได้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ครั้งแรก โดยสามารถทำการแก้ไขปรับปรุงแอปได้ง่ายบน AppSheet ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขแบบให้แสดงผลต่อผู้ใช้เลยทันที หรือว่าจะแก้ไขหลายๆอย่าง และค่อย Launch ในเวอร์ชันถัดไปเหมือนการพัฒนาแอปแบบมืออาชีพ
หากใครอ่านถึงตรงนี้แล้วเริ่มสนใจ อยากเรียนรู้วิธีการสร้างแอป ด้วย Appsheet ตั้งแต่เริ่มต้น ขอแนะนำ “DIY: My First App With ‘AppSheet’” คอร์สเรียนเวิร์คชอปจาก True Digital Academy เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ด้านการเขียนโปรแกรม และต้องการเรียนรู้วิธีการสร้างแอปเพื่อใช้ในการทำงาน เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning), จัดทำเอกสาร, บริหารจัดการสต็อกสินค้า, ติดตามสถานะการทำงาน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรของตนเอง
📌สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่:: www.truedigitalacademy.com/course/diy-my-first-app-with-appsheet
Source: support.google.com
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทางWebsite – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV
YouTube – https://bit.ly/3is5lCx