10 วิธีออกแบบ เปลี่ยน Dashboard “แป้ก” ให้ “ปัง”
10 วิธีออกแบบ เปลี่ยน Dashboard “แป้ก” ให้ “ปัง”
Data
4 Min
09 May 2024
Share
Table of contents
การออกแบบ Dashboard ที่ดีนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงผู้ใช้งาน และทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ ในบทความนี้ เราขอแนะนำ 10 วิธีการออกแบบ Dashboard ที่เริ่มจากการแก้ไขการออกแบบที่ผิดพลาดให้เป็นการออกแบบที่เยี่ยมยอด
10 วิธีออกแบบ Dashboard ให้ “ปัง”
1. ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการออกแบบ Dashboard
Dashboard ที่มีคุณภาพจะให้ข้อมูลที่จำเป็น และแสดงสิ่งสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อเป้าหมายของงาน หรือจุดประสงค์ทางธุรกิจ เพื่อจะนำไปพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขการทำงานต่อไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องตั้งเป้าหมายของ Dashboard ก่อนว่าเราตั้งใจจะรายงานเกี่ยวกับสิ่งใด เพื่ออะไร จะยิ่งทำให้การออกแบบง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับการออกแบบโดยไม่คำนึงถึงจุดประสงค์ของข้อมูล2. คำนึงถึงผู้ใช้ Dashboard
นอกจากจะต้องคำนึงถึงเป้าหมายแล้วเรายังต้องคำนึงถึงผู้ที่ใช้ Dashboard ด้วย หากสนใจแต่สิ่งที่จะรายงานออกไป แต่ไม่สนใจผู้รับสาร ก็คงไม่อาจบรรลุจุดประสงค์ของ Dashboard ได้ โดยความต้องการรับทราบข้อมูลของผู้ใช้ก็แตกต่างกันไป การออกแบบ Dashboard จึงเน้นรายละเอียดหรือรูปแบบต่างกันไปสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน3. ไม่ตกแต่ง Dashboard จนรก
จริงอยู่ที่การใช้การตกแต่งหรือจัดรูปแบบทันสมัย มีสีสัน จะช่วยดึงดูดสายตา แต่ถ้ามีลูกเล่นมากเกินไป ใช้กราฟหรือชาร์ตที่แปลกตา ก็อาจดึงความสนใจไปจากเนื้อหาและจุดสำคัญของ Dashboard ได้ จึงควรตกแต่งแต่พองามและเลือกการตกแต่งที่เข้ากับเนื้อหา4. ปล่อยให้มีพื้นที่ว่างบ้าง
ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว ในการตกแต่งที่ดี เราจำเป็นต้องใช้พื้นที่ว่างด้วย การปล่อยให้มีพื้นที่ว่าง และเว้นขอบในหน้า Dashboard บ้างจะช่วยให้อ่านข้อมูลได้สบายตามากขึ้น หลายคนมักจะคิดว่าต้องทำให้ Dashboard เหลือพื้นที่ว่างให้น้อยที่สุด แต่ยิ่งใช้การตกแต่งมากเกินจำเป็น อาจทำให้ผู้ใช้หลุดโฟกัสในส่วนที่สำคัญไปได้ รวมทั้งชวนให้ไม่รู้สึกอยากอ่าน5. จัดหัวข้อให้เกี่ยวข้องกัน
ภายใน Dashboard ควรจัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของประเด็นเนื้อหา ความสำคัญ หรือตัวชี้วัดการรายงาน เพื่อจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและไม่สับสนประเด็นที่ต้องการจะสื่อ เพราะแม้ว่าจะเป็นข้อมูลที่สำคัญเหมือนกัน แต่การจัดวางที่ไม่ดี อาจก่อให้เกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อนได้6. ไม่ยัดข้อมูลใส่มากเกินไป
จำนวนข้อมูลสรุปที่นำมาแสดงผลบน Dashboard ควรอยู่ระหว่าง 5-9 ประเด็น ถ้าหากมีหัวข้อยิบย่อยมากกว่านี้ อาจส่งผลให้การรับข้อมูลตกหล่นข หรือการเลือกรับข้อมูลจากอคติของผู้ใช้ เนื่องจากเมื่อมีหัวข้อหรือประเด็นมากเกินไป ทำให้ยากต่อการจัดลำดับความสำคัญและทำให้รู้สึกสับสน แต่หากจำเป็นต้องใช้หัวข้อมากเกินจำนวนที่เหมาะสม ควรสร้าง Dashboard เพิ่มเติมที่เจาะแยกประเด็นเฉพาะไปเลย7. ใช้รูปแบบการแสดงผลที่เหมาะสม
หนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำ Data Visualization คือการเลือกรูปแบบการแสดงผลข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจข้อมูลจำนวนมาก และซับซ้อนได้ง่ายขึ้น เช่น กราฟแท่งใช้ในการเปรียบเทียบหลายๆ ตัวแปร ส่วนกราฟเส้นจะใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง8. เลือกใช้สีที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อหา
การใช้สีที่สดใสในการดึงความสนใจนั้นเป็นอีกวิธีที่มีประโยชน์ แต่ถ้าใช้สีที่ฉูดฉาดเกินไปก็อาจดึงความสนใจไปจากเนื้อหาได้ อีกทั้งการใช้สีที่มีภาพลักษณ์เป็นขั้วตรงข้ามใน Dashboard เดียวกัน เช่น สีแดงมักเป็นตัวแทนด้านลบ สีเขียวมักแสดงถึงด้านบวก อาจทำให้ผู้ใช้ตีความข้อมูลทั่วไปที่เป็นกลางตามสีที่ใช้ ว่าเป็นข้อมูลดีกับข้อมูลแย่ จนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรเลือกสีที่อาจจะก่อให้เกิดการตีความผิดๆ9. จัดเรียงแผนภาพหรือแผนภูมิอย่างเป็นระเบียบ
บนหน้า Dashboard มักจะมีการแสดงผลข้อมูลด้วยการใช้แผนภาพหรือแผนภูมิร่วมด้วย ซึ่งเราจำเป็นต้องจัดแผนภูมิเหล่านี้อย่างเป็นระเบียบและอยู่ติดกับคำอธิบายของแผนภูมินั้นๆ และหากมีจำนวนหลายแผนภูมิ ควรจัดเรียงตามลำดับการให้ข้อมูลหรือลำดับหัวข้อ และใช้หลักการออกแบบด้วย Grid เข้ามาช่วย10. อย่าคิดไปเองว่าผู้ใช้รู้อยู่แล้ว
สุดท้ายนี้ในระหว่างที่ออกแบบ Dashboard เราอาจเผลอคิดในมุมของผู้ที่มีข้อมูลว่าผู้ใช้น่าจะรู้ข้อมูลบางอย่างอยู่แล้ว จึงใส่ข้อมูลหรือคำอธิบายลงไปไม่ครบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการรับสารได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้ใส่ข้อมูลลงไปครบถ้วน เลือกใช้คำที่อ่านเข้าใจง่าย รวมไปถึงการใส่คำอธิบายรูปภาพ คำอธิบายแผนภูมิ
Source: domo.com
True Digital Academy แนะนำคอร์สเรียน VisualPro: Elaborate Insights With Data Brilliance เป็นเวิร์กชอป 2 วัน ที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้าน Data Visualization ผ่านเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่าง Microsoft Power BI เนื้อหาครอบคลุมทั้งความรู้และแนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งด้านหลักการสำคัญ Best Practice และการต่อยอดใช้งานจริงการใช้งาน และการใช้งาน Power BI ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงขั้นสูง พร้อมฝึกใช้ AI Assistant ช่วยทำงาน Sentiment Analysis วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและทำงานด้านการตลาดได้ดียิ่งขึ้น
📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเรียนที่นี่ : https://bit.ly/3UQJKUy