Digital Awareness Checkpoint
Digital Awareness Checkpoint
Online
Digital Awareness Checkpoint
แบบประเมิน Digital Awareness Checkpoint เป็นแบบประเมินความตระหนักรู้ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อประเมินความตระหนักรู้ของบุคคลเกี่ยวกับทักษะ เครื่องมือ และเทรนด์เกี่ยวกับดิจิทัล ที่เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันองค์กรให้สามารถทำ Digital Transformation ได้สำเร็จ
รายละเอียด
รูปแบบข้อสอบ:
Multiple Choice 70 ข้อ
เกณฑ์การผ่าน:
ไม่มี (ใช้เพื่อประเมินความตระหนักรู้)
ระยะเวลา:
120 นาที
ภาษาของแบบทดสอบ:
ภาษาไทย
จุดเด่นของแบบทดสอบ
ทักษะและสมรรถนะที่ประเมิน
แบบประเมิน Digital Awareness Checkpoint วัดประเมินผู้ตอบในความตระหนักรู้ 7 มิติ ได้แก่
เหมาะสำหรับ
บุคคลทั่วไป
ที่มีความสนใจในการวัดประเมินความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลของตนเอง รวมถึงตรวจสอบความพร้อมของตนเองในการทำงานในโลกยุคดิจิทัล
พนักงานในองค์กรทุกระดับ ทุกอุตสาหกรรม
ที่ต้องการวัดประเมินความพร้อมในการทำงานในโลกยุคดิจิทัล
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และฝ่ายกลยุทธ์ขององค์กร
ที่ต้องการหาแบบประเมินในการวัดความพร้อมของพนักงานในการทำงานในโลกยุคดิจิทัล เพื่อวางแผนการทำ Digital Transformation ในองค์กร หรือใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานในองค์กร
รูปแบบผลการทดสอบ
ผลการทดสอบ
1. Radar Chart แสดงระดับความตระหนักรู้ด้านดิจิทัล 7 ด้าน เปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยของผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด
2. ระดับคะแนนของความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลทั้ง 7 ด้าน คะแนนเต็มด้านละ 10 คะแนน
การแปลผลการทดสอบ
1. ตระหนักรู้สูง: คะแนน 8-10 ในแต่ละมิติ
2. ตระหนักรู้ปานกลาง: คะแนน 5-7 ในแต่ละมิติ
3. ยังไม่ตระหนักรู้: คะแนน 0-4 ในแต่ละมิติ
การนำผลคะแนนไปปรับใช้
สำหรับบุคคล:
สามารถนำไปใช้เพื่อประเมินความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลของผู้ตอบแบบประเมิน เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการทำงานในโลกยุคดิจิทัล ผลการประเมินจะสะท้อนให้เห็นถึงจุดที่ผู้ตอบแบบประเมินมีความตระหนักรู้สูง ตระหนักรู้ปานกลาง และยังไม่ตระหนักรู้ เพื่อให้ผู้ตอบแบบประเมินสามารถวางแผนการพัฒนาความรู้ความเข้าใจในทักษะที่เกี่ยวกับดิจิทัลเพิ่มเติม เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานในโลกยุคดิจิทัล
**ผลประเมินไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงทักษะความสามารถในการลงมือปฏิบัติงานในมิติที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นวัดประเมินความตระหนักรู้เป็นหลัก**
สำหรับองค์กร:
1. การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร: สำหรับองค์กรที่มีทิศทางหรือกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปทางด้านดิจิทัล หรือวางแผนการทำ Digital Transformation แบบประเมินความตระหนักรู้นี้ สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการคัดเลือกผู้สมัครที่มีความพร้อมในการทำงานและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
2. การวางแผนการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาองค์กร: การประเมินนี้สามารถวัดระดับความตระหนักรู้ด้านดิจิทัลของพนักงานในองค์กร เปรียบเทียบกับระดับผลประเมินขององค์กรภายนอกเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานมีความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลที่พร้อมสำหรับการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล โดยการระบุระดับความตระหนักรู้ของพนักงาน ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนกลยุทธ์ด้านบุคคลในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล รวมถึงสามารถใช้ในการวางแผนการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นเพิ่มทักษะความสามารถของพนักงาน ข้อมูลเชิงลึกจากการประเมินช่วยให้องค์กรสามารถสร้างวางแผนการพัฒนาที่ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
หมายเหตุ การชำระเงินแต่ละครั้งมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบ 1 ครั้ง ผู้ที่ประสงค์จะทำแบบทดสอบซ้ำ กรุณาแจ้งความประสงค์ผ่านแบบฟอร์มนี้หลังจากชำระเงิน https://forms.gle/Ydu3r6zrRpc22w9E6