อ่านงานวิจัย สายงาน UX เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

อ่านงานวิจัย สายงาน UX เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

4 นาที

03 มี.ค. 2023

แชร์

งานด้าน UX Design ยังเป็นหนึ่งอาชีพที่ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่อง และยังมีการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญว่าเป็นอาชีพที่ยังสามารถเติบโตและเป็นที่ต้องการของตลาดต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม อาชีพเกี่ยวกับ UX ก็มีความเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน บทความนี้จะมาบอกเล่าถึงอาชีพ UX ในปัจจุบัน และตัวคุณเหมาะกับอาชีพ UX สายไหน รวมถึงคำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากก้าวเข้าสู่สายอาชีพ

โดยอ้างอิงจากการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพ UX ของบริษัทวิจัยระดับโลก Nielsen Norman Group ที่รวบรวมจากกลุ่มผู้ทำงานด้าน UX กว่า 700 คนทั่วโลก ในปี 2019 ซึ่งเป็นผลการวิจัยครั้งที่ 2 หลังจากที่เคยทำวิจัยไปครั้งแรกเมื่อปี 2013 โดยผลวิจัย ชี้ให้เห็นว่า คนทำงานสาย UX ส่วนใหญ่ยังคงพอใจใจกับอาชีพของตนเอง โดยความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ที่ 5.4 เต็ม 7 โดยสาเหตุหลัก ๆ คือ
  • พอใจกับกระบวนการทำงาน ได้เห็น Impact ของงานที่ทำต่อสังคม
  • ได้รับการยอมรับ และเป็นอาชีพที่มีโอกาสในการเติบโตสูง

โดยถึงแม้ว่า Background ด้านประสบการณ์หรือการศึกษาของผู้ทำงาน UX นั้นมีความหลากหลาย แต่หนึ่งสิ่งที่เหมือนกันคือ ส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งผลลัพธ์นี้ได้ปรากฏให้เห็นในการศึกษาตั้งแต่ครั้งแรกด้วยเช่นกัน

แน่นอนว่า Hard Skill หรือทักษะในด้าน UX เป็นสิ่งจำเป็น แต่ผู้จ้างงานรวมถึงคนที่ทำงานด้าน UX เองมองว่า Soft Skill เป็นหัวใจหลักในการทำงานสายนี้ Soft Skill ที่สำคัญได้แก่
  • ทักษะการสื่อสาร (Communication)
  • การแก้ปัญหา (Problem-Solving)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การนำเสนอ (Presentation)
  • การใส่ใจในรายละเอียด (Detail-Oriented)


แล้วงาน UX ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ?

ผลจากการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของอาชีพในสาย UX ซึ่งก็คือ การเกิดสายงานที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น อย่าง นักวิจัย UX ( UX Researcher) และ นักออกแบบ UX (UX Designer) เป็นสายงานย่อยที่อยู่ในกลุ่ม UX ซึ่งมีทักษะและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป


UX Designer Role

UX Designer ส่วนมากจะมีความรับผิดชอบที่หลากหลาย ตั้งแต่ออกแบบ prototype ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการทดสอบเชิงคุณภาพ UX designer มักจะจบการศึกษาจากสาชาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Tools ที่เกี่ยวข้องกับ Prototype และความสามารถในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (Data Visualization) นอกจากนี้หลายคนมีความสามารถของ front-end–coding skills ด้วยเช่นกัน

งาน UX Designers เป็นงานในฝันสำหรับผู้มีความคิดสร้างสรรค์ที่รักในการสร้างนวัตกรรมและการทำให้ไอเดียต่างๆได้เกิดขึ้นจริงในมือผู้ใช้งาน เป็นการทำงานร่วมกันของความคิดสร้างสรรค์ (creativity) และการสร้างนวัตกรรม (invention)

หน้าที่:
  • การขึ้นต้นแบบและโครงร่าง (Prototyping and Wireframing)
  • สร้างการเดินทางของผู้ใช้งาน (User Journeys)
  • เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบระบบและสไตล์ (Design Systems and Style Guides)
  • ออกแบบภาพ (Visual Design)

พื้นฐานการศึกษา:
มักจะจบการศึกษาด้านการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบสื่อ การออกแบบสินค้า หรือการออกแบบเพื่ออุตสาหกรรม รวมไปถึงการสื่อสารและศิลปกรรมศาสตร์

Top Skills สำหรับ UX Designer:
  • การสร้างต้นแบบ (Prototyping)
  • การออกแบบภาพ (Visual Design)
  • การวิจัย (Research)
  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)

UX Researcher Role

ตำแหน่งนักวิจัย (UX Researcher) นั้นดูเหมือนจะมีขอบข่ายความรับผิดชอบที่น้อยกว่า UX designer ที่มีเนื้องานหลากหลายตั้งแต่การทำโครงสร้างข้อมูล (Information Architecture) การวางกลยุทธ์ในการสื่อสารรวมถึงงานออกแบบต่างๆ UX Researcher นั้นมักจะต้องมีทักษะการสื่อสารที่ดีไม่ว่าจะในแง่การเขียนหรือการพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking Skills) ซึ่งทักษะทั้งสองนี้จำเป็นต่อสายงานนักวิจัย และพวกเขาอาจไม่จำเป็นต้องมีทักษะในแง่ Coding เช่น Front-end coding HTML/ CSS มากนัก

งาน UX Researcher เหมาะสำหรับคนที่ชอบในการทำความเข้าใจปัญหา เรียนรู้ความแตกต่างของผู้ใช้งานแต่ละคนที่เรากำลังสร้างสินค้าหรือบริการเพิ่อพวกเขา และนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาช่วยนำทางให้นักออกแบบและเจ้าของสินค้าต่อไป

หน้าที่โดยทั่วไป:
  • การทดสอบการใช้งานเชิงคุณภาพ (Qualitative Usability Tests)
  • การสัมภาษณ์ (Interviews)
  • การลงพื้นที่ เก็บข้อมูล (Field Studies)
  • การทำแบบสอบถาม (Surveys)
พื้นฐานการศึกษา:
มักจบการศึกษาด้านสัมคมศาสตร์ (Social Sciences) อาทิ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ หรือมานุษยวิทยา

Top Skills สำหรับ UX Researcher:
  • การวิจัย (Research)
  • การเขียน (Writing)
  • การพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking)
  • การออกแบบภาพ (Visual Design)

แนวทางพาตัวเองก้าวเข้าสู่วงการ UX

จากการศึกษานี้ พบว่ามีหลายคนที่ก้าวเข้าสู่การทำงานในด้าน UX จากพื้นฐานการทำงานด้านอื่นมาก่อน เนื่องจาก UX นั้นเป็นสายงานที่มีการเติบโตสูง ไม่ว่าใครที่มีความสนใจและความสามารถเหมาะสมก็สามารถก้าวเข้ามาในวงการได้ แม้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยหลายคนมีประสบการณ์การทำงานในด้านอื่น แต่พวกเขาเชื่อว่า ความรู้และประสบการณ์เดิมของพวกเขาจะมีประโยชน์ต่อการทำงานด้าน UX และช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วงการ UX นี้ยังสามารถเติบโตได้อีกมากและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก ยังไม่สายที่จะเริ่มก้าวเข้าสู่เส้นทางการทำงานแห่งอนาคต หากอยากเริ่มงานในสายนี้ นอกจากเหนือจากลักษณะนิสัยข้างต้นแล้ว หลักการออกแบบ UX พื้นฐาน หรือ Hard Skill ก็เป็นสิ่งจำเป็น ตั้งแต่การการทำความเข้าใจปัญหา และวิธีการสร้างสรรค์แนวทางการแก้ปัญหา ไปจนถึงการทำ Personas, Information Architecture, การสร้าง User Flows และ การใช้ Wireframes ในการออกแบบ ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้ได้รวบรวมไว้อยู่ในคอร์สเรียน User Experience Design ที่  True Digital Academy

สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียน User Experience Design ได้ที่:: http://bit.ly/3kDsYJB


Source: 
https://www.nngroup.com/articles/ux-career-advice/

————————————————-

สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw 
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V 
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV
YouTube – https://bit.ly/3is5lCx
แชร์