สรุป session “บรีฟ Here ไม่เพลียจิต ชีวิตเราทำได้จริงๆ เหรอคะพี่ตา?”
สรุป session “บรีฟ Here ไม่เพลียจิต ชีวิตเราทำได้จริงๆ เหรอคะพี่ตา?”
Business
2 นาที
08 พ.ย. 2024
แชร์
แชร์
Table of contents
สรุปแบบเน้นๆ 5 ข้อ session “บรีฟ Here ไม่เพลียจิต ชีวิตเราทำได้จริงๆ เหรอคะพี่ตา?” ลลิภัสร์ ภัสสรพนธ์ทวี Head of Content of Briefhere ถิรเจตน์ เฟื่องทำลูน UX/UI designer of Briefhere งาน Work ไร้ Balance Expo 2024 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยวิทยากรทั้งสองนำเสนอรูปแบบปัญหาของการบรีฟงานที่พบบ่อย พร้อมแนวทางการแก้ไขด้วยการผสมผสานทักษะการสื่อสารและ Empathy ในที่ทำงาน ซึ่งช่วยให้เข้าใจข้อจำกัดและความคาดหวังของแต่ละฝ่าย จนนำไปสู่ผลลัพธ์งานที่ตรงใจและบรรยากาศการทำงานที่ดีขึ้น
สรุปแบบเน้นๆ session “บรีฟ Here ไม่เพลียจิต ชีวิตเราทำได้จริงๆ เหรอคะพี่ตา?”
Brief Here: เมื่อชีวิตออฟฟิศไม่เพลียจิต1. Brief Here จุดเริ่มต้น: Brief Here คือการสร้างชุมชนคนทำงานออฟฟิศ ด้วยการนำเสนอเรื่องราวชีวิตการทำงานผ่านมุมมองเสียดสีและอารมณ์ขัน สะท้อนความเป็นจริงของปัญหาในชีวิตประจำวัน
.
2. พื้นที่แลกเปลี่ยนปัญหาการทำงาน: ตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี Brief Here ไม่เพียงแค่เป็นแหล่งความรู้เรื่อง “การบรีฟงานที่ดี” แต่ยังเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้คนทำงานได้แชร์ประสบการณ์ และจุดประกายให้เกิดการตั้งคำถามกับวัฒนธรรม “การทำงานแบบครอบครัว” ที่อาจไม่ตอบโจทย์โลกการทำงานสมัยใหม่
.
3. ปัญหาการบรีฟที่พบบ่อย: รูปแบบปัญหาของการบรีฟงานที่พบได้บ่อย จากการรวมรวมของทางเพจ ได้แก่
-บรีฟแบบไม่มีบรีฟ: เมื่อหัวหน้าหรือลูกค้าโยนความรับผิดชอบให้ vendor หรือทีมงานคิดไปก่อน โดยไม่ให้ทิศทางที่ชัดเจน แล้วค่อยมา “เก็บงาน” ทีหลัง ทำให้เสียเวลาและทรัพยากรในการแก้งานซ้ำไปซ้ำมา
-บรีฟงานด่วน: สถานการณ์คุ้นเคยที่มาพร้อมประโยค “ด่วนมาก ขอภายในวันนี้” ทั้งที่ยังไม่มีบรีฟหรือข้อมูลครบถ้วน ส่งผลให้ทีมงานต้องทำงานแข่งกับเวลาและอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
-บรีฟป่วยลูกค้าป่วน: เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและ vendor ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ นำไปสู่การไม่รับฟังความคิดเห็น ไม่เคารพความเชี่ยวชาญซึ่งกันและกัน
-บรีฟงานกราฟิกและการสื่อสาร: ความท้าทายในการสื่อสารเรื่องที่เป็นนามธรรม ตั้งแต่การเลือกพรีเซนเตอร์ การวางกลยุทธ์การสื่อสาร ไปจนถึงการบรีฟเรื่องสีและองค์ประกอบงานกราฟิก ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างผู้บรีฟและผู้รับบรีฟ
.
4. Empathy ในที่ทำงาน: ปฎิเสธไม่ได้ว่า “การทำงานกับคน” ยากขึ้นทุกวัน นอกจาก EQ แล้ว “Empathy” หรือความเข้าอกเข้าใจ กลายเป็นทักษะสำคัญที่ขาดไม่ได้ในที่ทำงานยุคใหม่
5. ตัวอย่าง Empathy แบบผิดๆ VS Empathy ที่แท้จริงในที่ทำงาน: การมี Empathy ที่แท้จริงไม่ใช่แค่การเข้าอกเข้าใจแต่ต้องนำไปสู่การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
❌ พฤติกรรมที่ไม่ใช่ Empathy:
- พูดถึง work-life balance แต่ไม่จัดการงานที่รับปากไว้ให้เสร็จ ทำให้กระทบต่อเพื่อนร่วมทีม
- ด่วนสรุปว่าคนอื่นขาด empathy โดยไม่พูดคุยทำความเข้าใจ แล้วรายงานต่อหัวหน้าหรือ HR ทันที
- เก็บความไม่พอใจไว้เงียบๆ คิดเอาเอง แต่ไม่สื่อสารให้อีกฝ่ายรับรู้และเข้าใจ
- หลีกเลี่ยงการให้และรับ feedback ที่ตรงไปตรงมา ทำให้ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข
- ปลอบใจแบบผิวเผินว่า “ไม่เป็นไร ทำดีที่สุดแล้ว” แทนที่จะช่วยหาทางพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
- มุ่งเน้นผลลัพธ์มากกว่าจำนวนเวลาที่ใช้ทำงาน โดยไม่จ้องจับผิด
- เคารพสิทธิส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน เช่น การลาหยุด
- เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้อื่น ไม่ด่วนสรุปหรือตีความจากการกระทำเพียงอย่างเดียว
- สื่อสารตรงไปตรงมา พร้อมรับฟังและเปิดใจพูดคุยถึงปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
- รักษาสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว เข้าใจว่าชีวิตนอกงานสำคัญต่อสุขภาพจิตและประสิทธิภาพในการทำงาน
- ในบางอุตสาหกรรมที่มีความกดดันสูง เช่น เอเจนซี่ แฟชั่นโชว์ หรือโปรดักชั่น ซึ่งการทำงานทำให้ใจดีต่อกันได้ยาก แต่ยังควรสื่อสารเพื่อปรับตัวเข้าหากันได้เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน