POPCAREER: Entrepreneur VS Product Owner เป็น “เจ้าของ” เหมือนกัน แต่ต่างกันอย่างไร?
POPCAREER: Entrepreneur VS Product Owner เป็น “เจ้าของ” เหมือนกัน แต่ต่างกันอย่างไร?
Business
3 นาที
01 ต.ค. 2021
แชร์
Table of contents
คุณเคยมีความฝันอยากเป็น “เจ้าของ” หรือ “ผู้ดูแล” อะไรสักอย่างไหม?
หนึ่งในความฝันของใครหลายๆ น่าจะอยากเป็นเจ้าของแบรนด์ หรือธุรกิจของตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าในวงการดิจิทัล ก็มีอาชีพหนึ่งอาชีพที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น เจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือ Product Owner อยู่ด้วย แต่แล้วอาชีพนี้เหมือนหรือต่างกับการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ในฐานะผู้ประกอบการอย่างไร…
วันนี้เรานี้จะมาช่วยแถลงไขให้ทุกคนได้กระจ่างกัน!
Entrepreneur หรือ ผู้ประกอบการ ถ้าพูดแบบง่ายๆ ก็คือเป็น “เถ้าแก่” ไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร ลงทุนทำกิจการขึ้นมาเอง มีรายได้จากผลประกอบการของกิจการตนเองโดยตรง สภาพของธุรกิจมีผลโดยตรงกับรายได้ของตนเอง ซึ่งหน้าที่หลักแน่นอนว่า คือ “การบริหารจัดการธุรกิจ” อย่างเป็นแบบแผน หรือคิดค้น นำเสนออะไรใหม่ ๆ ในวงการธุรกิจ ที่มีแนวโน้มว่าจะสร้างผลกำไรได้ดีในอนาคต
ทักษะสำคัญที่ต้องมี:- มีวินัยและความรับผิดชอบ เนื่องจากลักษณะงานมีความเป็นอิสระสูงมาก หากไม่มีวินัยในตนเองก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ
- Passion หรือความหลงใหล ซึ่งผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จหลายคนพูดถึงและใช้ในการทำธุรกิจ เพราะเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ทุกๆ วันมีแรงขึ้นมาฮึดสู้ต่อไปได้
- ทักษะด้านธุรกิจ โดยเฉพาะการทำธุรกิจในยุคดิจิทัลซึ่งมีการแข่งขันสูง และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จึงจำเป็นต้องรู้จักการใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ เช่น การใช้ Business Model Canvas การใช้ Data Analytics เป็นต้น
- ทักษะการบริหารคน เมื่อบริษัทเริ่มขยายใหญ่ขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มจำนวนทีมงาน ผู้ประกอบกิจการที่ดีจะต้องรู้จักวิธีบริหารจัดการคน
- ทักษะการสร้างความสัมพันธ์กับคน รู้จักการสร้าง Connection ในแบบของตนเอง เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
ข้อดี: มีอิสระสูง มีโอกาสเติบโตได้ไม่จำกัด ได้ใช้ความสามารถในการแก้ปัญหาอยู่เสมอ
ข้อจำกัด-ความท้าทาย: ใช้เงินลงทุนในตอนต้น ต้องอาศัยการวางแผนเริ่มธุรกิจที่ดีและเป็นระบบ
คอร์สแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น Entrepreneur: คอร์สด้าน Business และ Digital Entrepreneurship
ขณะที่ Product Owner (PO) เป็นอีกหนึ่งอาชีพมาแรงในวงการดิจิทัล PO เป็นตำแหน่งงานหนึ่งในบริษัทสตาร์ทอัพ หรือบริษัทที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ดิจิทัล อาทิ เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ดังนั้นในทางปฎิบัติ PO เป็นลูกจ้างรับเงินเดือนจากบริษัทเช่นเดียวกับงานประจำอื่นๆ โดยหน้าที่ของ PO คือการดูแลและพัฒนา “Product” หรือผลิตภัณฑ์ดิจิทัล ตาม Product Roadmap ที่วางไว้ โดยทำงานรับ Requirement มาจากฝั่ง Business และ UX Designer เพื่อนำมาเขียนเป็น User Story ให้ทีม Developer ใช้อ้างอิง
- Sense of Ownership แม้จะไม่ได้เป็นเจ้าของธุรกิจเอง แต่การได้ขึ้นชื่อว่าเป็น PO มักจะต้องรู้สึกกับผลิตภัณฑ์ที่ตนเองดูแล อยากเห็นผลิตภัณฑ์เติบโตและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจริงๆ พร้อมกับความรับผิดชอบหากมีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
- ทักษะด้านการสื่อสาร เป็นอีกทักษะสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นตำแหน่งงานที่ต้องถ่ายทอดความต้องการของฝั่ง Business และ UX ไปให้ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าใจ และต้องรายงานกลับหากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น
- ทักษะด้านดิจิทัล เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของ PO เพราะการทำงานในบริษัทเทคฯ มักมีวิธีคิดและรูปแบบการทำงานแบบดิจิทัลมาก ต่างกับบริษัททั่วๆไป เช่น การทำงานแบบ Agile เน้น Product Management โดยใช้ Digital Tools ต่างๆ
- ทักษะด้านไอที PO ควรเข้าใจศัพท์พื้นฐานและศัพท์เชิงเทคนิคจะช่วยให้การสื่อสารกับ Developer ราบลื่นยิ่งขึ้น
ข้อดี: รายได้แน่นอน สามารถเปลี่ยนบริษัทที่ทำงานได้ ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง
ข้อจำกัด/ความท้าทาย: อาจไม่มีอิสระในการตัดสินใจในงานทั้งหมด มีเพดานของรายได้
คอร์สปูพื้นฐานแนะนำสำหรับคนที่อยากเป็น PO: ทักษะด้าน Product Management IT และ Digital
แม้ว่าในรายละเอียดงานและทักษะของทั้งสองอาชีพมีความแตกต่างกัน แต่เรื่องของตวามรับผิดชอบ และ Sense of Ownership เป็นจุดร่วมที่ทั้งสองอาชีพจำเป็นมี และยังมีจุดร่วมด้านทักษะด้านดิจิทัลซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกิจหรือการบริหารผลิตภัณฑ์ได้ตอบโจทย์ลูกค้าในปัจจุบันมากที่สุด
สำหรับคนที่สนใจการเป็นเจ้าของธุรกิจ True Digital Academy มีคอร์ส “Digital Entrepreneurship Bootcamp” ที่คุณจะได้เรียนรู้ครอบคลุมทุกทักษะที่จำเป็นในการทำธุรกิจยุคดิจิทัล พิเศษ สมัครภายใน 22 ตุลาคมนี้ รับทันทีทุนในการยิง Ads มูลค่า 5,000 บาท! ดูรายละเอียดและสมัครเลย ที่ >> https://bit.ly/2Wv5SZx