วางกลยุทธ์ AI ให้ถูกทางในปี 2025 Gartner: The AI Opportunity Radar

วางกลยุทธ์ AI ให้ถูกทางในปี 2025 Gartner: The AI Opportunity Radar

Business

4 นาที

01 เม.ย. 2025

แชร์

อยากเริ่มใช้ AI ในองค์กรเหมือนคนอื่น แต่ตอบคำถามตัวเองในวันนี้ได้หรือยังว่า “จะใช้ไปเพื่ออะไร” และ “ใช้ทำอะไร”

มากกว่า 60% ของ CIO (Chief Information Officer) ระบุว่า AI เป็นส่วนหนึ่งของแผนการนวัตกรรมขององค์กร แต่มีน้อยกว่าครึ่งที่มั่นใจว่าองค์กรของตนสามารถจัดการความเสี่ยงจาก AI ได้ และเพื่อลดช่องว่างนี้ องค์กรต้องเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในการใช้ AI (AI Ambition) ให้ชัดเจน ก่อนเดินหน้าสู่การนำ AI มาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร หรือแม้แต่ในทีมของเราเอง

AI กำลังเติบโต แต่ทำไมหลายโครงการถึงล้มเหลว?

รายงานจาก Gartner พบว่า ตั้งแต่ปี 2019 – 2024 ประมาณ 17% – 25% ขององค์กร มีแผนจะใช้ AI ภายใน 12 เดือน แต่อัตราการใช้งาน AI จริงเพิ่มขึ้นเพียง 2% – 5% ต่อปีเท่านั้น!

หมายความว่าองค์กรจำนวนมากวางแผนจะใช้ AI แต่สุดท้ายก็ล้มเลิก เพราะ AI ไม่ได้เป็นแค่ “เทรนด์” แต่ต้องมี กลยุทธ์ที่ชัดเจน เพื่อให้ใช้งานได้จริง

ในบทความ “Get AI Ready — What IT Leaders Need to Know and Do” จาก Gartner กล่าวถึง 3 องค์ประกอบสำคัญของแผน AI เพื่อให้ทิศทางการใช้ AI ของเราชัดเจนและไม่หลงทิศทาง โดยการวางแผนที่ดีจะช่วยให้การใช้งาน AI สอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร

1. AI opportunity ambition – โอกาสที่ต้องการจาก AI
กำหนดว่า AI จะช่วยให้องค์กรของคุณเติบโตได้อย่างไร และจะใช้งานอย่างไร ซึ่งกำหนดได้เลยว่าจะใช้แบบภายในหรือภายนอกองค์กร อาทิ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน, สร้างประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้น, ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานประจำวัน หรือใช้เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรม เป็นต้น

2. AI Deployment – วิธีการนำ AI ไปใช้งานจริง
องค์กรต้องเลือกวิธีนำ AI ไปใช้ ซึ่งมีหลายแนวทางให้เลือก โดยแต่ละแบบมีต้นทุนและความซับซ้อนที่ต่างกัน

⭐ใช้โมเดลสำเร็จรูป
= ต้นทุนต่ำ + ใช้งานเร็ว แต่ปรับแต่งได้จำกัด
⭐ใช้โมเดลผสม = ปรับแต่งได้มากขึ้น แต่ยังพึ่งพาข้อมูลภายนอก
⭐พัฒนาเอง = ต้นทุนสูง แต่สามารถสร้างความแตกต่างในตลาดได้

3. AI Risk – ความเสี่ยงที่องค์กรต้องบริหารจัดการ
AI มีความเสี่ยงหลายด้านที่ต้องพิจารณา ก่อนนำมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาด, ความไม่โปร่งใส, ความเสี่ยงด้านทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นต้องกำหนด “ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้” และสร้างสมดุลระหว่าง “ระบบอัตโนมัติ” และ “ความโปร่งใส” ต่อจากนี้ด้วย

Gartner AI Opportunity Radar ตัวช่วยองค์กรกำหนดว่า AI ควรไปในทิศทางไหน

แม้ว่ากว่า 73% ของ CIO วางแผนเพิ่มงบลงทุน AI ในปี 2024 แต่ 67% ของ CFO ยังไม่มั่นใจว่า AI จะสร้างผลลัพธ์ที่คุ้มค่า

การกำหนด AI Opportunity Ambition หมายถึงการตัดสินใจว่า จะใช้ AI ในด้านใด และเพื่ออะไร ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ตามบทบาทของ AI ในองค์กร


Everyday AI – AI ที่ช่วยให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น
✅ ช่วยให้พนักงานทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
✅ ใช้ AI เพื่อ ลดขั้นตอนซ้ำซาก และทำให้งานประจำวันเป็นอัตโนมัติ

Game-Changing AI – AI ที่สร้างนวัตกรรมใหม่ และเปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ
✅ ใช้ AI เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโมเดลธุรกิจใหม่
✅ เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม และสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์

ก่อนลงทุนใน AI องค์กรต้องพิจารณาความคุ้มค่าและระดับความเสี่ยง

โดยสามารถเลือกได้ 3 แนวทางหลัก

1. Defend – ใช้ AI ปรับปรุงงานเฉพาะจุด
แนวทางนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้ AI เพื่อปรับปรุงงานประจำวัน แต่ไม่ต้องการลงทุนสูง
✅ ใช้ AI ในรูปแบบ “Quick Wins” เช่น ระบบอัตโนมัติที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงาน
✅ ลงทุนต่ำ และใช้งานได้ทันที
❌ แต่ไม่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในระยะยาว

ตัวอย่าง:
– ใช้ AI เพื่อปรับปรุงการจัดการเอกสาร
– ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

2. Extend – ขยายศักยภาพองค์กร ด้วย AI
แนวทางนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้ AI สร้างความแตกต่าง และเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ
✅ ลงทุนใน AI ที่ ปรับแต่งให้เข้ากับธุรกิจ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
✅ มีต้นทุนสูงขึ้น แต่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
❌ ต้องใช้เวลาและงบประมาณมากกว่าการใช้ AI สำเร็จรูป

ตัวอย่าง:
– ใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล
– ใช้ AI สร้างแชทบอทที่เรียนรู้พฤติกรรมลูกค้าและตอบสนองได้ดีขึ้น

3. Upend – พลิกโฉมองค์กร ด้วย AI
แนวทางนี้เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการเป็นผู้นำเทคโนโลยี และมีงบประมาณพร้อมสำหรับการลงทุนระยะยาว
✅ ลงทุนใน AI เพื่อสร้างสิ่งใหม่ เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือโมเดลธุรกิจที่แตกต่างจากตลาด
✅ มีศักยภาพในการ เปลี่ยนอุตสาหกรรม และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล
❌ แต่มี ความเสี่ยงสูง ต้นทุนสูง และต้องใช้เวลานาน

ตัวอย่าง:
– พัฒนา AI ที่สามารถออกแบบแฟชั่นอัตโนมัติ
– สร้าง AI ที่ช่วยให้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติได้

สรุปแล้วไม่ใช่ทุกโอกาสที่น่าสนใจ จะเป็นโอกาสที่ทำได้จริง องค์กรต้องประเมินทั้ง “โอกาส” และ “ความเป็นไปได้” ควบคู่กัน ดังนั้น “เทคโนโลยีต้องพร้อม + พนักงานต้องพร้อม + ผู้ใช้งานต้องพร้อม”

สุดท้ายทุกองค์กร ทุกธุรกิจก็ต้องมาวางแผนให้ดีว่าเราจะใช้ AI ไปกับอะไร และเราจะต้องเตรียมความพร้อมให้ทีม คนทำงานอย่างไร เพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่าง AI ซึ่งเครื่องมือ Gartner AI Opportunity Radar ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่อาจทำให้คุณตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ได้อย่างละเอียดและรอบคอบมากขึ้น

——
📌 สนใจ Corporate In-House Training ยกระดับทักษะองค์กรด้วย AI-People Enablement Solutions 
ติดต่อ [email protected]
หรือโทร 082-297-9915 (คุณโรส)
——

Sources: https://www.gartner.com/en/information-technology/topics/ai-readiness