สรุป 20 ข้อ “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต”
สรุป 20 ข้อ “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต”
Business
4 นาที
03 พ.ย. 2024
แชร์
แชร์
Table of contents
เนื้อหาที่น่าสนใจจาก session บรรยาย ในหัวข้อ “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต” โดย คุณอาร์ท อภิรัตน์ หวานชะเอม – Head of True X – True Digital Group เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 ตุลาคม ที่ผ่านมาในงาน Job Connect 2024 ที่จัดโดย True Digital Park
สรุป 20 ข้อ จาก session “ปัญหาจะทำให้เธอแข็งแกร่ง โอกาสจะทำให้เติบโต”
1.ไม่ผิดที่พลาด: มีคำกล่าวที่ว่า “อะไรที่ไม่ทำให้เราตาย จะทำให้เราแข็งแรงขึ้น” ก่อนจะไปสู่ความสำเร็จได้ล้วนจำเป็นต้องผ่านความท้าทายมาก่อน ดังนั้นอย่ากลัวพลาดจนไม่กล้าทำอะไร แต่ต้องเรียนรู้ที่จะพลาดอย่างไรแล้วยังลุกขึ้นมาสู้ต่อและอยู่รอดได้มากกว่า
.
2. THE FAILURE LOGIC: If (CxP) < V then do it! อธิบายได้ว่า ความผิดพลาดเกิดขึ้นจาก 2 อย่าง คือ C (ต้นทุนของความผิดพลาด) คูณด้วย P (โอกาสที่จะเกิดขึ้น) ซึ่งถ้า 2 อย่างนี้คูณกันแล้วยังได้น้อยกว่า V (คุณค่าที่เรา/องค์กรได้) เราก็ควรจะลองเสี่ยงลงมือทำดู ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้แต่มีโอกาสเกิดเหตุน้อยมากเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ คนจึงยังเลือกใช้บริการอยู่
.
3. วิธีการที่จะล้มเหลวอย่างมีท่า: ต้อง “ลดโอกาสของความล้มเหลว” โดยใช้ Design thinking ในการทำความเข้าใจว่าลูกค้าหรือองค์กรอยากได้อะไร เข้าใจว่าสกิลที่เรามีสามารถสร้างประโยชน์อะไร มีการทดสอบไอเดีย Prototype ของเราแบบเร็ว ๆ ด้วยต้นทุนไม่สูงมาก
และ “เพิ่มโอกาสของความสำเร็จ” โดยใช้หลักการของ Lean Startup “accept the failure and PIVOT” คือทำอย่างไรให้รู้เร็วว่าไอเดียเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ยอมรับความจริง และสามารถพลิกแพลงได้
.
4. ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้ความล้มเหลว:
Instagram (เดิมชื่อ Burbn)
ในช่วงแรกเริ่ม Burbn เปิดตัวมาพร้อมฟีเจอร์มากมาย แต่หลังจากเปิดให้บริการ ทีมงานพบว่าผู้ใช้สนใจเพียงฟีเจอร์เดียว นั่นคือการแชร์รูปภาพ พวกเขาจึงตัดสินใจปรับโฟกัสใหม่ มุ่งเน้นเฉพาะการแชร์ภาพเพียงอย่างเดียว การตัดสินใจครั้งนี้นำไปสู่ความสำเร็จอย่างท่วมท้น จนสามารถขายกิจการได้ในมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
YouTube (เดิมชื่อ Tune in Hook Up)
เริ่มต้นจากแนวคิดการเป็นเว็บไซต์หาคู่ ที่ให้ผู้ใช้โพสต์วิดีโอแนะนำตัว แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้กลับนิยมโพสต์วิดีโอทั่วไปมากกว่าวิดีโอหาคู่ ทีมผู้ก่อตั้งจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถแชร์วิดีโอได้ทุกรูปแบบ จนพัฒนามาเป็น YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมระดับโลกในปัจจุบัน
.
5. Human Factors: เมื่อนำสมการ Logic ของความล้มเหลวมาพิจารณา และเพิ่มคุณค่าของตัวเราเข้าไปนอกเหนือจากมิติทางธุรกิจ อาทิ ความเชื่อและความหลงใหล (Passion) ซึ่งหมายความว่า แม้จะมีความเสี่ยง แต่หากรู้สึกว่าสิ่งนั้นตรงกับตัวตนของเรา ก็ควรกล้าที่จะลงมือทำ
.
6. ในการสัมภาษณ์งานทั่วไป มักจะเน้นพิจารณาเพียงทักษะและความสามารถ (Skillset) แต่จากนี้ไป เราควรนำเสนอตัวเองให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อ:
– เราเป็นใคร
– เราอยากทำอะไร
– ทำไมเราจึงเป็นคนที่ใช่สำหรับองค์กร และองค์กรใช่สำหรับเรา
.
7. วิธี Minimize Failure: การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาหนึ่งชิ้น ต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ ต้องเป็นสิ่งที่คนต้องการ (Desirable) โดยต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ต้องทำแล้วต้องไม่เจ๊ง (Feasible) โดยทีมต้องมีทักษะและเข้าใจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายต้องทำได้จริง (Practical)
.
8. ทักษะสำคัญในยุค AI: AI เข้ามาคิดแทนได้ ทำให้ What และ How สำคัญน้อยลง คุณค่าของมนูษย์เราจะไปอยู่ที่ความสามารถในการตอบคำถามว่าทำไปทำไม ดังนั้นเราจะต้อง “เก่งเรื่อง Why และ When” ถึงจะได้เก่งและแตกต่างจากคนอื่น
.
9. เป็นคนที่ AI ไม่สามารถแทนได้: ต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีก ทั้งฝั่ง Critical thinking ทักษะในการแก้ปัญหา และฝั่ง Design thinking ทักษะสร้างสรรค์ต้องรู้ว่าทำไมถึงทำสิ่งนี้และทำอย่างไรถึงจะถูกใจคนมากที่สุด
.
10. การสร้าง Higher value: ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบเพียงไอเดียของสินค้าเท่านั้นแต่ยังอยู่ที่การสร้างคุณค่าทางอารมณ์ (Emotional Value) เมื่อเราเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าในคุณค่าในอีกระดับหนึ่งได้โอกาสสำเร็จย่อมสูงขึ้น
.
11. นวัตกรรมต้องยั่งยืน: โลกธุรกิจปัจจุบัน ความยั่งยืน (Sustainability) และการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG มีความสำคัญอย่างยิ่ง คนทำงานยุคใหม่จึงต้องมีทักษะที่ครอบคลุมทั้งการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อสร้างคุณค่าในปัจจุบัน และการคิดเชิงอนาคต (Foresight) ที่มองไปข้างหน้าเพื่อออกแบบและสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในอนาคต
.
12. การใช้ Design thinking โดยไม่มี Foresight: ตัวอย่างเช่น กาแฟแคปซูล แม้จะตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบายให้กับคนแต่สิ่งที่ตามมาคือสร้างขยะเพิ่มขึ้น
.
13. เป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนที่ใช่ด้วย: ในยุคปัจจุบัน การเป็นแค่ “คนเก่ง” อาจไม่เพียงพออีกต่อไป สิ่งสำคัญคือการเป็น “คนที่ใช่” สำหรับองค์กร ซึ่งหมายถึงการค้นพบ “Ikigai” หรือจุดตัดระหว่างสิ่งที่เรารักและ Skill ที่เรามีกับสิ่งที่องค์กรต้องการและยินดีจ่ายให้งานของเรา
.
14. รูปแบบงานในอนาคต: แม้จะใช้ทักษะพื้นฐานเดียวกัน แต่งานจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามมุมมองความคิด (Mindset) ที่แตกต่างกัน ได้แก่ งานปฏิบัติการ (Operation) ที่เน้นการทำงานตามกระบวนการที่ชัดเจน ต้องการความแม่นยำและความสม่ำเสมอ และงานนวัตกรรม (Innovation) ที่เหมาะกับผู้ที่ชอบความท้าทาย กล้าเสี่ยง และต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
.
15. ทักษะสู่การเป็นคนที่ใช่ตลอดไป: การเป็น “คนที่ใช่” ต้องไม่ยึดติดกับความรู้หรือทักษะใดทักษะหนึ่ง แต่ต้องพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ในยุคที่ Generative AI สามารถช่วยตอบคำถาม What และ How เราต้องหันไปพัฒนา Soft Skills โดยเฉพาะการสื่อสาร ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในระยะยาว
.
16. Unemployment ไม่น่ากลัวเท่า Unemployable: สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือการกลายเป็นคนที่ไม่มีใครต้องการจ้าง (Unemployable) เพราะทักษะและความสามารถของเราล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรอีกต่อไป
.
17. Challenge the Status Quo: กล้าที่จะตั้งคำถามกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเดิม สิ่งที่เคยเป็นมาในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นตลอดไป เมื่อสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง เราต้องกลับมาตั้งคำถามกับ Why
.
18. Reframe คิดใหม่ ทำใหม่ได้: ไม่อยากให้เป็น Binary ที่มองทุกอย่างเป็นแค่ ‘ใช่’ กับ ‘ไม่ใช่’
.
19. Shift Perspective มองต่างมุมกับคนอื่น: มองเห็นโอกาส โดยมุมสำคัญคือมุมของลูกค้า
.
20. การพัฒนาทักษะแบบองค์รวม: การทำงานยุคใหม่ไม่ควรยึดติดกับ Critical Thinking จนปิดกั้นการทดลองสิ่งใหม่ แต่ควรผสมผสานทั้ง Human Thinkin Creative Thinking และการค้นหา Ikigai พร้อมทั้งพัฒนาทักษะ People Thinking ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการทำงานปัจจุบัน
.
2. THE FAILURE LOGIC: If (CxP) < V then do it! อธิบายได้ว่า ความผิดพลาดเกิดขึ้นจาก 2 อย่าง คือ C (ต้นทุนของความผิดพลาด) คูณด้วย P (โอกาสที่จะเกิดขึ้น) ซึ่งถ้า 2 อย่างนี้คูณกันแล้วยังได้น้อยกว่า V (คุณค่าที่เรา/องค์กรได้) เราก็ควรจะลองเสี่ยงลงมือทำดู ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุเครื่องบินตกเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้แต่มีโอกาสเกิดเหตุน้อยมากเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับ คนจึงยังเลือกใช้บริการอยู่
.
3. วิธีการที่จะล้มเหลวอย่างมีท่า: ต้อง “ลดโอกาสของความล้มเหลว” โดยใช้ Design thinking ในการทำความเข้าใจว่าลูกค้าหรือองค์กรอยากได้อะไร เข้าใจว่าสกิลที่เรามีสามารถสร้างประโยชน์อะไร มีการทดสอบไอเดีย Prototype ของเราแบบเร็ว ๆ ด้วยต้นทุนไม่สูงมาก
และ “เพิ่มโอกาสของความสำเร็จ” โดยใช้หลักการของ Lean Startup “accept the failure and PIVOT” คือทำอย่างไรให้รู้เร็วว่าไอเดียเวิร์คหรือไม่เวิร์ค ยอมรับความจริง และสามารถพลิกแพลงได้
.
4. ตัวอย่างแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการเรียนรู้ความล้มเหลว:
Instagram (เดิมชื่อ Burbn)
ในช่วงแรกเริ่ม Burbn เปิดตัวมาพร้อมฟีเจอร์มากมาย แต่หลังจากเปิดให้บริการ ทีมงานพบว่าผู้ใช้สนใจเพียงฟีเจอร์เดียว นั่นคือการแชร์รูปภาพ พวกเขาจึงตัดสินใจปรับโฟกัสใหม่ มุ่งเน้นเฉพาะการแชร์ภาพเพียงอย่างเดียว การตัดสินใจครั้งนี้นำไปสู่ความสำเร็จอย่างท่วมท้น จนสามารถขายกิจการได้ในมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
YouTube (เดิมชื่อ Tune in Hook Up)
เริ่มต้นจากแนวคิดการเป็นเว็บไซต์หาคู่ ที่ให้ผู้ใช้โพสต์วิดีโอแนะนำตัว แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้กลับนิยมโพสต์วิดีโอทั่วไปมากกว่าวิดีโอหาคู่ ทีมผู้ก่อตั้งจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เปิดกว้างให้ผู้ใช้สามารถแชร์วิดีโอได้ทุกรูปแบบ จนพัฒนามาเป็น YouTube แพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมระดับโลกในปัจจุบัน
.
5. Human Factors: เมื่อนำสมการ Logic ของความล้มเหลวมาพิจารณา และเพิ่มคุณค่าของตัวเราเข้าไปนอกเหนือจากมิติทางธุรกิจ อาทิ ความเชื่อและความหลงใหล (Passion) ซึ่งหมายความว่า แม้จะมีความเสี่ยง แต่หากรู้สึกว่าสิ่งนั้นตรงกับตัวตนของเรา ก็ควรกล้าที่จะลงมือทำ
.
6. ในการสัมภาษณ์งานทั่วไป มักจะเน้นพิจารณาเพียงทักษะและความสามารถ (Skillset) แต่จากนี้ไป เราควรนำเสนอตัวเองให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อ:
– เราเป็นใคร
– เราอยากทำอะไร
– ทำไมเราจึงเป็นคนที่ใช่สำหรับองค์กร และองค์กรใช่สำหรับเรา
.
7. วิธี Minimize Failure: การสร้างนวัตกรรมขึ้นมาหนึ่งชิ้น ต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ ต้องเป็นสิ่งที่คนต้องการ (Desirable) โดยต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ต้องทำแล้วต้องไม่เจ๊ง (Feasible) โดยทีมต้องมีทักษะและเข้าใจเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายต้องทำได้จริง (Practical)
.
8. ทักษะสำคัญในยุค AI: AI เข้ามาคิดแทนได้ ทำให้ What และ How สำคัญน้อยลง คุณค่าของมนูษย์เราจะไปอยู่ที่ความสามารถในการตอบคำถามว่าทำไปทำไม ดังนั้นเราจะต้อง “เก่งเรื่อง Why และ When” ถึงจะได้เก่งและแตกต่างจากคนอื่น
.
9. เป็นคนที่ AI ไม่สามารถแทนได้: ต้องใช้สมองทั้ง 2 ซีก ทั้งฝั่ง Critical thinking ทักษะในการแก้ปัญหา และฝั่ง Design thinking ทักษะสร้างสรรค์ต้องรู้ว่าทำไมถึงทำสิ่งนี้และทำอย่างไรถึงจะถูกใจคนมากที่สุด
.
10. การสร้าง Higher value: ความสำเร็จของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่การส่งมอบเพียงไอเดียของสินค้าเท่านั้นแต่ยังอยู่ที่การสร้างคุณค่าทางอารมณ์ (Emotional Value) เมื่อเราเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าในคุณค่าในอีกระดับหนึ่งได้โอกาสสำเร็จย่อมสูงขึ้น
.
11. นวัตกรรมต้องยั่งยืน: โลกธุรกิจปัจจุบัน ความยั่งยืน (Sustainability) และการดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG มีความสำคัญอย่างยิ่ง คนทำงานยุคใหม่จึงต้องมีทักษะที่ครอบคลุมทั้งการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อสร้างคุณค่าในปัจจุบัน และการคิดเชิงอนาคต (Foresight) ที่มองไปข้างหน้าเพื่อออกแบบและสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนในอนาคต
.
12. การใช้ Design thinking โดยไม่มี Foresight: ตัวอย่างเช่น กาแฟแคปซูล แม้จะตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบายให้กับคนแต่สิ่งที่ตามมาคือสร้างขยะเพิ่มขึ้น
.
13. เป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนที่ใช่ด้วย: ในยุคปัจจุบัน การเป็นแค่ “คนเก่ง” อาจไม่เพียงพออีกต่อไป สิ่งสำคัญคือการเป็น “คนที่ใช่” สำหรับองค์กร ซึ่งหมายถึงการค้นพบ “Ikigai” หรือจุดตัดระหว่างสิ่งที่เรารักและ Skill ที่เรามีกับสิ่งที่องค์กรต้องการและยินดีจ่ายให้งานของเรา
.
14. รูปแบบงานในอนาคต: แม้จะใช้ทักษะพื้นฐานเดียวกัน แต่งานจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามมุมมองความคิด (Mindset) ที่แตกต่างกัน ได้แก่ งานปฏิบัติการ (Operation) ที่เน้นการทำงานตามกระบวนการที่ชัดเจน ต้องการความแม่นยำและความสม่ำเสมอ และงานนวัตกรรม (Innovation) ที่เหมาะกับผู้ที่ชอบความท้าทาย กล้าเสี่ยง และต้องการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
.
15. ทักษะสู่การเป็นคนที่ใช่ตลอดไป: การเป็น “คนที่ใช่” ต้องไม่ยึดติดกับความรู้หรือทักษะใดทักษะหนึ่ง แต่ต้องพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ในยุคที่ Generative AI สามารถช่วยตอบคำถาม What และ How เราต้องหันไปพัฒนา Soft Skills โดยเฉพาะการสื่อสาร ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในระยะยาว
.
16. Unemployment ไม่น่ากลัวเท่า Unemployable: สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือการกลายเป็นคนที่ไม่มีใครต้องการจ้าง (Unemployable) เพราะทักษะและความสามารถของเราล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรอีกต่อไป
.
17. Challenge the Status Quo: กล้าที่จะตั้งคำถามกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเดิม สิ่งที่เคยเป็นมาในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นเช่นนั้นตลอดไป เมื่อสภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง เราต้องกลับมาตั้งคำถามกับ Why
.
18. Reframe คิดใหม่ ทำใหม่ได้: ไม่อยากให้เป็น Binary ที่มองทุกอย่างเป็นแค่ ‘ใช่’ กับ ‘ไม่ใช่’
.
19. Shift Perspective มองต่างมุมกับคนอื่น: มองเห็นโอกาส โดยมุมสำคัญคือมุมของลูกค้า
.
20. การพัฒนาทักษะแบบองค์รวม: การทำงานยุคใหม่ไม่ควรยึดติดกับ Critical Thinking จนปิดกั้นการทดลองสิ่งใหม่ แต่ควรผสมผสานทั้ง Human Thinkin Creative Thinking และการค้นหา Ikigai พร้อมทั้งพัฒนาทักษะ People Thinking ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการทำงานปัจจุบัน