สรุปจาก Intro Class ‘Agile 101’ : For Next Gen Product Management

สรุปจาก Intro Class ‘Agile 101’ : For Next Gen Product Management

Business

4 นาที

20 พ.ค. 2022

แชร์

ผ่านไปแล้วกับ Intro Class ‘Agile 101’ : For Next Gen Product Management โดยในคลาสนี้ คุณหน่วย อิสระสรรค์ กันทะอุโมงค์ Head of Commercial PMO & Strategy, LINE Corporation ได้มาแชร์ความรู้และประสบการณ์ในมุมมองของ Tech Company ในเรื่อง ความสำคัญของงาน Product Management และรูปแบบการทำงานแบบ Agile(อไจล์) ของบริษัทยุคใหม่ ให้กับทุกๆ คน ที่กำลังสนใจงาน Product Manager และทักษะการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์

สำหรับใครที่พลาดเข้าเรียนในรอบออนไลน์ไป True Digital Academy ก็ได้สรุปโน้ตความรู้จากคลาสเรียนมาให้เรียนรู้กันในวันนี้

-Product Management สำคัญอย่างไรกับองค์กร-


การสร้างผลิตภัณฑ์ หรือการจัดการผลิตภัณฑ์หนึ่งตัว ยกตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ หากไม่มีการจัดการที่ดี ก็อาจทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นไม่ประสบความสำเร็จในตลาดได้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้องตั้งแต่ต้นจนจบอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ประสบความสำเร็จในท้องตลาด

Product Management เป็นกระบวนการที่ต้องคิดตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย และอาจมีการพัฒนาต่อๆ ไปหลังจากนั้น แล้วอาชีพ Product Manager มีหน้าที่ทำอะไร เขียนโค้ด? พัฒนาผลิตภัณฑ์? ต้องมีทักษะ Technical ไหม? ต้องทำ UX/UI เป็นไหม?

คำตอบคือ Product Manager อาจจะไม่ใช่คนที่รู้ดีในทุกศาสตร์ แต่เป็นคนที่สามารถเชื่อมทุกฝ่ายเข้าหากันได้ ทั้งฝ่าย Business ฝ่าย UX หรือฝ่าย Tech เป็นคนที่คอยเติมเต็มให้กับทุกกลุ่ม และผู้ที่เป็น Product Manager ต้องมี Vision ต้องรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร จึงจะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มี Feature ที่ทำให้ผู้บริโภคพอใจได้

“การสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่ง ต้องมีขั้นตอนอะไรบ้าง
มีทิศทางในการดำเนินการอย่างไร แบ่งทีมอย่างไร
ต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังอย่างไร” 
นี่คือหัวใจหลักสำคัญของ Product Manager 

-กระบวนการทำงานแบบ Waterfall VS กระบวนการทำงานแบบ Agile-

กระบวนการทำงานแบบ Waterfall หมายถึง การทำงานที่เริ่มจากข้างบนสุด ค่อยๆ ไหลไปข้างล่าง เป็นการทำงานแบบเส้นตรง ไม่มีการแก้ไข ไม่มีความยืดหยุ่นมากนัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์กรที่มีรูปแบบการทำงานแบบ Waterfall ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าองค์กรที่ใช้รูปแบบการทำงานแบบอไจล์ ไม่มีรูปแบบไหนดีไปกว่ากัน เพราะองค์กรแต่ละองค์กร มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมือนกัน องค์กรหนึ่งอาจจะประสบความสำเร็จกับการทำงานแบบ Waterfall มากกว่ารูปแบบอไจล์ก็ได้ 

ขณะที่การทำงานแบบ Waterfall จะยึดขั้นตอนที่สร้างขึ้น ไม่ค่อยยืดหยุ่นออกจากกรอบ การทำงานรูปแบบอไจล์จะเหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ Feedback จากลูกค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถทำผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองต่อผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที ด้วยคำนึงถึงลูกค้าเป็นหลักสำคัญ ข้อดีของการทำงานรูปแบบอไจล์คือสามารถนำปัญหาหรือข้อเสนอแนะที่ได้รับจากลูกค้ากลับเข้าสู่กระบวนการคิดและปรับปรุงได้เร็วกว่า

แต่ในผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการความหลากหลาย อย่างผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่างๆ เช่น น้ำมัน ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้การทำงานในรูปแบบอไจล์ก็ได้ ดังนั้น การเลือกใช้รูปแบบการทำงานก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมขององค์กรของตัวเอง

iStock

Waterfall VS Agile

🔺 Process & Tools >> Individuals and Interactions
การทำงานแบบ Waterfall จะคำนึงถึงกระบวนการ การทำงานต้องเป็นไปตามขั้นตอน ยืดหยุ่นไม่ได้มาก เนื่องด้วยทางองค์กรอาจมองว่า หากทำงานตามขั้นตอนเหล่านี้ จะช่วยลดข้อเสียหรือข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนการทำงานแบบอไจล์ จะให้ความสำคัญกับปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าจะระหว่างทีม หรือผู้ผลิตกับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ ด้วยความต้องการเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในกับผู้บริโภค  

🔺 Comprehensive Documentation >> Working Software
การทำงานแบบ Waterfall ให้ความสำคัญกับการทำเอกสาร แต่การทำงานแบบอไจล์ ด้วยความที่องค์กรที่ใช้การทำงานแบบอไจล์ส่วนมาก เป็นองค์กร Tech จึงมีการทำซอฟต์แวร์ต่างๆ เข้ามาช่วยทุ่นแรงในการทำงาน ทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น เช่นการทำซอฟต์แวร์ Jira เข้ามาใช้ เมื่อมีเครื่องมือมาช่วยทุ่นแรง ไม่เสียเวลาไปกับการเอกสาร ก็จะทำให้สามารถโฟกัสกับการผลิตผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าพึงพอใจได้มากกว่าเดิม 

🔺 Contract Negotiation >> Customer Collaboration
การทำงานแบบอไจล์นั้น หลักสำคัญคือการคำนึงถึงลูกค้า ไม่ละเลยคำแนะนำที่ลูกค้าเสนอแนะ แม้จะมีจำนวนน้อยมากก็ตาม

🔺 Following Plans >> Response to Change 
การทำงานแบบ Waterfall จะยึดขั้นตอนที่วางแผนไว้ ส่วนการทำงานแบบอไจล์จะมีการปรับเปลี่ยนแผนตลอดเวลา 

-บริษัทต่างๆ จะนำการทำงานแบบอไจล์มาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างไร-

การทำงานแบบอไจล์ไม่ได้จำกัดอยู่กับผลิตภัณฑ์ไอที Tech สตาร์ทอัพเท่านั้น ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพราะสุดท้ายแล้ว หลักสำคัญของการทำงานแบบอไจล์ คือ ‘Customer Satisfaction’ นี่คือกระบวนการที่มุ่งเน้นทำให้ลูกค้าพอใจในตัวผลิตภัณฑ์มากที่สุดนั่นเอง 

การนำการทำงานแบบอไจล์ไปประยุกต์ใช้ในองค์กร แต่ละที่อาจไม่เหมือนกัน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ในองค์กร Tech สตาร์ทอัพ หรือองค์กรไอทีต่างๆ ขั้นตอนการทำงานในรูปแบบอไจล์จะเป็นดังนี้ 


  1. หา Business Requirement โดยคำนึงถึง User เป็นหลัก ขั้นตอนหาความต้องการของ User นี่คือขั้นตอนแรกของ Product Manager ที่จะต้องไปค้นคว้าหาข้อมูลมาว่าความต้องการของลูกค้าคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจลูกค้า ก็ไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นมาได้เลย 
  2. นำความต้องการของลูกค้ามา Prioritize จัดสรรเวลา ทรัพยากรและตัวบุคคลอย่างละเอียด จัดเรียงความสำคัญให้กับรายการความต้องการของลูกค้า (Backlog) ที่มีอยู่ วาง Product Roadmap ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงขั้นตอนการปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลาด 
  3. เมื่อวาง Product Roadmap เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปคือการลงมือทำงาน แต่ละทีมย่อยจะทำการวางแผนว่าควรทำงานอย่างไร ซึ่งระหว่างการลงมือทำงาน ก็จะมี Daily Standup Meeting หมายถึงการมาประชุมกันสั้นๆ ภายใน 15 นาทีเพื่ออัปเดตการทำงานของแต่ละทีม หากเกิดข้อผิดพลาดที่จุดใด จะทำให้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที
  4. เมื่อกระบวนการทำงานจบสิ้น ผลิตภัณฑ์เสร็จสมบูรณ์จนปล่อยออกสู่ท้องตลาดแล้ว ขั้นตอนที่ 4 คือการรับ Feedback จากผู้ใช้ และนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้ได้มากที่สุด
—————————————————————
หากสนใจทำความเข้าใจและศึกษาแนวทางปฏิบัติในการบริหารผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ใกล้เข้ามาแล้วไปกับคอร์ส Product Management จาก True Digital Academy หากอยากเริ่มเข้าสู่สายอาชีพ Product Manager สมัครเลยวันนี้ คลิก >> https://bit.ly/37B1xtm

—————————————————————
ไม่อยากพลาดสาระและกิจกรรมดีๆ แบบนี้ สามารถติดตามอีเวนต์ครั้งต่อๆ ไปได้ทางโซเชียลมีเดียของ True Digital Academy

Website – https://bit.ly/3ts5KGG
Facebook – https://bit.ly/3KeUFzj
LinkedIn – https://bit.ly/3hEdKig
Instagram – https://bit.ly/3Cf4BG9