Agile รูปแบบการทำงานที่หลายองค์กรทั่วโลก "ทำไม่สำเร็จ"
Agile รูปแบบการทำงานที่หลายองค์กรทั่วโลก "ทำไม่สำเร็จ"
Business
3 นาที
10 ต.ค. 2022
แชร์
Table of contents
Agile รูปแบบการทำงานที่หลายองค์กรทั่วโลก “ทำไม่สำเร็จ”
ในยุคที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกดิจิทัล มีบริษัทมากมายทั่วโลกพยายามปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการปรับตัวนั้นได้รวมถึงการปรับรูปแบบการทำงานภายในองค์กรให้มีความคล่องตัว, ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากขึ้น โดยรูปแบบการทำงานที่ว่านี้ เรียกว่าการทำงานแบบ “Agile”
โดยการทำงานแบบ Agile นี้ องค์กรต่างๆไม่ได้นำไปใช้เพียงแค่ในทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ใช้ไปถึงการปรับรูปแบบแนวคิดการทำงานของพนักงานทุกแผนกขององค์กรเลยทีเดียว ฟังดูเป็นเรื่องที่ดีใช่ไหม? ที่หลายองค์กรต่างปรับตัวเข้าสู่การทำงานในรูปแบบน Agile นี้? แต่ผลลัพท์กลับไม่เป็นเช่นนั้น ผลสำรวจจากองค์กรต่างๆตัวโลกที่นำรูปแบบการทำงานแบบ Agile ไปใช้ กลับแสดงว่ามีถึง 47% ที่ทำไม่สำเร็จ
คำถามคือ แล้วหัวใจสำคัญที่ทำ Agile ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จคืออะไร?
อ้างอิงจากบทความชื่อ Five Aspects Of A Successful Agile Transformation For Your Enterprise จาก เว็บไซต์ Forbes ได้กล่าวถึง5 วิธีที่จะเปลี่ยนองค์กรให้ทำงานแบบ Agile ได้ประสบความสำเร็จไว้ดังนี้
1. ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
รูปแบบการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องทำงานตามกระบวนการทีละขั้นตอน จากการวางแผน ไปสู่การออกแบบ พัฒนา และการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่สำเร็จแล้ว อาจจะเป็นวิธีที่ได้ผลดีเมื่อ 20-30 ที่แล้ว แต่ในยุคดิจิทัลปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความต้องการของลูกค้าก็เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา จึงต้องนำวิธีการทำงานแบบ Agile มาใช้
โดยเป้าหมายคือการ “ให้ความสำคัญกับลูกค้า” และ “ตอบสนองความต้องการลูกค้า” โดยการสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปทีละนิด และให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่แรก หนึ่งวิธีที่ทำ Agile ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Scrum ที่หัวหน้าทีมจะต้องนัดพบปะกับทีมพัฒนาทุกวัน เพื่อแชร์ข้อเสนอแนะและ Insight ของลูกค้าเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
แม้แต่องค์กรที่เน้น Customer Centric ก็ยังทำให้การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มีความ Agile อย่างแท้จริงได้ยาก โดยปัญหามักเกิดจากการจัดการคนทำงานที่ไม่ดี เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงเลือกวิธีการใช้ Metrics วัดทักษะ และกำหนดบทบาทในทีมให้ชัดเจน นอกจากนี้ดึงดูดคนทำงานเก่งและเพิ่มอัตราการรักษาพนักงานผ่านการโค้ชงาน และให้ความก้าวหน้าในอาชีพ ยิ่งไปกว่านั้น องค์กรที่ทำ Agile จะเลือกพนักงานที่ทำงานโดดเด่นให้ขึ้นเป็นผู้นำ
3. ทำให้งานของทีมสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจขององค์กร
การมีทีมที่ดี Agile และมีประสิทธิภาพการทำงานสูงนั้นยังไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนองค์กรให้ก้าวหน้าขึ้นได้ หากแต่งานที่พวกเขาทำต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจขององค์กรด้วย
บ่อยครั้งที่องค์กรจัดให้มีการทำ Agile Ceremonies เช่น การรายงานความคืบหน้าประจำวัน (Daily Stand-up) แต่คนในทีมกลับไม่เข้าใจว่างานของพวกเขาส่งผลอย่างไรต่อภาพใหญ่ขององค์กร และแผนงานใหญ่ จึงควรมีการจัดอบรมเพื่ออธิบาย “ภาพใหญ่” ให้คนทำงานเข้าใจด้วย รวมถึงทำลายกำแพงระหว่างทีม Business และทีม IT ด้วยการจัดให้มีการแลกเปลี่ยน Feedback กันอย่างสม่ำเสมอ
4. วัดประสิทธิภาพการทำงานอย่างครอบคลุม
องค์กรที่ทำ Agile อาจจะเกิดคำถามว่าการทำ Agile ของเราประสิทธิภาพหรือยัง?
ลองใช้ Metrics วัดผล 3 รูปแบบดังต่อไปนี้ดู
- วัดความคืบหน้าการเปลี่ยนแปลง
- จำนวนพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรมและผ่านการรับรอง
- จำนวน Business Unit ที่ได้ลงมือทำงานแบบ Agile แล้ว
- วัดการดำเนินงานจริง
- เมื่อทีมเริ่มทำงานแบบ Agile แล้ว ให้ลองวัดอัตราเกิดข้อบกพร่อง
- รอบเวลาการทำงาน ความเร็ว และความผันผวนต่างๆ
- วัดมูลค่าธุรกิจ
- หลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์แล้ว ก็ถึงเวลาวัดผลกระทบต่อธุรกิจ อาทิ ค่าใช้จ่าย รายได้ เป็นต้น
เหล่าทีมบริหารองค์กรระดับสูง (C-Level) ต้องช่วยสนับสนุนการทำงานของทีมที่รับทำหน้าที่ปรับองค์กรให้ Agile ให้มีอำนาจสามารถเข้าไปแทรกแซงการทำงานของทุกทีมได้ ไม่ใช่แค่ทีม Business หรือ IT แต่รวมถึงฝ่ายสนับสนุนอย่าง HR และ Finance เพื่อให้ทีมสามารถช่วยสร้าง Playbook รวบรวมข้อมูล จัดโค้ชชิ่ง และนำเครื่องมือมาช่วยให้การทำงานแบบ Agile สะดวกมากยิ่งขึ้น
🗓 สรุป การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Agile เป็นวิธีที่องค์กรที่ต้องการปรับให้ทันกับยุคดิจิทัลนิยมใช้ และกลายเป็นหนึ่งในทักษะดิจิทัลที่สำคัญที่ทั้งผู้นำองค์กรและคนทำงานต้องทำความเข้าใจ อะไรเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้องค์กรปรับตัวครั้งนี้ได้ประสบความสำเร็จ
📌 ต้องการให้ทีมคุณทำงานแบบ Agile เป็น?
📌 เริ่มเรียนได้ที่ Digital Foundations 6-PACK
📌 ผ่อน 0% สูงสุด 6 เดือนผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ
📌 นิติบุคคลสามารถยื่นขอยกเว้นภาษีเงินได้ 250% จากค่าใช้จ่ายจริง เมื่อสมัครเรียนหลักสูตรนี้
————————————————-
อ่านบทความตัวเต็มได้ที่ : Forbes