เจาะไฮไลท์ Sea Insights: รายงานผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล
เจาะไฮไลท์ Sea Insights: รายงานผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล
Business
3 นาที
08 พ.ย. 2021
แชร์
Table of contents
Sea Insights หน่วยงานที่รับผิดชอบการวิจัยด้านนโยบายสาธารณะภายใต้ Sea Group บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียนและเป็นบริษัทแม่ของ Garena และ Shopee ได้เผยรายงาน “THAI DIGITAL GENERATION SURVEY รายงานผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล” จากการสำรวจคนไทย 12,843 คน ครอบคลุมกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามอายุตั้งแต่ 16-60 ปี เมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา
วันนี้เราได้สรุป Highlight ในด้านการการพัฒนาทักษะดิจิทัลของคนไทย และการปรับตัวของผู้ประกอบการ MSME (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises) จะมี insights อะไรน่าสนใจบ้าง ไปดูกัน
สรุป Insights ที่ได้จากรายงาน
- Digital Skills + Adaptability + Self-discipline = ทักษะเอาตัวรอดหลักในอนาคต
- คนไทยรู้ว่าทักษะเหล่านี้สำคัญ แต่มากกว่า 50% ยังรู้สึกตนเองไม่พร้อม
- ผู้ประกอบการ MSMEs และบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า มีโอกาสได้รับผลกระทบทางลบด้านเศรษฐกิจน้อยกว่า
Digital Skills + Adaptability + Self-discipline = ทักษะเอาตัวรอดหลักในอนาคต
จากผลสำรวจ พบว่า ทักษะ 5 อันดับแรกที่จะสำคัญที่สุดในโลกหลัง COVID-19 ได้แก่ ทักษะการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล (36%) ความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัว (34%) และ วินัยในตนเอง (32%) ซึ่งสอดคล้องกับกับผลการสำรวจอื่นๆ ว่า ความสามารถในการปรับตัวและฟื้นตัวและการมีวินัยในตนเองมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับ “วิธีคิดแบบผู้ประกอบการ” (Entrepreneurial Mindset) คือการรักษาความมุ่งมั่น เรียนรู้จากความล้มเหลว และปรับตัวให้เข้ากับความไม่แน่นอนได้อยู่เสมอ
สำหรับทักษะอื่นๆ ประกอบไปด้วย ทักษะด้านภาษา (27%) และ การมี Global Mindset (27%) หรือการคิดแบบยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและสามารถผสมผสานวัฒนธรรมได้ ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากที่สุดในอาเซียน นับเป็นสัญญาณที่ดีที่คนไทยเปิดใจเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเทศอื่นๆสูง คาดว่าจะส่งผลให้คนไทยได้มีโอกาสเปิดรับประสบการณ์และมุมมองโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงกับสังคมโลกมากขึ้น
คนไทยรู้ว่าทักษะเหล่านี้สำคัญ แต่มากกว่า 50% ยังรู้สึกตนเองไม่พร้อม
แม้ว่าทักษะการใช้เทคโนโลยี ความยืดหยุ่น การมีวินัย ภาษา และ Global mindset เป็นทักษะระดับต้นๆ ที่คนไทยมองว่าสำคัญที่สุด แต่น่าตกใจที่ทุกทักษะที่สำคัญมีคนไม่ถึง 50% มองว่าตนเองมีทักษะเหล่านี้เพียงพอ ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆของคนไทย (Upskill and Reskill) โดยเฉพาะทักษะด้านภาษาที่มีเพียง 16% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่รู้สึกว่าตนเองเชี่ยวชาญเพียงพอ ซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อยจนน่าเป็นห่วง เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในระดับภูมิภาคที่ 23%
MSMEs และบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า มีโอกาสได้รับผลกระทบทางลบด้านเศรษฐกิจน้อยกว่า
ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมามีหลายธุรกิจได้รับผลกระทบ ทว่าจากแบบสำรวจนี้พบว่าธุรกิจและบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า มีโอกาสได้รับผลกระทบทางลบด้านเศรษฐกิจน้อยกว่า โดยพบว่าธุรกิจ MSMEs ที่ไม่มีมีร้านค้าออนไลน์ ได้รับผลกระทบด้านรายได้ถึง 78% ในขณะที่ธุรกิจที่มีร้านค้าออนไลน์ได้รับผลกระทบ 67% ซึ่งคาดว่าเป็นผลมาจากการที่เทคโนโลยีช่วยให้ปรับตัวได้ง่ายขึ้นในช่วงที่มีมาตราการ Lock Down และ Social Distancing ต่างๆ อาทิ เช่น การ Work From Home การใช้บริการ Delivery หรือการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์เพื่อลดการสัมผัส (Contactless)
ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการไทยก็ค่อนข้างมีความสามารถในการปรับตัวสูง มีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ สูงถึง 50% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 24% นอกจากนี้ยังพบว่าธุรกิจออนไลน์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้หญิง เพื่อหารายได้เสริมมาจุนเจือครอบครัวมีมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และผู้หญิง แม่บ้านและคนที่ทำงานเต็มเวลามีแนวโน้มที่จะเริ่มธุรกิจใหม่มากที่สุด…
อ่านรายงานฉบับเต็ม รายงานผลสำรวจคนไทยยุคดิจิทัล
————————————————–
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra