รู้จัก NFT ศิลปะดิจิทัลราคาหลักล้าน

รู้จัก NFT ศิลปะดิจิทัลราคาหลักล้าน

Tech

2 นาที

16 พ.ย. 2021

แชร์

วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain ที่เรียกว่า NFT หรือ Non-Fungible Token ซึ่งคำว่า Fungible (อ่านว่า “ฟัง-จิ-เบิล”) มีความหมายว่า “ที่สามารถทดแทนกันได้” ดังนั้น Non-Fungible จึงหมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถทำซ้ำหรือคัดลอกได้ โดยชิ้นหนึ่งจะมีมูลค่าต่างจากอีกชิ้นหนึ่ง ตัวอย่าง Fungible Token ก็คือ Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัลที่มีเหรียญชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นจำนวนมาก เช่น Bitcoin หนึ่งเหรียญ ก็มีมูลค่าเท่ากันกับ Bitcoin อีกเหรียญหนึ่งเป๊ะๆ แต่สำหรับ Non-Fungible Token อาทิ ภาพวาด 1 ภาพ จะมีมูลค่าในตัวเองซึ่งต่างกับภาพวาดอีกภาพหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแต่ละชิ้นมีความแรร์ (Rare) อยู่ในตัวนั้นเอง


แล้วปัจจุบันอะไรสามารถเป็น NFT ได้บ้าง?

บอกได้ว่าความเป็นไปได้เยอะมากๆ ที่นิยมส่วนใหญ่ขณะนี้คือพวก Media ต่างๆ เช่น รูปภาพ วีดีโอ เพลง แม้กระทั่งช็อตเด็ดไฮไลท์ของกีฬา NBA ยังสามารถขายเป็น NFT ได้! ใช่แล้ว คุณอ่านไม่ผิดหรอก ช็อตเด็ดกีฬามันส์ๆที่เราเห็นใน YouTube ก็สามารถซื้อขายครอบครองเป็นเจ้าของกันได้ด้วย! โดยเว็บไซต์ NBA Top Shot ซึ่งเป็นเว็บซื้อขายสร้างรายได้ไปกว่า 230 ล้านดอลลาร์!! (ประมาณ 7.6 พันล้านบาท) หรือจะเป็นเสื้อผ้า อวาตาร์ ไอเทม และที่ดินในเกม ก็นับเป็น NFT เช่น เกม Sandbox ก็ที่มีทั้งการใช้ NFT และ Cryptocurrency ใช้จ่ายภายในเกม

ด้านดารา นักร้อง Influencer ก็เริ่มเข้ามาเล่นกับกระแสนี้ อาทิ Snoop Dogg แร็ปเปอร์ชื่อดังระดับโลก ได้ประกาศเปิดตัวทำ Collab กับเกม Sandbox ออก NFT Collection พิเศษ ยิ่งเป็นการปั่นกระแสความนิยม NFT ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปมากขึ้นเรื่อยๆ และในประเทศไทยเองก็มี Community ของศิลปินและนักสะสมอยู่เช่นกัน อาทิเช่น กลุ่ม Facebook NFT and Crypto Art Thailand ที่มีสมาชิกกลุ่มกว่า 2 แสนแอคเคาท์แล้ว (updated พ.ย.64) และเว็บไซต์ที่ศิลปินไทยนิยมลงขาย NFT นั้นคือเว็บไซต์ Opensea ซึ่งถือเป็นตลาด NFT ที่ใหญ่ที่สุด ณ ขณะนี้

หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างว่าการซื้อ NFT ก็เหมือนกับการได้ซื้องานศิลปะ ซื้อของสะสมลิมิเต็ต แต่จุดที่ต่างคือ NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล จับต้องไม่ได้ และก็ไม่ได้หมายความว่าเรามีสิทธิ์ในแง่การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ใดๆ ในงานชิ้นนั้นหากไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย นอกจากนี้ NFT ยังไม่ได้แปลว่ามีงานนั้นชิ้นเดียวในโลกเสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้สร้างผลงานว่าจะให้งานตนเองมี NFT กี่ชิ้น แต่การมีจำนวนมาก ทำให้ความแรร์ (ในวงการเรียกว่า “Scarcity”) น้อยลง มูลค่าก็มักจะน้อยลงตามไปด้วย 

นอกจากกระแสในเรื่องความนิยมขณะนี้ ที่ทำให้มูลค่าของชิ้นงาน NFT สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายคนกระโดดเข้ามา “เล่นเก็งกำไร” แล้ว ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ต้องการเติมเต็ม Self-Actualization Need หรือความต้องการสนอง Need ส่วนตัว คล้ายๆ กับที่เศรษฐีชอบซื้อเรือสำราญ ซื้อเกาะส่วนตัว​ (ที่อาจจะไปจริงแค่ ปีละ 1 ครั้ง) มันเท่! มันคูล! มันคือความภาคภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของในสิ่งที่คนอื่นเป็นไม่ได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในคำอธิบายตามทฤษฎีทางจิตวิทยาของมาสโลว์นั่นเอง

สำหรับอนาคตของวงการ NFT แม้ว่าตอนนี้จะมีความเฟื่องฟูได้รับความนิยมสูงมาก แต่ก็มีอีกกระแสตีกลับว่าในอนาคต 90% ของสินทรัพย์ NFT อาจจะกลายเป็นของไร้มูลค่า ซึ่งเมื่อลองวิเคราะห์ดูดีๆ ก็พบว่ามีความเป็นไปได้อยู่บ้าง เพราะมูลค่าของ NFT ที่ซื้อขายกันแพงๆ ล้วนมาจาก “ความต้องการครอบครอง” ดังนั้นหากงานทีเราซื้อมา ไม่มีคนอยากอยากครอบครองต่อ ก็จะไม่เกิดมูลค่าซื้อขายในตลาด ดังนั้นหากใครจะเล่นก็ขอให้พิจารณาให้ดีๆ ในกรณีจะซื้อมาถือครอบครองในระยะยาว จะเป็นการดีกว่าหากซื้อเพราะ “อยากได้จริงๆ” ที่ถึงแม้มูลค่าในตลาดจะหมดไป และมูลค่าทางใจจะยังคงอยู่กับผู้ซื้อไปตลอด…

Source : 1 2 3
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw 
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V 
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra

แชร์