Future Leader Club Podcast EP.5 Survival Mindset วิธีคิดเและการปรับตัวหลังวิกฤติอย่างผู้ประกอบการ

Future Leader Club Podcast EP.5 Survival Mindset วิธีคิดเและการปรับตัวหลังวิกฤติอย่างผู้ประกอบการ

Business

4 นาที

22 พ.ย. 2022

แชร์

“เมื่อมีคนบอกว่าพวกเขาเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ผมมักจะบอกว่าเคล็ดลับของผมคือการเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น” — Warren Buffet ได้กล่าวคำพูดที่แฝงข้อคิดให้กับคนที่อยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองไว้ได้อย่างน่าสนใจ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาตนเอง และธุรกิจ การเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทรงพลังเช่นกัน

Future Leader Club คลับรวมความรู้สำหรับผู้นำแห่งยุคอนาคต by True Digital Academy ในตอนที่ 5 พบกับ Guest Speaker “ต่อเพนกวิน” หรือคุณต่อ – ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี เจ้าของร้านชาบูชื่อดัง Penguin Eat Shabu และเจ้าของเพจ Torpenguin – ผู้ชายขายบริการ มาร่วมพูดคุยพร้อมเคสตัวอย่างอีกเพียบที่ชวนให้ขบคิดตาม ในหัวข้อ “Survival Mindset วิธีคิดและการปรับตัวหลังวิกฤติอย่างผู้ประกอบการ” สามารถฟังได้ที่ Podcast “Future Leader Club” ผ่าน Spotify:: https://spoti.fi/3ERdfO8 



📝 สรุป Key Takeaways จาก Session

1. COVID-19 เปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้า “Offline is The New Luxury”

  • Food Delivery ในประเทศไทยเติบโตสูง และมีแนวโน้มเติบโตต่อได้อีก ซึ่งอาจส่งผลต่อการขายอาหารหน้าร้าน โดยเฉพาะวันธรรมดาคนจะต่อคิวน้อย
  • Online Shopping ก็เช่นกันยังมีโอกาสเติบโตได้อีก ทุกวันนี้ไม่ใช่การรอให้ลูกค้าเดินมาหา แต่ต้องพาร้านของเราไปอยู่บนหน้าจอของลูกค้าให้ได้
  • นอกจากนี้ การทำธุรกรรมการเงิน การศึกษา การทำงาน หลายอย่างก็สามารถทำแบบ Online ได้ ทำให้ Productivity มากขึ้น แต่ก็เป็นการ Disrupt ธุรกิจ Offline เช่น บริษัทรับจัดเลี้ยง รับจัดงานสัมนา ด้วยเช่นกัน
  • การไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร และการเดินห้างกลายเป็น “โอกาสพิเศษ” มากขึ้น

credit image freepik.com

2.ปรับตัวให้ทันโลก ด้วยการเป็น “ผู้นำกลายพันธุ์ (Leaders with survival mindsets)”

  • อย่าขายในสิ่งที่มี ให้ขายสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ต้องโฟกัสที่ลูกค้าเป็นหลัก หากธุรกิจของเราไม่สามารถตอบโจทย์สิ่งที่ลูกค้ามองหาได้ ก็ควรจะมองหา Partner ที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจได้
  • อย่าสร้างความลำบาก (Pain Point) ให้ลูกค้าโดยไม่จำเป็น ปัจจุบันลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น และด้วยภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดทางการเงินมากขึ้น จึงต้องระมัดระวังในการเลือก ดังนั้นแบรนด์ไหนที่คิดถึงแต่ความสะดวกของตัวเอง ไม่ปรับตัวตามลูกค้า ในที่สุดจะไม่มีใครเลือก 
  • เมื่อนำธุรกิจใหม่เข้าแข่งในตลาด ต้องแก้ Pain Point ที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขให้ลูกค้าจึงจะชิงลูกค้ามาได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำกลยุทธ์ตัดราคากัน

3.ประสบการณ์ผ่านวิกฤตของ Penguin Eat Shabu ด้วยไอเดียและความเร็ว

  • ในวันที่รัฐบาลประกาศสั่งปิดห้าง-ตลาด ช่วง COVID-19 ระบาดระลอกแรก ร้าน Penguin Eat Shabu ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทันที เพราะไม่เคยอยู่ในระบบ Delivery มาก่อน เนื่องด้วยจุดขายของธุรกิจเป็นชาบู และบุฟเฟ่ต์ ทำให้สูญเสียของสดในสต๊อกมูลค่ากว่าล้านบาท
  • Penguin Eat Shabu รีบหาทางปรับตัว โดยการทดลองขายอาหารประเภทข้าวหน้าต่างๆ ผ่าน Online และเข้าระบบ Delivery แต่ลูกค้ากลับไม่สามารถจดจำแบรนด์ได้ เพราะติดภาพความเป็นชาบู
  • คุณต่อได้นำ Feedback จากลูกค้ามาวิเคราะห์จนพบว่า Pain Point ของลูกค้าที่อยากอุดหนุนคือ “ไม่มีหม้อชาบู” ที่บ้าน จึงออกแคมเปญ Pre-order “เซ็ตชาบูแถมหม้อ” ในราคาที่ดูคุ้มค่าที่สุด และขายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยร่วมมือกับบริษัทสตาร์ทอัพจัดอีเว้นท์ที่ไม่มีงานในช่วง COVID-19 มาพัฒนา Chatbot ร่วมกัน
  • ความท้าทายต่อมาคือหลังจากผ่านไป 1 สัปดาด์ชาบูและร้านบุฟเฟ่อื่นๆในประเทศไทย เริ่มนำไอเดีย “แถมหม้อ” ไปทำตาม จนทำให้กลยุทธ์ที่คิดมาไม่สามารถสู้เจ้าใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองราคา และระบบขนส่งที่ดีกว่าได้ จึงต้องหา Pain Point ใหม่ที่ยังไม่มีใครค้นพบ!

4.จับกลุ่ม Niche Market ด้วยการหา Pain Point ใหม่ๆ และทำ Partnership

  • คุณต่อค้นพบอีกหนึ่ง Pain Point ของลูกค้ากลุ่มผู้หญิงที่ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ นั่นคือความต้องการฉีดและเติม Botox ที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากในช่วง COVID-19 ไม่สามารถทำได้ จึงเกิดไอเดียออกแคมเปญใหม่ อยากกินชาบู แต่หน้าหนูต้องเด้ง แถมฉีด Botox 20 ยูนิตฟรี เมื่อซื้อเซ็ตชาบู โดยกลยุทธ์ตัวเลข 20 ยูนิตเป็นดีลธุรกิจกับคลินิกความงามที่ Win-Win ทั้งสองฝ่าย และคลินิกความงามได้โฆษณา และลูกค้าไปด้วย เนื่องจาก 20 ยูนิตสามารถฉีดได้แค่กรามเพียง 1 ข้าง ดังนั้นหากลูกค้าไปที่คลินิกความงามก็มีแนวโน้มสูงที่จะจ่ายเพิ่มเติม เพื่อซื้อ Botox เพิ่มเติม หรือบริการอื่นๆเสริมด้วย

credit image เพจ Penguin Eat Shabu – เพนกวินกินชาบู

  • จากศึกการทำ “เซ็ตชาบูแถมหม้อ” คุณต่อก็พอจะเห็นช่องว่างทางการตลาดอยู่ เนื่องจากยังไม่มีแบรนด์ใดทำ “หม้อเล็ก” ออกมาตอบโจทย์สำหรับคนที่อยู่คนเดียว จนเกิดแคมเปญ ชาบูตัวคนเดียว จะไม่เปลี่ยวอีกต่อไป ในราคาที่ถูกลง พร้อมแถม Tinder Premium มูลค่า 300 บาท ฟรี! ซึ่งตอบโจทย์คนโสด และได้กระแสขึ้นมาทันที

5.อยากเป็นที่จดจำ อย่าทำเหมือนคนอื่น

  • สร้าง Unique Selling Point (USP) ด้วยการหาจุดร่วมระหว่าง 3 สิ่งนี้ คือเป็นสิ่งที่เราทำได้ดี เป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ และคู่แข่งสู้ไม่ได้และเลียนแบบยาก
  • เช่น ร้านอาหารทั่วไปมักมีบริการไอศกรีมให้หลังมื้ออาหาร กลายเป็นมาตราฐาน ร้าน Penguin Eat Shabu ก็อยากมีเหมือนกัน แต่เลือกที่จะเพิ่มจุดขายด้วยการทำเป็นไอศกรีมรูปเพนกวิน ทำให้ได้รับ Free media เมื่อคนมารับประทานและถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดียต่อ

credit image เพจ Penguin Eat Shabu – เพนกวินกินชาบู


6.ใช้ Social Media อย่างมืออาชีพ เปลี่ยนการขายของเป็นการให้คุณค่า
  • ต้องรู้ว่าแต่ละ Platform มีกลุ่มเป้าหมายและลักษณะคอนเทนต์ต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรทำสื่อชิ้นเดียวสำหรับใช้ทุก Platform 
  • ไม่ต้องอยู่ในทุก Platform แต่ต้องอยู่ใน Platform ที่ลูกค้าเราอยู่
  • เปลี่ยนการขาย เป็นการมอบสิ่งที่มีคุณค่ากับลูกค้า เช่น การทำ Content ที่ให้ประโยชน์ หรือความบันเทิงที่ลูกค้ามองหา พร้อมอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์ด้วย Call to Action ต่างๆ เช่น Link หรือปุ่มเพื่อไปดูรายละเอียด หรือซื้อสินค้าต่อ
  • คอนเทนต์ที่มีเสน่ห์ = เห็นภาพ + ใส่ประสบการณ์ + สร้างอารมณ์

จากการแชร์ประสบการณ์และความรู้ด้านการทำธุรกิจของคุณต่อ Penguin Eat Shabu ทำให้เราเห็นว่าการเป็นผู้ประกอบการ SMEs หรือ Startup ในยุคนี้ต้องอาศัยความเป็นผู้นำที่พร้อมปรับตัวตามสถานการณ์อย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์ พร้อมด้วยทีมงานที่แข็งแกร่งจึงจะสามารถเอาตัวรอดผ่านช่วงเวลาวิกฤตต่างๆ และสู้กับคู่แข่งในตลาดได้ รวมถึงการให้ความสำคัญกับความต้องการของ “ลูกค้า” มาเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งในแง่การออกผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ และการสื่อสารผ่านคอนเทนต์ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าอย่างแท้จริง

🎧 ฟังพอดแคสต์ Future Leader Club ย้อนหลังแบบเต็มได้ทาง Spotify 

 

————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw 
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V 
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV