สายงาน Cybersecurity ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์ขององค์กร ที่คนไม่ค่อยรู้จัก

สายงาน Cybersecurity ผู้พิทักษ์ข้อมูลไซเบอร์ขององค์กร ที่คนไม่ค่อยรู้จัก

Tech

3 นาที

07 ก.ค. 2023

แชร์

ข้อมูลจากเว็บไซต์ Cybersecurity Guide ได้กล่าวถึงเทรนด์ของสายงาน Cybersecurity ว่ามี Demand ในตลาดงานมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ Supply ไม่เพียงพอ ซึ่งช่องว่างตรงนี้ส่งผลให้รายได้ตอบแทนสูงขึ้น และมีโอกาสในตลาดงานสูง

สถิติน่าสนใจเกี่ยวกับงาน Cybersecurity

  • NCSA เผยตัวเลขภัยทางไซเบอร์ในไทยเพิ่มขึ้นจาก 135 เคส ในปี 2021 เป็น 772 เคส ในปี 2022 โดยส่วนใหญ่เป็นการละเมิดข้อมูลที่เกิดขึ้นผ่านเว็บไซต์ของภาคการศึกษาและภาครัฐ
  • 88% ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการดำเนินงาน (Operations Technology) ในไทยประสบปัญหาการบุกรุกทางไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
  • มูลค่าตลาด Cybersecurity ในไทยคาดว่าจะเติบโตที่ CAGR 9.81% ในช่วงคาดการณ์ปี 2565 ถึง 2570
  • ตั้งแต่ปี 2010 มีอัตราการจ้างงานสาย Cybersecurity สูงขึ้นถึง 57%
  • มีจำนวน Supply ไม่เพียงพอต่อ Demand ในสายงาน Cybersecurity โดยอัตราส่วนอยู่ที่ 69%
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสายงาน Cybersecurity เป็นอีกหนึ่งสายงานในด้าน Technology ที่มีโอกาสเติบโตและเป็นที่ต้องการมากในตลาดงาน วันนี้เราจะพามาดูกันว่าโอกาสด้านอาชีพในสายงาน Cybersecurity มีมากมายกว่าที่หลายๆ คนรู้ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!


5 อาชีพสายงาน Cybersecurity ที่คนไม่ค่อยรู้จัก 


1. Penetration Tester — นักทดสอบการเจาะระบบ

ทำหน้าที่ทดลองพยายามเจาะ (Hack) ระบบและเน็ตเวิร์คเพื่อค้นหาข้อบกพร่องทางความปลอดภัย (Security Flaws) โดยการใช้เครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ในการจำลองสถานการณ์การถูกโจมตีทางไซเบอร์ พร้อมกับให้คำแนะนำในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย


2. Ethical Hacker — แฮคเกอร์สายขาว

แค่ฟังชื่อก็ดูเท่แล้ว จริงๆ อาชีพนี้ก็คล้าย ๆ กับ Penetration Tester แต่เน้นโฟกัสไปที่การหาจุดอ่อนในซอฟต์แวร์ และเว็บแอปพลิเคชัน โดยจะทำงานใกล้ชิดกับผู้พัฒนาฯ (Developer) และทีมรักษาความปลอดภัย (Security Team) เพื่อระบุ และหาทางแก้ไขช่องโหว่ความปลอดภัยก่อนถูกโจมตีโดยผู้ไม่หวังดี

image freepik.com


3. Red Teamer — ทีมแดง
เป็นผู้รับผิดชอบการจำลองการโจมตีทางไซเบอร์แบบเสมือนในโลกจริง ในระบบและเน็ตเวิร์คขององค์กร โดยการระบุจุดอ่อน และให้คำแนะนำในการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย โดยการจะเป็น Red Teamer ได้นั้นมักจะต้องมีประสบการณ์ในงาน Penetration Tester อย่างน้อย 5 ปี

4. Cybersecurity Consultant — ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
ที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะทำงานให้คำปรึกษากับองค์กรต่างๆ เพื่อประเมินระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ว่ามีจุดอ่อนตรงไหนบ้าง พร้อมกับพัฒนาแผนการปรับปรุงระบบฯ ผู้ที่ทำอาชีพนี้ต้องมีทักษะและความรู้ด้าน Cybersecurity ที่ครอบคลุมและเจาะลึก

5. Security Researchers — นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
ผู้ที่ทำงานเพื่อระบุและหา “ภัยทางไซเบอร์” ใหม่ๆที่เป็นไปได้ รวมไปถึงจุดอ่อนของระบบและซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ เนื่องจากเหล่า Hacker ก็หาหนทางใหม่ๆ ในการเจาะระบบอยู่เสมอ ดังนั้นผู้ที่ทำงานเป็น Security researchers ก็หยุดนิ่งไม่ได้เช่นกัน ต้องคอยคิดให้เหมือนกับ Hacker เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ในการโจมตีแบบใหม่ๆ


การเข้าสู่สายงาน Cybersecurity จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ด้าน Computer Science และความเข้าใจด้าน Networking, Operating Systems และ Security Protocols นอกจากนี้สายงานอื่น ๆ ก็สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ Cybersecurity เบื้องต้นด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นเกราะป้องกันภัยทางไซเบอร์ ทั้งในระดับส่วนบุคคลและองค์กร 

———————————————-
📢 โอกาสพัฒนาความรู้ และทักษะด้าน Cybersecurity มาถึงแล้ว เริ่มต้นก้าวสู่อาชีพสายงาน Cybersecurity กับ Workshop 1 วัน (6 ชั่วโมง)  Cybersecurity Fundamental  ในวันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2023 นี้ 

เวิร์กชอปนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการก้าวสู่อาชีพในสายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ และจะเน้นการเสริมสร้างความรู้พื้นฐานและความเข้าใจเพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาทักษะเพิ่มเติมในสายงานที่สนใจได้อย่างรวดเร็ว

ดูรายละเอียดและสมัครเรียนได้ที่ :: https://bit.ly/3PL9akk

———————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TikTok – https://bit.ly/3v8e0wV
YouTube – https://bit.ly/3is5lCx

แชร์