สรุปบทเรียนธุรกิจ Digital Business Lens : ส่องแนวคิด วิธี Go to Online delivery

สรุปบทเรียนธุรกิจ Digital Business Lens : ส่องแนวคิด วิธี Go to Online delivery

Business

3 นาที

10 พ.ย. 2021

แชร์

Event Speaker Series: Digital Business Lens ส่องแนวคิด มองทะลุธุรกิจยุค New Normal

ใน live session ของ Series Digital Business Lens นี้ เราได้พูดคุยกันต่อกับ Speaker ท่านที่ 3 คุณบิ๊ก สีหนาท ล่ำซำ Managing Director , Purple Ventures Co., Ltd. บริษัทเบื้องหลังแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีสัญชาติไทยแท้อย่าง Robinhood Delivery ที่มาแชร์ประสบการณ์และสิ่งที่เรียนรู้ตลอด 1 ปี จากการทำธุรกิจที่มุ่งช่วยเหลือสังคมในยุค COVID-19 

ไปดูบทเรียนสำคัญสำหรับคนทำธุรกิจที่เราสรุปมาฝากกัน


ส่องแนวคิดการทำธุรกิจแบบฉบับ Robinhood

  • จุดเริ่มต้นของ Robinhood มาจากการเห็นความลำบากของร้านค้าช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรก ร้านค้าส่วนใหญ่ปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์ไม่ค่อยเป็น และรู้สึกว่าทำไม Food Delivery ในไทยถึงไม่มีบริษัทของคนไทยเป็นเจ้าของเลย และบางแพลตฟอร์มมี GP (Gross Profit) ที่เก็บกับร้านค้าและผู้บริโภคสูง
  • จุดว้าว! คือ Robinhood Project ใช้เวลาเพียง 3 เดือนในการวางแผน ออกมาเป็น Platform ที่ทำด้วยจุดมุ่งหมายที่เน้นช่วยเหลือสังคม
  • SCB ขยายธุรกิจธนาคารสู่ Food Delivery เพื่อสร้าง Digital Touchpoint ให้คนมาเอนเกจกับแบรนด์มากขึ้น พร้อมเอื้อโอกาสให้คนทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น
  • จุดน่าสนใจคือคุณบิ๊กบอกว่า Robinhood ไม่ได้ลงมาแข่งในตลาด Food Delivery ให้เป็นอันดับหนึ่ง แต่มาปิดช่องโหว่ในจุดที่เจ้าใหญ่ที่ครองตลาดอยู่ยังไม่ได้ทำ รวมถึงมีแนวคิดแบบ Customer Centric ใช้ลูกค้าเป็นที่ตั้ง แล้วออกแบบบริการให้ตอบโจทย์
  • สำหรับ Value Proposition ของแบรนด์ที่นำเสนอแก้ปัญหาให้ผู้ใช้ คือ…
    • ไม่เก็บ GP การใช้แพลตฟอร์ม ลดภาระค่าใช้จ่ายร้านค้า
    • เงินสดเข้าร้านค้าภายใน 1 วัน เพื่อให้ร้านค้ามีกระแสเงินสดหมุนเวียน
    • ช่วยร้านค้าเพิ่มยอดขายนอกช่วงเวลาขายดี ผ่านการทำ Promotion สร้างโอกาสการขายให้ร้านค้ามากขึ้น
    • ช่วยให้ร้านค้า On board บนแพลตฟอร์มแบบถึงประตูบ้าน (Door to door) โดยการให้พนักงานที่สาขาของธนาคาร SCB เป็นคนสอนร้านค้าใช้งาน Robinhood
    • ลูกค้าสั่งผ่าน Robinhood ได้อาหารในราคาปกติ ขนาดปกติ เพราะร้านค้าไม่ต้องบวกค่าแพลตฟอร์มในต้นทุน
    • Cashless ไม่ใช้เงินสด ทำให้ Rider ไม่ต้องออกเงินให้ก่อน และปลอดภัยจากโรคระบาด
    • สร้างงานให้ Rider ด้วยรายได้ที่เป็นธรรม และมีการจัด Service Training เพื่อให้ลูกค้าประทับใจในการบริการที่มีมาตราฐาน
Insights น่าสนใจจากร้านอาหารบนแพลตฟอร์ม
  • พบว่าลูกค้า Robinhood มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง (Value per ticket) เฉลี่ย 300 บาท/ออเดอร์
  • การไม่เก็บค่า GP ทำให้เกิด “การบอกต่อ” ซึ่งเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ได้ผลดีมาก
  • เกิดปรากฏการณ์ “ปลาส้ม (ปลาแซลมอน)” ขายในระบบไปแล้วรวมกว่า 10 ตัน!
  • เน้นการทำ Personalization ให้ลูกค้าเจอแนวอาหารที่ชอบ และอยู่ใกล้ ดังนั้นร้านค้าจึงมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้อย่างเท่าเทียม ไม่จำเป็นต้องซื้อโฆษณา
บทเรียนจากแคมเปญ “เราช่วยคุณ คุณช่วยร้าน” ส่งฟรีทุกออร์เดอร์ ช่วงเดือน ก.ค. 64

เป็นแคมเปญที่ทำให้แบรนด์ถูกพูดถึงขึ้นเยอะมากในสื่อใหญ่ จนมียอดดาวน์โหลดแอป และการใช้งานสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วง Lockdown รอบที่ 4 เกิดจากการคิดแคมเปญภายใน 1 คืนเท่านั้น แล้วทำเลย เพราะต้องการรีบช่วยร้านค้า

ซึ่งแม้จะมีความขัดข้องของแอปบ้างเนื่องจากมีผู้ใช้งานจำนวนมาก แต่ปรากฎว่าผู้ใช้งานกลับเข้าใจข้อจำกัด และรับรู้ถึงความตั้งใจดีของแบรนด์ ซึ่งแบรนด์ใช้เวลา 7 วันในการซ่อมระบบให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง รวมถึงเพิ่ม Rider เพิ่มให้ปริมาณตอบโจทย์ความต้องการ และกระแสสังคมช่วยกัน Shape พฤติกรรมผู้บริโภคให้ใจดีกับ Rider เช่น ซื้ออาหารเผื่อ Rider ด้วย

สิ่งที่ Robinhood ประสบความสำเร็จแล้ว คือ

  • มีผู้ใช้งานเพิ่มเป็น 2 ล้านคน
  • ร้านค้าเข้าร่วมกว่า 1.5 แสนร้านค้า
  • มี Rider ในระบบกว่า 26,000 คน
  • ครอบคลุม 73 จังหวัด
  • มียอดสั่งอาหารวันละ 1.3 แสนออเดอร์

เป้าหมายต่อไปของ Robinhood = ช่วยธุรกิจโรงแรม ท่องเที่ยว

Robinhood มีแผนจะเป็น Online Travel Agency และขยายธุรกิจไป Grocery Shopping รวมถึง Express Delivery ด้วย เพื่อไปสู่การเป็น Super App ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับทุกภาคส่วนต่อไป…

สำหรับผู้ที่พลาดชม Live สามารถดูย้อนหลังเต็มๆ ได้ที่ : Digital Business Lens x Robinhood