เช็กเลย! Product Manager ธงเขียว vs. ธงแดง ตัดสินใจแบบไหน พาทีมไปต่อ
เช็กเลย! Product Manager ธงเขียว vs. ธงแดง ตัดสินใจแบบไหน พาทีมไปต่อ
Business
3 นาที
21 มี.ค. 2025
แชร์
Table of contents
เป็น Product Manager (PM) ไม่ใช่เรื่องง่าย! ต้องเผชิญกับการตัดสินใจหลายสิบครั้งต่อวัน ตั้งแต่เลือกฟีเจอร์ไหนก่อน ไปจนถึงการกำหนดกลยุทธ์ระดับผลิตภัณฑ์ หากไม่มีหลักคิดที่ดี การตัดสินใจผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจส่งผลกระทบต่อทีมและธุรกิจได้
แล้ว PM ที่ดี ตัดสินใจต่างจาก PM ที่ไม่ดีอย่างไร?
✅ Good PM:
✔ ใช้ข้อมูลเป็นหลัก – ตัดสินใจโดยอ้างอิง user metrics การทำ market research และวิเคราะห์ feedback
✔ มองภาพระยะยาว – คำนึงถึงผลกระทบในอนาคต ไม่มองแค่ KPIs ระยะสั้น
✔ เปิดรับความคิดเห็นที่หลากหลาย – ฟังมุมมองจากทีมที่มีความเชี่ยวชาญต่างกัน
✔ ยืดหยุ่นและปรับตัวได้ – กล้ายอมรับข้อผิดพลาด และเปลี่ยนแนวทางเมื่อจำเป็น
✔ สื่อสารเหตุผลชัดเจน – ทำให้ทีมเข้าใจและเดินไปในทิศทางเดียวกัน
❌ Bad PM:
✘ ใช้ความรู้สึกเป็นหลัก – ตัดสินใจจากสัญชาตญาณหรือความชอบส่วนตัว
✘ มองแค่เป้าหมายระยะสั้น – ละเลยภาพรวมและกลยุทธ์ในอนาคต
✘ หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง – ไม่กล้าตัดสินใจเรื่องยากที่อาจมีแรงต้านจากทีม
✘ ยึดติดกับการตัดสินใจเดิม – ไม่เปิดรับข้อมูลใหม่ แม้เห็นสัญญาณที่ควรเปลี่ยนแนวทาง
✘ ขาดความโปร่งใส – ไม่สื่อสารเหตุผลของการตัดสินใจ ทำให้ทีมสับสนและไม่มั่นใจ
3 Frameworks ช่วย PM ตัดสินใจแม่นยำ ไม่มโน!
การเป็น PM หมายถึงการต้องตัดสินใจตลอดเวลา ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างลำดับฟีเจอร์ ไปจนถึงกลยุทธ์ระดับธุรกิจ การมี Framework ที่ดีช่วยให้การตัดสินใจมีตรรกะ ลดอคติ และเพิ่มประสิทธิภาพ วันนี้เราขอแนะนำ 3 Frameworks ที่ช่วย PM ตัดสินใจดีขึ้น
1️⃣ RICE Framework: ตัดสินใจแบบมีน้ำหนัก
RICE เป็นเครื่องมือจัดลำดับความสำคัญของงานและฟีเจอร์ โดยพิจารณาจาก 4 ปัจจัยหลัก
R (Reach): งานนี้จะเข้าถึงผู้ใช้กี่คน?
I (Impact): มีผลกระทบต่อผู้ใช้มากแค่ไหน?
C (Confidence): มั่นใจในข้อมูลแค่ไหน?
E (Effort): ต้องใช้ทรัพยากรมากเพียงใด?
สูตรคำนวณ RICE Score = (Reach × Impact × Confidence) ÷ Effort
📌 ใช้ RICE Framework ให้เวิร์ก:
- ให้คะแนนแต่ละปัจจัย เช่น Reach = 5,000 คน, Impact = 2, Confidence = 80%, Effort = 3
- คำนวณคะแนนรวมเพื่อจัดลำดับความสำคัญของงาน
- ลดอคติ และช่วยให้ทีมเห็นภาพเดียวกัน
SPADE เป็นเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมจากบริษัทเทคยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เหมาะสำหรับการตัดสินใจที่ซับซ้อนและมีผลกระทบสูง มีโครงสร้างชัดเจน ลดการลืมขั้นตอนสำคัญ และบังคับให้คิดถึงทางเลือกหลายๆ ทาง ไม่ด่วนสรุปทางออกเดียว
S – Setting: กำหนดบริบทของการตัดสินใจ (ทำไมต้องตัดสินใจ? อะไรคือปัญหาที่แท้จริง?)
P – People: ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีอำนาจตัดสินใจสุดท้าย
A – Alternatives: รวบรวมทางเลือกทั้งหมดที่เป็นไปได้
D – Decide: ตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
E – Explain: อธิบายการตัดสินใจและสื่อสารไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
📌ใช้ SPADE ให้เวิร์ก:
- กำหนดปัญหาให้ชัด เช่น ควรเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่?
- ระบุว่าใครเกี่ยวข้อง เช่น CEO, Head of Sales, Product, CFO
- เสนอ 3-5 ทางเลือกพร้อมข้อดีข้อเสีย
- สื่อสารการตัดสินใจให้ทุกคนเข้าใจ
เฟรมเวิร์คนี้มีต้นกำเนิดจากไอเซนฮาวร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ช่วยให้แยกแยะระหว่างงานที่ “เร่งด่วน” กับงานที่ “สำคัญ” ซึ่งมักไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ช่วยให้ PM ไม่หลงทำแต่งานเร่งด่วนจนละเลยงานสำคัญเชิงกลยุทธ์ ทำให้ PM รู้จักปฏิเสธหรือมอบหมายงานต่อ ลดความเครียดจากการจัดการงานหลายอย่างพร้อมกัน
โดย Matrix นี้แบ่งงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
สำคัญและเร่งด่วน: ทำทันที
สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน: วางแผนและกำหนดเวลาที่ชัดเจน
ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน: มอบหมายให้คนอื่น
ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน: ตัดทิ้งหรือทำทีหลังสุด
📌ใช้ Eisenhower Matrix ให้เวิร์ก:
- เขียนรายการงานทั้งหมด
- ประเมินว่างานสำคัญหรือไม่ & เร่งด่วนหรือไม่
- จัดกลุ่มและจัดลำดับความสำคัญให้เหมาะสม
—–
ถ้าอยากตัดสินใจแบบ PM มืออาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง มาเรียนรู้หลักการที่ถูกต้องในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ กับหลักสูตรสำหรับนักบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มืออาชีพ“Product Management รุ่นที่ 9” ที่จะช่วยให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่การวางแผน การพัฒนา ไปจนถึงการเปิดตัวและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเรียนได้ที่นี่: https://www.truedigitalacademy.com/course/product-management