อัปเดตเทรนด์และเครื่องมือ Data Visualization ปี 2024

อัปเดตเทรนด์และเครื่องมือ Data Visualization ปี 2024

Data

4 นาที

07 พ.ค. 2024

แชร์

การทำงานทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล แถมยังซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เราจึงต้องทำ​ Data Visualization เพื่อให้ตอบโจทย์การนำเสนอข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวช่วยให้องค์กรตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น วันนี้เราจะพามาดูเทรนด์ออกแบบ Data Visualization และเครื่องมือใหม่ๆ ที่น่าลองใช้ในปี 2024 กัน

9 เทรนด์ออกแบบ Data Visualization น่าลอง ในปี 2024


1. Data Storytelling ให้ข้อมูลเล่าเรื่อง

การสร้างแผนภูมิ กราฟ หรือนำเสนอแบบเดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป วิธี ‘Storytelling’ หรือการเล่าเรื่อง จะช่วยดึงดูดผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก และรู้สึกเกี่ยวโยงกับข้อมูลมากขึ้น และทำให้เข้าใจเรื่องราวที่กำลังสื่อสารได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

2. Interactive Data ข้อมูลแบบโต้ตอบได้

ในปัจจุบันนี้ เทรนด์หนึ่งของผู้อ่านคือการไม่อยากแค่นั่งอ่านอย่างเดียวอีกต่อไป แต่อยากเห็น Data Visualization ที่มีการโต้ตอบกันไปมา ดังนั้น การทำในรูปแบบ ‘Interactive’ จึงตอบโจทย์ ช่วยให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ต้องการมากยิ่งขึ้น

3. Real-time Data ข้อมูลแบบเรียลไทม์

Data Visualization แบบ ‘Real-time’ สำคัญกับข้อมูลหลายประเภท เช่น ข้อมูลยอดขาย ข้อมูลการเงิน ที่ข้อมูลรายนาทีมีความสำคัญมาก นอกจากนี้ข้อมูลที่อัปเดตแบบทันทียังมอบประสบการณ์ที่ดีกว่าด้วย เช่น การสะสมแต้ม แล้วเห็นแต้มเปลี่ยนแปลงทันที

4. Gamification ใช้เกมเพิ่มสีสัน

การใช้วิธีของการเล่นเกมมาอยู่ใน Data Visualization ก็ช่วยดึงดูดคนเข้ามาอ่านมากขึ้นได้ เพราะจะทำให้การเข้าถึงข้อมูลน่าสนใจขึ้น จากการที่ผู้อ่านรู้สึกว่ามีความสนุก ท้าทาย เช่น ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนอยากมีส่วนร่วมต่อไปเรื่อยๆ

5. AR/VR Integration ผนวกรวมกับ AR/VR

Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) จะเข้ามามีบทบาทในโลกของเรามากขึ้นในปี 2024 ซึ่งจะเข้ามาช่วยแสดงผลข้อมูลที่ซับซ้อนได้ หรือรับข้อมูลที่มีมิติอย่างภาพพื้นที่สามมิติต่างๆ เพิ่มสีสันและความน่าสนใจ ด้วยประสบการณ์รับข้อมูลที่ Immersive ยิ่งกว่าที่เคย

6. AI-Powered Insights เจาะอินไซต์ด้วย AI

จากเดิมที่จะต้องวิเคราะห์เรื่องซับซ้อนเอง AI และ Machine Learning จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติ และช่วยสรุปข้อมูลเชิงลึกได้สะดวกสบายมากขึ้น เช่นการให้ Machine Learning ทำนายเทรนด์ในอนาคตจากข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งก็จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้มากขึ้นด้วย

7. Cross-platform Support ซัพพอร์ตหลากแพลตฟอร์ม

ในสมัยนี้ คนเราไม่ได้ถือเพียงอุปกรณ์เดียว มีทั้งโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ การทำ Data Visualization จึงควรตอบโจทย์และเป็นมิตรกับผู้ใช้ผ่านทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเข้าถึงข้อมูลจากเครื่องไหนก็สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายได้ ทุกที่ ทุกเวลา

8. Customization ปรับแต่งได้

ความต้องการของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป การรับข้อมูลก็เช่นกัน การทำให้ข้อมูลปรับเปลี่ยนตามความต้องการของคนอ่านได้ ก็จะช่วยดึงดูดให้คนอยากรับรู้ข้อมูลนั้นมากขึ้น เพราะจะปรับได้ว่าอยากรู้หรือไม่อยากรู้ตรงไหน ด้วยรูปแบบภาพแบบไหน

9. Data Democratization การจัดการข้อมูลที่ให้ทุกคนข้าถึงได้

เพราะไม่ใช่ทุกคนที่เก่งในการใช้เทคโนโลยี การทำ Data Visualization จึงต้องตอบโจทย์ ในการทำให้ทุกคนเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลนั้นไม่ยากจนเกินไป ทำให้คนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีมากนักสามารถดูแล้วเข้าใจทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องเตินไปถามทีม Data ซ้ำๆ

ใช้เครื่องมือไหนดี เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการ?


ปัจจุบันมีตัวเลือกเครื่องมือในการช่วยสร้าง Data Visualization ที่หลากหลายให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสมกับนั้นๆ ซึ่งเครื่องมือคลาสสิคที่คนทำงานด้านนี้อาจคุ้นเคยอยู่แล้วก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ เช่น
  • Microsoft Power BI : มีความอเนกประสงค์ ทำงานได้หลากหลาย มีความเป็นมืออาชีพ
  • Google Charts : ใช้สร้างแผนภูมิและกราฟแบบพื้นฐาน เรียบง่าย ใช้งานง่าย
  • Tableau : แอปพลิเคชันยอดนิยมที่ขึ้นชื่อเรื่องความสะดวกในการใช้งาน สร้างแผนภูมิและกราฟได้หลากหลายรูปแบบ
  • QlikView : ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลที่ยากให้กลายเป็นภาพที่ง่ายได้ดี และช่วยจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ ได้
  • D3.js : แพลตฟอร์มฟรีจาก JavaScript ใช้นำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อน และทำ interactive ได้
แต่สำหรับใครที่พร้อมไปต่ออีกขั้น อยากลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็มีหลากหลายทางเลือกที่อาจตอบโจทย์การทำงานมากขึ้น เช่น
  • ChatGPT : Generative AI มาแรงที่สามารถนำมาใช้ช่วยตั้งคำถาม หรือหา Insight น่าสนใจ เพียงระบุเป้าหมายที่ต้องการ และลักษณะชุดข้อมูลที่มีอยู่
  • GoodData : โดดเด่นในการช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้าง Interactive Dashboard และสร้างแบบจำลองข้อมูล
  • Infogram : ใช้งานง่าย ภาพที่ออกมาสวยงาม ภายในแอปพลิเคชันมีไอคอนให้นำมาใช้ประกอบได้มากมาย
  • Looker : นอกจากการทำ Data Visualization แล้ว Looker ยังทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มระบบธุรกิจอัจฉริยะ เป็นเหมือน Hub รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และแบ่งข้อมูลเชิงลึกกับทีมได้
  • Flourish : โดดเด่นด้านการทำ Data Storytelling ช่วยดึงดูดผู้อ่านให้สนใจฟังข้อมูลได้มากขึ้น

Source: infogram.com , medium.com/@mokkup

ผู้ที่ต้องทำงานกับข้อมูลเป็นประจำ นอกจากจะต้องหมั่นอัปเดตความรู้และทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ยังควรติดตามเทรนด์ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของผู้รับสาร ว่าต้องการรับสารด้านข้อมูลในรูปแบบใดนอกจากนี้การติดตามเทรนด์ยังทำให้รู้จักเทคโนโลยี และเครื่องมือใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์การทำงานมากยิ่งขึ้น


True Digital Academy แนะนำคอร์สเรียน VisualPro: Elaborate Insights With Data Brilliance เป็นเวิร์กชอป 2 วัน ที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะด้าน Data Visualization ผ่านเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่าง Microsoft Power BI เนื้อหาครอบคลุมทั้งความรู้และแนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งด้านหลักการสำคัญ Best Practice และการต่อยอดใช้งานจริงการใช้งาน และการใช้งาน Power BI ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงขั้นสูง พร้อมฝึกใช้ AI Assistant ช่วยทำงาน Sentiment Analysis วิเคราะห์กลุ่มลูกค้าและทำงานด้านการตลาดได้ดียิ่งขึ้น

📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเรียนที่นี่ : https://bit.ly/3QzeaYV

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม