“Data Governance” ทักษะรากฐานสำคัญในงาน Data Analytics

“Data Governance” ทักษะรากฐานสำคัญในงาน Data Analytics

Business

3 นาที

28 พ.ย. 2024

แชร์

‘ถ้าไม่รู้ว่ามีข้อมูลอะไร อยู่ที่ไหนบ้าง ก็เหมือนไม่รู้อนาคตขององค์กรตัวเอง’
เป็นคำพูดของ สัตยา นาเดลลา CEO บริษัท Microsoft  คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของข้อมูลในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินอันมีค่าขององค์กร การรู้จักและเข้าใจข้อมูลที่มีอยู่จึงเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามการมีข้อมูลมากมายอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ที่เรียกกันว่า “Data Governance” หรือ “การกำกับดูแลข้อมูล” ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดอย่างแท้จริง 

ทำความรู้จัก Data Governance คืออะไร?

Data Governance คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การจัดระเบียบ การควบคุม และการปกป้องข้อมูลขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน สอดคล้องกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการกำกับดูแลข้อมูลจะครอบคลุมทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตข้อมูล ตั้งแต่การรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล วิเคราะห์ ไปจนถึงการนำเสนอผลลัพธ์

ทำไมงาน Data Analytics ต้องการทักษะ Data Governance?

เนื่องจากในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ หากข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีความผิดพลาด ไม่ครบถ้วน หรือไม่สอดคล้องกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ก็ย่อมผิดพลาดตามไปด้วย

มีการสำรวจจากบริษัท McKinsey ได้ทำการสำรวจ Global Data Transformation Survey ปี 2019 พบว่าเฉลี่ย 30% ของเวลาทั้งหมดขององค์กรถูกใช้ไปกับงานที่ไม่เพิ่มมูลค่า เนื่องจากคุณภาพข้อมูลและความพร้อมใช้งานที่ไม่ดี

สรุป Data Governance มีความสำคัญต่องาน Data Analytics ในหลายๆ ด้าน 

  • ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
    จัดระเบียบการจัดการข้อมูลให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวมขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าการวิเคราะห์ข้อมูลจะมุ่งเน้นไปที่คำถามทางธุรกิจที่สำคัญที่สุด และส่งมอบข้อมูลเชิงลึกที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
  • ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
    Data Governance ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลที่แม่นยำ ไม่เสียเวลาไปกับงานที่ไม่เพิ่มมูลค่า
  • ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ง่ายขึ้น
    เมื่อมีการจัดระเบียบข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและสะดวก 
  • ช่วยป้องกันความเสี่ยง
    การกำกับดูแลข้อมูลช่วยป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การตัดสินใจที่ผิดพลาด หรือการสูญเสียข้อมูล
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    เมื่อมีการจัดการข้อมูลที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล ก็จะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

รู้จัก 5 องค์ประกอบสำคัญของ Data Governance

  1. People
    รากฐานของโปรแกรมการกำกับดูแลข้อมูลทุกอย่างคือ “คน” ซึ่งหมายถึงผู้ดูแลข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้ข้อมูล ที่มีส่วนรับผิดชอบในการออกแบบ และทำตามขั้นตอนการทำงานทุกขั้นตอน การส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Governance จะช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูล 
  2. Data Planning
    แผนข้อมูลเป็นเอกสารที่ระบุความต้องการข้อมูลของบริษัท รวมทั้งแผนปฎิบัติการสำหรับบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น
  3. Data Processes
    กระบวนการกำกับดูแลข้อมูลช่วยให้ผู้คนสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลของคุณได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กรหรือไม่
  4. Data Protection Regulations
    ข้อกำหนดเรื่องการปกป้องข้อมูลคือการระบุความคาดหวัง และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติต่อข้อมูลในระดับธุรกิจ ตัวอย่างเช่น กฎการแชร์ข้อมูลสู่ภายนอก แนวทางการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ฯลฯ
  5. Technology
    ปัจจุบันการกำกับดูแลข้อมูลต้องการเทคโนโลยีตัวช่วยต่างๆ เพื่อช่วยลดความซับซ้อน ทำให้กระบวนการเป็นไปอัตโนมัติ และทำให้สามารถเพิ่มขนาด (Scale Up) กระบวนการกำกับดูแลข้อมูลได้ เมื่อธุรกิจโตขึ้น มีข้อมูลเข้ามามากขึ้น

สรุป
Data Governance คือทักษะพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ข้อมูลทุกคนควรมี เพราะจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เรามั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เรานำมาใช้นั้นถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจุบัน ซึ่งก็จะทำให้ผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่ได้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เราและผู้ที่ต้องใช้ข้อมูลคนอื่นๆ ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลซ้ำๆ

เมื่อมีความรู้ความเข้าใจใน Data Governance ที่ดี เราก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และก้าวสู่การเป็น Data Analyst ระดับมืออาชีพได้อย่างแน่นอน

หากสนใจอาชีพ Data Analyst และเรียน Data Analytics แบบครบสูตร รวมถึงเรื่อง Data Governance
ห้ามพลาด “Data Ready Bootcamp” จาก
True Digital Academy สอนครบทั้งวิธีคิด-กระบวนการ-เครื่องมือจำเป็น ทุกทักษะ ที่ Data Analyst ต้องมี

📌สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเรียนได้ที่นี่ : https://www.truedigitalacademy.com/course/data-ready-bootcamp