5 แนวคิด สร้าง 'Data-driven Culture' ในองค์กรยุคดิจิทัล
5 แนวคิด สร้าง 'Data-driven Culture' ในองค์กรยุคดิจิทัล
Business
3 นาที
04 ส.ค. 2022
แชร์
Table of contents
สำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในวงการเทคฯดิจิทัล คงต้องเคยได้ยินคำว่า “Data-driven” โดยการทำงานแบบ Data-driven กล่าวง่ายๆคือ “การทำงานแบบใช้ข้อมูลเป็นหลักคิดสำคัญในการตัดสินใจ” โดยแนวคิดนี้ถูกกล่าวถึงมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน ที่บริษัท และองค์กรต่างๆ เริ่มเห็นความสำคัญของข้อมูล
การจะคาดหวังให้คนทำงานมีแนวคิดเป็นแบบ Data-driven ได้ ต้องมี Data-driven Culture ปลูกฝังตั้งแต่ระดับวัฒนธรรมองค์กร โดยไม่จำเป็นว่าองค์กร ต้องทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง ผู้นำองค์กรก็สามารถนำวัฒนธรรมนี้มาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกการตัดสินใจได้เช่นกัน
เช็คเลย! 5 แนวคิดสร้าง Data-driven Culture สำหรับองค์กรยุคดิจิทัล
1. พูดจริง ทำจริง
อันดับแรก สิ่งที่สำคัญที่สุดในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คือ ผู้นำ หรือผู้บริหารองค์กรต้องให้การสนับสนุน และเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอยู่กับข้อมูลอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงในการใช้ข้อมูลเป็นหลัก ว่าต้องการดูอะไรไปเพื่อใช้ตัดสินใจเรื่องใด มิใช่เพียงแค่ต้องการอ่านรายงานตัวเลขที่ไม่จำเป็น ซึ่งเป็นเพียงภาพลวงตาในการสร้าง Data-driven Culture
Data-driven Culture ทำให้เกิดความโปร่งใส และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทั้งองค์กร แม้บางครั้งจะเป็นเรื่องยากสำหรับองค์กรที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญบางอย่างให้แก่คนในองค์กรรู้ก็ตาม เพราะองค์กรมักจะมีความกลัวสูญเสียอำนาจในการควบคุม ตัดสินใจ หรือรักษาภาพลักษณ์บางอย่าง แต่เชื่อเถอะว่าหากองค์กรตั้งใจจะไปสู่การมี Data-driven Culture ผู้นำจะต้องนำพาองค์กรให้เอาชนะความกลัวในเรื่องนี้ให้ได้
2. จัดการข้อมูลแบบมืออาชีพ
ข้อมูลควรจะต้องถูกจัดการเสมือนเป็น Product อีกชิ้นหนึ่ง ไม่ใช่มองเป็นเพียงส่วนเสริมเล็กๆ ดังนั้นจึงควรมีการจัดการพื้นฐานโครงสร้างข้อมูลให้ดี ในปัจจุบันเริ่มมีหลายองค์กรแยกทีมวิศวะกร เพื่อดูแลจัดการระบบ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะเพื่อให้การดูแลจัดการข้อมูลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การวางแผนจัดการดูแลเรื่องกำหนดโครงสร้างของข้อมูลตั้งแต่ในช่วงแรกๆ จะช่วยให้การทำงานง่าย และไม่ทำงานซ้ำซ้อน และนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่เสียเวลา
3. ข้อมูลเป็นขององค์กร ไม่ใช่ของทีมใดทีมหนึ่ง
หลายครั้งที่ทีมที่เป็นผู้จัดเก็บดูแลข้อมูลจะให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า จึงทำให้การเข้าถึงข้อมูลสำหรับทีมอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยอาจจะลืมไปว่าจุดประสงค์หลังของข้อมูลที่เก็บมาจริงๆ แล้วเราเก็บเพื่อองค์กร ให้ทีมอื่นนำไปใช้งาน
งานนี้จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทีมที่ดูแลข้อมูล ช่วยอำนวยความสะดวกให้การทำงานปลอดภัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่หวงข้อมูลจนเกินไป รวมถึงพยายามพัฒนาหาวิธีให้เกิดการดูข้อมูลได้เองแบบ Self Service เช่น สร้าง Dashboard ที่รวมข้อมูลจำเป็นที่ทีมอื่นๆจำเป็นต้องใช้บ่อยๆ
4. เป็นประชาธิปไตยด้วยข้อมูล
นอกจาก Data-driven Culture จะช่วยให้การตัดสินใหญ่ๆเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการตัดสินใจในเลือกเล็กๆ ด้วย เช่น ทีมดีไซน์อาจจะถามว่าจะเอา logo บริษัทวางไว้มุมไหนของเว็บไซต์ดี? หากมีข้อมูล ทุกสิ่งสามารถวิเคราะห์ด้วยข้อมูลได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาคาดเดาเอง แม้ดูเป็นเหมือนเรื่องเล็กๆ แต่อาจทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจได้
ผู้อ่านเคยได้ยินคำว่า HiPPO Culture หรือไม่ คำนี้ย่อมาจาก Highest paid person’s opinion คือวัฒนธรรมการให้ค่าความคิดเห็นของคนใหญ่คนโตในองค์กรมาเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นแนวคิดขององค์กรสมัยเก่า ตรงกันข้ามกับ Data-driven Culture ที่ลดการรวมศูนย์อำนาจ ให้ทุกคนมีสิทธิ มีเสียง โดยในการตัดสินใจใดๆ จะอ้างอิงจากข้อมูลจริงเป็นหลัก
5. พูดภาษาเดียวกัน
เนื่องจากบางองค์กรมีข้อมูลจัดเก็บไว้จำนวนมาก เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานจริง อาจต้องสร้างคู่มือไว้ใช้อธิบายความหมายของข้อมูลแต่ละส่วน ความเกี่ยวโยงกันของข้อมูล และนิยามต่างๆ ทั้งนี้อาจจะให้ทีมอื่นที่ต้องใช้ข้อมูล อาทิ ทีมการตลาด หรือทีมหาพาร์ทเนอร์ เข้ามามีบทบาทในการช่วยกำหนด “ศัพท์” ต่างๆ เพื่อให้นำไปใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น
การสร้าง Dashboard หรือ Report ใดๆเพื่อดูข้อมูล ความยากคือแต่ละทีมในองค์กรมีเกณฑ์การวัดประเมินผลงานแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันทั้งองค์กร นอกจากจะมีเป้าหมายแยกของแต่ละทีม ผู้บริหารจึงควรกำหนด “เป้าหมายรวม” ที่ทั้งองค์กรต้องรับผิดชอบร่วมกัน และให้ทุกทีมเข้าถึงข้อมูล และตัวเลขในส่วนนี้ได้ง่าย เพื่อพาทั้งองค์กรไปสู่เป้าหมายใหญ่ในภาพรวม
โดยสรุป แล้ว Data-Driven culture จะเกิดขึ้นได้จริง ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นผู้นำองค์กรต้องเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายในภาพรวม โดยมีผู้บริหารระดับกลางคอยสนับสนุน ผลักดันนโยบายให้เกิดขึ้นจริง และทีมทำงานปฏิตามนโยบาย รวมถึงเปลี่ยนการทำงานแบบ “ตัวใครตัวมัน” หันมามองในภาพรวมมากยิ่งขึ้น องค์กรใดที่มี Data-Driven culture บรรยากาศการทำงานจะสนุก มีความโปร่งใส และจุดประกายความสร้างสรรค์มากมาย
Source: CIO.com
ดูคอร์สด้าน Data จาก True Digital Academy คลิก >> คอร์ส Data แนะนำ
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV