รู้จักนักสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์ 'Software Engineer VS Programmer'
รู้จักนักสร้างและพัฒนาซอฟต์แวร์ 'Software Engineer VS Programmer'
Tech
2 นาที
07 ก.ย. 2022
แชร์
Table of contents
รู้หรือไม่ว่า Software Engineer กับ Programmer เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? บางคน บางองค์กรอาจจะยังสับสนระหว่าง Software Engineer กับ Programmer บ้างก็เรียกรวมกัน หรือเรียกสลับกันไป วันนี้เราขอชวนทุกคนมารู้จักสองอาชีพนี้กันชัดๆ ว่าลักษณะงาน หน้าที่ และสกิลจำเป็นนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร พร้อมเผยตัวเลขรายได้เฉลี่ยสูงสุดในสายงานนี้*
(*อ้างอิงจากรายงาน Adecco Thailand Salary Guide 2022)
Software Engineer
จากชื่อจะเห็นว่ามีคำว่า Engineer หรือ วิศกร ซึ่งแก่นหลักของงานวิศวกรรม คือ การคำนึงถึงการสร้างตั้งแต่การเริ่มต้นวางแผน รับผิดชอบ ไปจนถึงการปิดจบโครงการ ซึ่งสำหรับงาน Software Engineer ก็มีการนำหลักการและทฎษฎีทางวิศกรรมมาประยุกต์ใช้ เช่น การมองและวิเคราะห์ปัญหาด้วยแนวคิดเชิงวิศวกรรม การคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเดิมก่อนสร้างสิ่งใหม่ นอกจากนี้ยังต้องให้คำปรึกษากับลูกค้าเพื่อสร้าง Software ที่เหมาะสมกับลูกค้าที่สุด และทำงานร่วมกับ Programmer ดังนั้น Software Engineer ก็จำเป็นต้องมีทักษะด้านภาษา Coding โดยเฉพาะการอ่าน Code และความรู้เชิงโครงสร้างของการเขียน Code
— รายได้เฉลี่ยของ Software Engineer สูงสุด(ขึ้นอยู่กับบุลคลและประสบการณ์) อยู่ที่: 270,000 บาท/เดือน
Software Programmer
หนึ่งในอาชีพยอดฮิตของสาย Tech ที่หลายๆ คนคุ้นเคยกันดี หน้าที่ก็คือการสร้าง Software ผ่านการเขียนโปรแกรม (Programming) นั่นเอง ซึ่งการใช้ภาษา Coding ก็เป็นส่วนหนึ่งของงาน Programing ด้วยเช่นกัน หน้าที่หลักของ Programmer คือ การรับคำสั่งจาก Designer Engineer หรือ หัวหน้าทีม เพื่อเปลี่ยนความต้องการเหล่านั้นให้มาอยู่ในรูปแบบ Code เป็นอาชีพที่เหมาะสำหรับคนที่ชอบ Coding หรืออยากเริ่มต้นในสายงานนี้ เพราะสามารถต่อยอดไปเป็น Software Engineer หรือ สายงานอื่นๆ ได้อีกหลากหลายในอนาคต แน่นอนว่าทักษะด้านภาษา Coding เป็น A must ของอาชีพนี้ เพราะจำเป็นต้องใช้อ่าน และสร้างโค้ดที่เรียบร้อย รวมถึงการแก้ไขโค้ดที่ผิดพลาดอยู่เสมอ
— รายได้เฉลี่ยของ Software Programmer สูงสุด(ขึ้นอยู่กับบุลคลและประสบการณ์) อยู่ที่: 150,000 บาท/เดือน
โดยสรุปอาจจะกล่าวได้ว่า Software Engineer กับ Software Programmer เป็นอาชีพอีกคู่หนึ่ง ที่มีส่วนงานรับผิดชอบทับซ้อนกันใน มุม (aspect) และ ขอบเขตงาน (scope) ที่ต่างกัน ตัวอย่างเช่น Back-End Engineer กับ Back-End Programmer สำหรับทักษะด้านการ Coding นั้นถือเป็นทักษะจำเป็นสำหรับทั้งสองอาชีพ โดยตัวอย่างภาษาที่ควรรู้ ได้แก่ C ,C++, C#, Java, JavaScript, LISP, MATLAB, Perl, PHP, Python, R, Ruby และ SQL
ทางด้านโอกาสของรายได้ Software Engineer มีแนวโน้มสูงกว่าเนื่องจากขอบเขตงานที่กว้างกว่า และจำเป็นต้องใช้ทักษะอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ ทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อประสานงานต่างๆ ระหว่างทีมและลูกค้า ทั้งนี้ทั้งสองอาชีพถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจ เป็นที่ต้องการของตลาดงานสาย Technology อย่างมาก รวมถึงมีโอกาสต่อยอด Career path ไปยังสายบริหาร (Management) ทั้งใน และต่างประเทศได้อีกด้วย
Source : bootcamp.ce.arizona.edu , careerkarma.com
————————————————-
สามารถติดตามความรู้และคอร์สเรียนที่น่าสนใจจาก True Digital Academy ได้ทุกช่องทาง
Website – https://bit.ly/3e9QZPw
Facebook – https://bit.ly/391XSkF
LinkedIn – https://bit.ly/3p7x08V
Instagram – https://bit.ly/2LwX5Ra
TiKTok – https://bit.ly/3v8e0wV