เทคนิคชนะใจลูกค้า ด้วย “User Stories”

เทคนิคชนะใจลูกค้า ด้วย “User Stories”

Business

2 นาที

04 เม.ย. 2024

แชร์

User Stories เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใช้ในการสื่อสารความต้องการของผู้ใช้ พัฒนาฟีเจอร์ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจลูกค้า ในบทความนี้ เราจะช่วยให้เหล่า Product Manager มือใหม่เข้าใจเกี่ยวกับ User Stories มากขึ้น รวมถึงวิธีเขียน User Stories ให้มีประสิทธิภาพ

User Stories เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างผู้ใช้ Product Manager ทีม Design และ Dev ให้สร้างผลิตภัณฑ์ออกมาได้ตรงใจผู้ใช้และประสบความสำเร็จ

ทำความรู้จัก User Stories คืออะไร?

User Stories หรือเรื่องราวของผู้ใช้ คือการบรรยายว่า ผู้ใช้ ต้องการอะไร ทำไมถึงต้องการ และ ผลลัพธ์ที่ผู้ใช้คาดหวัง โดยมักเขียนในรูปแบบประโยคสั้นๆ เข้าใจง่าย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ ใคร อะไร ทำไม (Who, What, Why)

1.ผู้ใช้ (Who) ระบุว่าใครเป็นผู้ใช้งานฟีเจอร์นี้ หรือมีความต้องการนี้
2.ความต้องการ (What) อธิบายว่าผู้ใช้ต้องการอะไร
3.เพื่ออะไร (Why) อธิบายเหตุผลเบื้องหลังความต้องการนั้น

โดยนิยมเขียนประโยคให้อยู่ในรูปแบบ “ในฐานะ…ฉันต้องการ…เพื่อ….”

ตัวอย่าง User Story:

ในฐานะลูกค้าใหม่
  • ฉันต้องการเปรียบเทียบ “รองเท้าวิ่ง” จากหลาย ๆ แบรนด์ เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าได้อย่างมั่นใจ
ในฐานะลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า
  • ฉันต้องการดูสินค้าใหม่ ๆ ที่คล้ายกับ “รองเท้าวิ่ง” ที่ฉันเคยซื้อ เพื่อค้นพบสินค้าใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ


5 เทคนิคเขียน User Stories ให้โปร

1.ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
ในการเขียน User Stories ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่สวยหรู หรือคำศัพท์วิชาการขั้นสูง แต่เน้นคำที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจ

2.เขียนแบบเน้นผู้ใช้
เขียนโดยมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้ใช้ เริ่มต้น User Story ด้วย “ในฐานะ…” ที่กล่าวไปข้างต้น ระบุผู้ใช้ที่ต้องการฟีเจอร์นี้ ซึ่งจะช่วยให้ทีมพัฒนาเข้าใจบริบทและมุมมองของผู้ใช้

3.เขียนสั้นๆ กระชับ
User Stories ที่ดีต้องเนื้อหาสั้น กระชับ อ่านแล้วสมเหตุสมผล ไม่จำเป็นต้องเขียนอธิบายฟีเจอร์อย่างละเอียด หรือระบุไปถึงดีไซน์ที่ต้องการ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในขั้นตอนต่อๆ ไป

4.วัดผลได้
User Stories ควรจะวัดผลได้ โดยมีการระบุผลลัพธ์ที่คาดหวังไว้ตั้งแต่แรก และเงื่อนไขในการยอมรับว่าผลิตภัณฑ์นั้นผ่าน หรือไม่ผ่าน เรียกว่า “Acceptance Criteria”

5.ยืดหยุ่น
อย่างที่กล่าวไปว่า User Stories ไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดสุดๆ เขียนเพียงความต้องการของผู้ใช้ เปิดพื้นที่ให้ทีมพัฒนาและดีไซน์เนอร์ได้ใส่ไอเดียความคิดสร้างสรรค์ลงไปด้วย

ในการทำงานจริง PM จำเป็นต้องใช้ User Stories เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การรวบรวม User Stories เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้ใช้ และนำมาจัดลำดับความสำคัญว่าความต้องการใดควรจะหยิบมาพัฒนาก่อน-หลัง ไปจนถึงการพัฒนาฟีเจอร์ตาม User Stories ทดสอบฟีเจอร์กับผู้ใช้ และปรับปรุงตาม Feedback ที่ได้รับ
การเขียน User Stories ให้ดี จะช่วยให้ Product Manager สื่อสารกับทีมพัฒนา เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จได้

source : atlassian

————————————————-
เปิดรับสมัครแล้ว Product Management รุ่น 7 🔥
หลักสูตรที่จะทำให้คุณก้าวสู่การเป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ได้อย่างมืออาชีพ ด้วยการเรียนรู้ผ่านหลักสูตร World Class เน้นลงมือทำจริง โดยผู้สอนที่มีประสบการณ์จากบริษัทเทคชั้นนำระดับสากล

📍รับรายละเอียดหลักสูตร คลิก https://www.truedigitalacademy.com/campaign/pdmbc07_campaign
✅หรือติดต่อทีม Admission โดยตรงได้ที่ 083-974-0906
————————————————-
.