ถอดบทเรียนเรื่องคนจาก Google วัฒนธรรมองค์กรที่ใช้ AI ได้จริง
ถอดบทเรียนเรื่องคนจาก Google วัฒนธรรมองค์กรที่ใช้ AI ได้จริง
Business
3 นาที
15 ต.ค. 2024
แชร์
Table of contents
องค์กรจะอยู่รอดและเติบโตได้ในยุค AI ทักษะของ “คน” คือเรื่องสำคัญ คุณพุฒิ ตั้งตระกูลวงศ์ Strategic Technology Lead จาก Google Cloud Thailand ได้มาเล่าถึงการจัดการ AI Workforce ให้บุคลากรของ Google เข้าใจและใช้ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหัวข้อ “Upskill Tech Talent: Build the Future AI Workforce” ภายในงาน AI-THE NEXTGEN วันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา
คุณพุฒิเกริ่นว่าการนำ AI เข้ามาใช้ในองค์กร Google จำเป็นต้องทำให้พนักงานเข้าใจและสามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ การสื่อสารที่ชัดเจนคือกุญแจสำคัญในการนำเสนอเหตุผลว่าทำไม AI จึงสำคัญ
คนชนะคือคนที่ลงทุนในการพัฒนาคนก่อน
เมื่อปี 2022 ช่วงที่ ChatGPT เริ่มเป็นที่นิยม Google มองเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะ AI เพื่อให้พนักงานสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณพุฒิเน้นถึงการ Upskill ว่าคือการต่อยอดให้พนักงานมีความสามารถเพิ่มขึ้น ช่วยให้พวกเขาปรับตัวได้ดีขึ้นกับตลาดและมีส่วนร่วมในองค์กร
คุณ Sundar Pichai CEO, Google ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างทักษะ (Skill Gap) ด้าน Tech และ AI โดยเน้นว่าปัญหานี้ส่งผลกระทบถึงระดับประเทศไม่เพียงกระทบต่อการแข่งขันในระดับบริษัทเท่านั้น และต่อไปจะเห็นชัดถึงเกิดความแตกต่างระหว่างผู้ที่เข้าใจและสามารถใช้งาน AI ได้กับผู้ที่ไม่มีทักษะเหล่านี้ ดังใครที่ลงทุนในการพัฒนาทักษะ AI ให้คนของตัวเองก่อนก็จะมีความได้เปรียบในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในอนาคต
The Cost of Doing Nothing
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าองค์กรไม่ทำอะไรเลยกับเรื่อง AI ?- เริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
- ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น
- ทักษะเดิมที่มีอยู่ล้าสมัยและไม่สามารถใช้งานได้อีก
- ความยากในการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถใหม่ ๆ เข้าสู่องค์กร
- ขาดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม
- ขวัญกำลังใจและการมีส่วนร่วมของพนักงานลดลง
วิธีพัฒนาคนด้าน AI ตามแบบฉบับ Google
Google มีการพัฒนาทักษะ AI ให้พนักงานผ่าน Framework และกิจกรรมต่าง ๆ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนงานประจำของแต่ละแผนกให้มี Value เพิ่มมากขึ้น และทำให้รู้สึกว่ามีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานต่อไปได้ ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “Common Transition Paths”
ตัวอย่างเช่น Marketing ซึ่งมีพื้นฐานความเข้าใจตลาด สามารถทำงานเขียนด้าน UX/UI หรืองาน Product Management ได้ ฝ่าย Legal สามารถทำงานด้าน Cybersecurity Policy ได้ หรือ Finance สามารถพัฒนา Financial System ได้ ซึ่งพนักงานเหล่านี้ใช้ทักษะ AI เข้ามาช่วยต่อยอด career paths ได้ เป็นต้น
เรื่อง AI ต้องใช้ “เวลา
สิ่งที่ Google ได้เรียนรู้จากการฝึกอบรมทักษะพนักงานคือ การทำให้พนักงานกว่าแสนคนเข้าใจเรื่องเทคโนโลยี AI นั้นต้องใช้ “เวลา” โดย Google เองเริ่มเป็น AI Company มาตั้งแต่ปี 2015 และเพิ่งจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงต้นปี 2023 นี้นี่เอง
โดยคุณพุฒิได้แนะแนวทางการจัดฝึกอบรมที่ทาง Google มอบให้พนักงาน ซึ่งองค์กรอื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้
1. จัดรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่าง
2. จัดสรรเวลาและงบประมาณสำหรับการพัฒนาทักษะ เช่น กำหนดให้ทุกวันศุกร์เว้นศุกร์
3. สร้าง community หรือทีมมาร่วมกันทำโปรเจกต์เพื่อ delivery ให้ทีมอื่น ๆ นำไปใช้ต่อ
4. พัฒนารวบรวมคลังความรู้ภายในองค์กร
5. เปิดโอกาสให้พนักงานมีเวทีในการแสดงความสามารถ
นอกจากนี้ คุณพุฒิเสนอว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาทักษะพนักงานประสบความสำเร็จ คือ “การสนับสนุนจากผู้บริหาร” โดยต้องเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมกับทีม Change management ในเรื่องของการจัดสรรเวลาและงบประมาณ การรวมทีมและจัดหาเวทีในการแสดงความสามารถภายในบริษัท
แนะนำ Framework สร้างองค์กร AI สำเร็จ
🌟 มี Tools ที่ถูกต้อง:
ใช้ Generative AI อย่างระมัดระวัง โดยตัวเวอร์ชั่นสาธารณะหากจะนำมาใช้กับข้อมูลขององค์จะมีความเสี่ยงด้าน security และ privacy เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่ง Google มี Tools เวอร์ชั่น Beta ให้พนักงานใช้ก่อนจะปล่อยลูกค้าใช้งาน เช่น Gemini Code Assist ช่วย developer ในการเขียนโค้ด ซึ่งพบว่าช่วยประหยัดเวลาในการเขียนโค้ดเพื่อสร้างเว็บไซต์ได้จริง
🌟 Establish a culture of learning:
Google จัด Team Meeting ทุก 2 สัปดาห์เพื่อให้แต่ละคนมาแชร์ว่านำความรู้ AI ไปใช้ทำโปรเจกต์อะไรกับลูกค้าบ้าง รวมถึงมีการวัดประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้าน AI ในช่วงสิ้นปี
🌟 Incentivize and Celebrate:
Google เชื่อว่าการทำงานและการเรียนรู้ต้องมีความสนุกด้วย โดยจัดกิจกรรมและมีการให้รางวัลต่าง ๆ เช่น การจัดการแข่งขัน Hackathon ระหว่างพนักงาน Google ในประเทศ SEA มีการให้ Certificate badge สำหรับพนักงานที่ผ่านการพัฒนาทักษะหรือชนะการแข่งขันต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้อยากเข้าร่วม
🌟 Measurement Program Success:
มีการวัดผลแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเลขที่ชัดเจน เช่น Successful MVP, Reusable Asset, Retention rate, Time to productivity และ Cost Savings
คุณพุฒิ ทิ้งทายด้วยว่า Skill Gap เรื่อง AI นั้นไม่สามารถถูกปิดได้ด้วยตนเอง สิ่งเหล่านี้ยังต้องการการสนับสนุนจากทุกคนในองค์กรในการลงทุนพัฒนาทักษะและสร้างวัฒนธรรม Lifelong Learning ที่ยั่งยืนในองค์กร