6 เทคนิคทำพอร์ต Dek68-69 ให้จึ้ง ติดมหาลัยได้ชัวร์!

6 เทคนิคทำพอร์ต Dek68-69 ให้จึ้ง ติดมหาลัยได้ชัวร์!

University Prep.

2 นาที

12 มิ.ย. 2024

แชร์

พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญสำหรับนักเรียนม.ปลายที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะผ่านโควต้า การรับตรง หรือระบบ TCAS พอร์ตที่ดีจะช่วยแสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงศักยภาพ ความสามารถ และความตั้งใจจริงของนักเรียนได้ แต่น้องๆ หลายคนก็มักจะมีคำถามเกี่ยวกับการทำพอร์ต ว่าจะทำอย่างไรให้โดดเด่น เข้าตากรรมการดี ? วันนี้ Portfolio Sandbox โดย True Digital Academy รวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกันเลย!

6 เทคนิคทำพอร์ต ให้จึ้ง ติดมหาลัยในฝัน

1. หาข้อมูลให้เป๊ะ

นี่เป็นสิ่งแรกที่น้อง ๆ หลายคนมักมองข้ามไป น้อง ๆ ควรจะเริ่มต้นจากการศึกษาหลักสูตร และ คุณสมบัติ เกณฑ์การคัดเลือก ของคณะและะมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าอาจารย์น่าจะมองหาอะไรในตัวนักศึกษา และหากเป็นไปได้ลองติดต่อรุ่นพี่ที่เคยติดคณะนี้ เพื่อขอดูตัวอย่างพอร์ตเพื่อเป็นแนวทางในการทำพอร์ตของตัวเอง

2. เลือกกิจกรรม หรือค่ายที่ใช่

แน่นอนว่าข้อมูลในพอร์ต ไม่ใช่แค่ประวัติส่วนตัว และผลการเรียน แต่ควรเน้นให้เห็นการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะที่สมัครด้วย เช่น หากอยากเข้าคณะที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมดิจิทัล ก็อาจจะเลือกเข้าร่วมกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ได้แสดงไอเดียด้านนวัตกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัล แสดงให้เห็นว่าเรามีความสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนจริง โชว์ทักษะ และความสามารถที่เกี่ยวข้อง เลือกกิจกรรมหลากหลาย แสดงให้เห็นหลาย ๆ มิติของตัวเรา ทั้งกิจกรรมเชิงวิชาการ กิจกรรมสันทนาการ และที่ดีที่สุดคือกิจกรรมประกวด แข่งขันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. สร้างผลงานที่โดดเด่น

ไฮไลท์สำคัญในพอร์ตคือ “ผลงาน” ที่ควรจะสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ และความตั้งใจจริง นำเสนอผลงานในรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถใส่ได้ทั้งผลงานที่ทำขึ้นมาเอง ผลงานจากชั้นเรียน ผลงานจากชมรม หรือผลงานจากการเข้าค่าย แข่งขัน พร้อมหลักฐานยืนยันผลงาน เช่น รูปภาพ วิดีโอ รางวัล

4. เล่าเรื่องให้ชวนติดตาม

พอร์ตที่ดีควรมีสิ่งที่ต้องการจะเล่าให้ชัดเจน อธิบายถึงแรงจูงใจที่ทำให้อยากเรียนต่อในคณะดังกล่าว บอกเล่า ประสบการณ์ และบทเรียน ที่ได้จากแต่ละกิจกรรม โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

5. ออกแบบพอร์ตให้สะดุดตา

ใช้ดีไซน์ที่เรียบง่าย ทันสมัย เน้นให้อ่านง่าย ใช้ตัวอักษรขนาดเหมาะสมและสีที่ชัดเจน จัดเรียงเนื้อหาให้ เป็นระเบียบ ใส่รูปภาพ หรือวีดิโอที่เกี่ยวข้องได้ตามเหมาะสม (หากเป็นดิจิทัลพอร์ต)

6. ตรวจทานให้ละเอียด

เทคนิคสุดท้าย ที่ไม่อยากให้พลาด คือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และตรวจทานตัวสะกด ไวยากรณ์ต่าง ๆ รวมถึงรูปแบบการจัดวางให้สวยงาม สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงตัวตนของผู้สมัครในทางอ้อม ว่าเป็นคนละเอียด และใส่ใจแค่ไหน หรือมีเซนส์ด้านการออกแบบหรือไม่


สุดท้ายนี้ ขอให้น้องทุกคน เชื่อมั่นในตัวเอง ตั้งใจเตรียมตัวสอบ และทำพอร์ตให้ดีที่สุด แสดงให้คณะกรรมการมองเห็นถึง ศักยภาพที่แท้จริงของน้อง ๆ ทุกคน ❤️

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจเข้าค่ายปั้นพอร์ตด้านนวัตกรรมดิจิทัล ห้ามพลาด! ค่าย Young Innovator Bootcamp รุ่นที่ 2 ค่าย 3 วัน ที่จะได้ฝึกทั้งทักษะ Design Thinking แบบลงมือทำจริง! และได้ลงมือสร้างผลงานแอปพลิเคชันด้วยโปรแกรม Figma และนำเสนอผลงานผ่านการแข่งขัน Hackathon สุดมันส์ พร้อมนำผลงานไปใส่พอร์ตยื่นมหาวิทยาลัยได้เลย

👉🏻 รายละเอียดค่าย คลิก https://bit.ly/YoungInnovatorBootcampYIB2
📱สอบถามพี่ ๆ เพิ่มเติม Add LINE:  https://lin.ee/I7RTGWf

แชร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

เราจะติดต่อกลับภายใน 24 ชม. ของวันทำการ
เมื่อกดปุ่มส่งข้อมูลจะถือว่าเป็นการยินยอมให้ทีมงานทรู ดิจิทัล อคาเดมี ติดต่อกลับถึงท่านหรือองค์กรของท่านผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมลที่ได้ระบุไว้