5 Error ที่พบบ่อยใน SQL มือใหม่ต้องระวัง

5 Error ที่พบบ่อยใน SQL มือใหม่ต้องระวัง

Data

2 นาที

18 มิ.ย. 2024

แชร์

ในการเขียน SQL หลายคนมักจะกลัวความซับซ้อน ยุ่งยาก และกลัวการเขียนผิดจนทำให้เห็นข้อความ Error แต่หากเราเรียนรู้อย่างถูกวิธี เป็นระบบ และเพิ่มความรอบคอบในการเขียน ก็จะสามารถผ่านช่วงเริ่มต้นที่ยากที่สุดไปได้

และไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือผู้มีประสบการณ์เองก็ยังผิดพลาดได้เช่นกัน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึง 5 ข้อควรระวัง ที่จะช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการเขียน SQL กัน

5 Error ที่พบบ่อยใน SQL 

1. ระวังการสะกดคำผิด

การพิมพ์ผิดหรือสะกดผิดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในการเขียนทั่วไป ไม่ว่าจะเพราะนิ้วเบียดหรือพิมพ์สลับลำดับตัวอักษร แต่หากเราสะกดคำผิดระหว่างเขียน SQL ก็จะพบกับข้อความแจ้งเตือน error แทนที่จะพบกับข้อมูลที่เราต้องการหา
ยกตัวอย่าง เช่น สะกด FROM ผิดเป็น FORM

มีวิธีการที่จะช่วยตรวจสอบคำผิดให้ง่ายขึ้น คือการ “สังเกตสี” เพราะโปรแกรม SQL editor จะไฮไลท์หรือเปลี่ยนสีตัวคำที่เป็นคียเวิร์ดให้เป็นสีม่วง เช่นคำว่า SELECT หรือ FROM ที่หากเราสะกดผิด จะไม่ขึ้นสีม่วงให้

2. ใส่วงเล็บ () หรือใส่โควท ‘’ ให้ครบ 

การใส่วงเล็บจะช่วยจัดหมวดของคำสั่งและจัดลำดับของการแสดงผลลัพธ์ นั่นแปลว่า หากเราลืมใส่วงเล็บ จะทำให้การแสดงผลที่ต้องการออกมาคลาดเคลื่อนได้ นอกจากนี้ ในการใส่ วงเล็บ หรือ โควท ( ‘’ ) ( “” ) ต้องจำไว้เสมอว่าเป็นสิ่งที่มาเป็นคู่ และเป็นจุดที่คนส่วนใหญ่มักจะผิดพลาดเพราะใส่แต่วงเล็บเปิดหรือโควทเปิด แต่ลืมใส่วงเล็บหรือโควทปิดท้าย 

3. เรียงลำดับคำสั่งให้ถูกต้อง

ในการเขียนคำสั่งแบบ SELECT จะมีรูปแบบของลำดับที่ถูกกำหนดตายตัวอยู่ ซึ่งผู้ใช้งาน SQL จำเป็นต้องจดจำลำดับไว้ให้ดี ตามลำดับนี้
  • SELECT ใช้ระบุชื่อคอลัมน์หรือฟังก์ชั่น
  • FROM ใช้ระบุตาราง (และอาจใช้คำสั่ง JOIN ร่วมด้วย หากใช้หลายตาราง)
  • WHERE ใช้ระบุคำที่ต้องการค้นหา
  • GROUP BY ใช้ระบุวิธีการแสดงผลสิ่งที่ต้องการค้นหา
  • HAVING ใช้กรองข้อมูลที่เข้าข่ายมาแสดงผล
  • ORDER BY ใช้ระบุวิธีเรียงลำดับการแสดงผล

4. อย่าลืมใส่ชื่อระบุคอลัมน์ในตาราง

เมื่อเรานำตารางต่าง ๆ มารวมตารางจนได้เป็นตารางใหม่ ควรคีย์คำสั่งเพื่อตั้งชื่อให้แต่ละคอลัมน์ เช่น column1 ตั้งเป็น name , column2 ตั้งเป็น number ทั้งนี้ จำเป็นต้องตั้งชื่อไม่ให้ซ้ำกัน เพื่อป้องกันความสับสนในการค้นหาข้อมูล ซึ่งมักจะพบปัญหาเมื่อเรานำตารางที่แสดงข้อมูลเดียวกัน แต่อาจจะเป็นคนละปี คนละช่วงเวลา มารวมตารางกันภายหลัง

5. ระวังเรื่องการใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก-พิมพ์ใหญ่

ในฐานข้อมูล ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และอักษรพิมพ์เล็กจะไม่มีความแตกต่างกัน แต่หากเราจำเป็นต้องสร้างตารางหรือคอลัมน์ที่มีทั้งอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กในคำเดียวกัน เช่น หากสร้างตารางที่ชื่อ LargeClient และสร้างอีกตารางหนึ่งชื่อ LARGECLIENT เหมือนกันแต่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด

เวลาพิมพ์คำสั่งใด ๆ สำหรับ LargeClient ฐานข้อมูลจะค้นหาใน LARGECLIENT แทน หากต้องการให้ค้นหาข้อมูลสำหรับตารางพิมพ์เล็ก ต้องใส่ดับเบิ้ลโควท “ ” ให้คีย์เวิร์ดเสมอ แต่วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดนี้ คือการไม่ตั้งชื่อซ้ำ

Source: learnsql.com, programiz.com


ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้น จัดเป็นข้อควรระวังที่เป็นหลักการขั้นต้นสำหรับการเขียน SQL  สำหรับผู้ที่สนใจเเรียนรู้วิธีการเขียน SQL อย่างเข้มข้นตั้งแต่พื้นฐานจนขั้น advance  เราขอแนะนำคอร์สเรียน ‘SQLPro: Extract Database For Real-World Success’ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากปูพื้นฐานให้แน่น เพื่อก้าวสู่เส้นทาง Data Engineer และ Database Management ด้วย SQL และนำ Generative AI เข้ามาช่วย สอนโดยผู้มีประสบการณ์จริงและเข้าใจผู้เรียน พร้อมให้ผู้เรียนได้ลงมือทำระหว่างคอร์ส 

📌ดูรายละเอียดเพิ่มเติม และสมัครเรียนที่นี่ : https://bit.ly/3Vw5vsd

แชร์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม