4 แบบจำลองในงาน Product ที่ PM ต้องรู้

4 แบบจำลองในงาน Product ที่ PM ต้องรู้

Business

2 นาที

19 มี.ค. 2024

แชร์

ก่อนที่เราจะมีผลิตภัณฑ์เจ๋งๆ สักชิ้น หนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือการสร้าง “แบบจำลอง” ของผลิตภัณฑ์ เพื่อทดสอบแนวคิดว่าเวิร์คไหม ใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ไปจนถึงทดสอบการใช้งาน เพื่อค้นหาปัญหาและจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ 

แบบจำลองของผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และทรัพยากรที่มี ในฐานะ Product Manager จึงต้องรู้จักให้ครบเพื่อการตัดสินใจ เลือกทำแบบจำลองให้ตรงกับสิ่งที่คาดหวัง

รู้จัก 4 ประเภทหลักของ “แบบจำลอง” ที่ PM ต้องรู้

1. Wireframes

คือ โครงร่างคร่าว ๆ เน้นการวางโครงสร้าง เพื่อให้เห็นภาพฟังก์ชันการทำงานเบื้องต้น และประเภทเนื้อหาของผลิตภัณฑ์ ว่าจะเป็นรูปภาพ ข้อความ หรือสื่ออื่นๆ โดยใช้ภาพกราฟฟิคที่เรียบง่ายแทนองค์ประกอบต่าง ๆ สามารถวาดบนกระดาษหรือสร้างในโปรแกรมเฉพาะอย่าง Figma เพื่อให้ง่ายต่อการรับฟีดแบ็ค และนำไปปรับปรุงต่อ

ที่มารูปภาพ: medium.com/@shradhharaj1995

2. Mockups

คือ ภาพจำลองเสมือนจริง เน้นการออกแบบ UI รูปลักษณ์ และความรู้สึก ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ภาพที่มีรายละเอียด ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด เพื่อใช้สื่อสารกับ Stakeholders อาทิ ทีม Marketing ลูกค้า พาร์ทเนอร์ โดยทั่วไปมักจะเป็นการนำเอา Wireframe มาใส่รูปภาพ หรือข้อความคล้ายจริง สามารถทำได้ใน Microsoft PowerPoint แต่มักมีปัญหาเรื่องขนาดรูป หรือฟอนต์ที่ไม่พอดี PM มืออาชีพหลายคนจึงฝึกใช้ Figma เพื่อให้ทำ Mockups ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ที่มารูปภาพ: medium.com/@shradhharaj1995

3. Wireflows

แม้ว่า Wireflow จะไม่เชิงเป็นแบบจำลอง แต่เป็นหนึ่งในกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ โดยเน้นที่โครงสร้าง และลำดับการ flow ของหน้าจอ จุดเด่นที่สังเกตได้ง่าย ๆ ว่านี่คือ Wireflow หรือไม่ คือ “เส้น” ที่แสดงให้เห็นทิศทางของลำดับการแสดงผลบนหน้าจอ ว่าหากกดปุ่มนี้แล้วพาไปหน้าไหนต่อ

ที่มารูปภาพ: My first Figma wireflow — Ouigo app. | by Dirk Gruhne | Medium

3. Prototypes

คือ ต้นแบบที่ใช้งานได้จริง เน้นการทดสอบการใช้งานและการโต้ตอบกับผลิตภัณฑ์ โดยสร้างฟังก์ชันการทำงานหลัก ให้ผู้ใช้สามารถลองใช้งาน และทดสอบฟีเจอร์ต่าง ๆ ได้คล้ายของจริง ซึ่งนักออกแบบ UX/UI มักนิยมสร้าง Prototypes ด้วยโปรแกรม Figma เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ใกล้เคียงของจริง และยังสามารถแชร์ Prototypes ให้คนอื่นเข้ามาทดลองใช้งานได้ด้วย ดูตัวอย่าง Prototypes บน Figma


แบบจำลอง Low-Fi VS. Hi-Fi คืออะไร?

Low-Fi คือแบบจำลองที่มีความละเอียดต่ำ (Low Fidelity) เช่น Wireframes หรือ Mockups เหมาะสำหรับการใช้พูดคุยในเชิงคอนเซปต์ภายในทีม ในขณะที่ Hi-Fi คือแบบจำลองที่มีความละเอียดสูง (High Fidelity) เช่น Prototypes ที่สามารถให้ประสบการณ์คล้ายจริงได้ เหมาะกับการนำไปทดสอบกับผู้ใช้

————————————————-
เปิดรับสมัครแล้ว Product Management รุ่น 7 🔥
หลักสูตรที่จะทำให้คุณก้าวสู่การเป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (Product Manager) ได้อย่างมืออาชีพ ด้วยการเรียนรู้ผ่านหลักสูตร World Class เน้นลงมือทำจริง โดยผู้สอนที่มีประสบการณ์จากบริษัทเทคชั้นนำระดับสากล

📍รับรายละเอียดหลักสูตร คลิก https://www.truedigitalacademy.com/campaign/pdmbc07_campaign
✅หรือติดต่อทีม Admission โดยตรงได้ที่ 083-974-0906
————————————————-
.