ลองดูไหม? อ่านใจลูกค้าแบบไม่ต้องเดาด้วย 4 Step สร้าง Persona
ลองดูไหม? อ่านใจลูกค้าแบบไม่ต้องเดาด้วย 4 Step สร้าง Persona
Business
2 นาที
16 ส.ค. 2021
แชร์
แชร์
Table of contents
การสร้าง Customer Persona คือการจำลองโปรไฟล์ลูกค้าขึ้นมา ว่าลักษณะนิสัย ความคิด และบุคลิกภาพเป็นอย่างไร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่เจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดสามารถใช้ทำความเข้าใจพฤติกรรม ปัญหา และความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบคุณค่าของสินค้าหรือบริการผ่านการสื่อสารที่โดนใจ
จาก Offline สู่ Online
จาก Offline สู่ Online
การทำ Persona ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ยุคการตลาด Offline และสามารถนำมาปรับใช้ในยุคดิจิทัลได้เพราะการเข้าใจลูกค้าก็ยังเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ การทำ Persona ที่ดีจะช่วยทำให้เห็นความชอบของลูกค้าชัดเจน ไม่ต้องเดาสุ่มว่าลูกค้าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร ทำให้ทำงานต่อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบหน้าเว็บไซต์ ช่องทางการซื้อ-ขาย กราฟฟิก คอนเทนต์ ภาษาที่จะใช้พูดกับลูกค้า ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าด่านสำคัญในการดึงดูดลูกค้าให้สนใจสินค้าหรือแบรนด์ของเรา
ลองดู 4 ขั้นตอน สร้าง Persona ที่ดี มีอะไรบ้าง
ลองดู 4 ขั้นตอน สร้าง Persona ที่ดี มีอะไรบ้าง
1. ระดมสมองหาทีมมาช่วยกันคิด อย่ามโนคนเดียว โดยเฉพาะคนที่มีโอกาสได้ contact กับลูกค้าบ่อยๆ อาทิ ทีม Customer Service หรือ Sales มักจะมี Insight ที่เป็นประโยชน์ และคาดไม่ถึง ลองระดมสมองกันว่า หากต้องสมมุติลูกค้าของเราขึ้นมา 1 คน ลักษณะเด่นๆ ของเขาคืออะไร อายุประมาณเท่าไหร่ ทำอาชีพอะไร รายได้ประมาณไหน ชอบคอนเทนต์แนวไหน มีปัญหาอะไรในชีวิตที่สินค้าหรือบริการของเราแก้ปัญหาให้เขาได้ ทำไมถึงอยากซื้อสินค้าหรือบริการจากเราแทนที่จะเลือกแบรนด์อื่น เป็นต้น
2. หาInsightเพิ่มจากข้อมูลจริง ลองเปิดข้อมูลที่เรามี หรือเก็บรวบรวมมาจากช่องทางต่างๆ เช่น Demographic, Clicks, View, FAQ และนำข้อมูลเหล่านี้มาหาเป็นตัวเลขเชิงสถิติดู อาจจะเจอ Insight น่าสนใจเพิ่มเติม เมื่อนำมาขัดเกลาร่วมกับ Persona ที่ระดมสมองร่วมกับทีม จะทำให้ได้ Persona ที่มีความเป็น ”คน” ที่จริงมากขึ้น
3. ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อให้ได้ฟังคำบอกเล่าจากปากลูกค้าตัวจริง ว่าประสบกับPainpoint อะไร คิดเห็นอย่างไรกับสินค้าหรือบริการของเราและแบรนด์คู่แข่ง ถามให้ลึกที่สุดเท่าที่จะลึกได้ ถ้าให้ดีอาจจะลองเลือกลูกค้ามาหลายๆ แบบ เพื่อให้ได้ Insight ครบ ลด Bias
4. ลงมือทำPersonaเมื่อมีข้อมูลในมือเพียงพอ ถึงเวลาเขียน Persona ออกมา โดยต้องเขียนให้ชัด ให้ละเอียดที่สุด (สามารถตั้งชื่อเล่น ระบุอายุ อาชีพ จะได้รู้สึกว่าเป็นคนจริงๆ) หากมีลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ก็สามารถสร้าง Persona มากกว่า 1 คนได้ ขอเพียงแค่ให้แต่ละ Persona เป็นเสมือนตัวแทนลูกค้าจากแต่ละกลุ่มหลักๆ พร้อมใส่รูปภาพเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้นด้วย
ทีนี่มาดูตัวอย่างการเขียน Persona กัน
ทีนี่มาดูตัวอย่างการเขียน Persona กัน
- พี่โก้ อายุ 40
- มีลูก 2 คน คนโต 4 ขวบ คนเล็ก 1 ขวบ
- อาศัยอยู่ใน กทม.
- ทำงานออฟฟิศด้าน IT
- ขับมอเตอร์ไซค์ไปทำงาน
- วันหยุดชอบพาครอบครัวไปพักผ่อนจังหวัดใกล้ๆ กทม.
- มีวันลาต่อปีค่อนข้างจำกัด
แน่นอนว่าไม่ใช่ลูกค้าทุกคนจะเข้ากับ Persona ที่เราตั้งได้ ซึ่งจุดประสงค์หลักของการมี Persona คือการอยากมองกลุ่มลูกค้าให้เป็น “คน” ไม่ใช่เพียงข้อมูลตัวเลข หรือคำพูดลอยๆ ลองนึกดูว่าถ้าต้องขายดีลโรงแรมให้ “คนอายุ 40 ลูก 2” กับ “พี่โก้” ที่คุณมีโปรไฟล์เต็มในมือ อันไหนจะทำให้รู้สึกขายง่าย และเข้าใจเป้าหมายมากกว่ากัน ข้อควรระวัง คือการลิสต์บุคลิกลักษณะนิสัยทั้งหมดของลูกค้าทุกคนที่รู้จักไม่ใช่การสร้าง Persona ที่ดี Persona ที่ดีควรจะให้ภาพสุดท้ายออกมาเป็นคน 1 คนที่เป็นตัวแทนกลุ่ม ไม่ใช่คนที่มีหลายๆ บุคลิกทับซ้อนกันในคนเดียว
แชร์